คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็น ผู้แทนเฉพาะคดีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดโดยอ้างเหตุว่ากรรมการผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งได้ลาออกเป็นเหตุให้กรรมการที่เหลือไม่สามารถทำกิจการของบริษัทได้ตามข้อบังคับนั้นเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1159กรรมการที่มีตัวอยู่คือผู้ร้องย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้นจะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้บทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดวิธีการแก้ข้อขัดข้องที่เป็นเหตุตามคำร้องของผู้ร้องไว้แล้วซึ่งผู้ร้องชอบที่จะปฏิบัติตามได้หาใช่กรณีที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ถือหุ้น ใน บริษัท จำเลย ฟ้อง ว่ามติ ที่ ประชุมใหญ่ วิสามัญ ผู้ถือหุ้น ของ บริษัท จำเลย ที่ จัด ขึ้น เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ ศาล มี คำสั่ง เพิกถอนมติ ที่ ประชุม ดังกล่าว
ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล ตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้แทน จำเลย เฉพาะคดีอ้างว่า กรรมการ จำเลย ทุกคน เห็นพ้อง กัน ให้ จำเลย ต่อสู้ คดีแต่ เนื่องจาก จำนวน กรรมการ ไม่ครบ ตาม เงื่อนไข ใน ข้อบังคับ ของ จำเลยจึง ไม่อาจ กระทำการ แทน จำเลย ได้ ผู้ร้อง ใน ฐานะ กรรมการ และประธาน กรรมการ จำเลย มี ความ ประสงค์ จะ ต่อสู้ คดี ใน นาม จำเลย พร้อมกับ ยื่นคำให้การ ต่อสู้ คดี ไว้ ขอให้ ศาล มี คำสั่ง รับคำ ให้การ ไว้ พิจารณาพิพากษา
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตาม คำร้องของผู้ร้อง และ คำให้การ ลงวันที่14 พฤศจิกายน 2537 ทั้ง สอง ฉบับ ตามลำดับ ว่า รวม และ รับ เป็น คำให้การ
โจทก์ รับ สำเนา คำร้องของผู้ร้อง แล้ว ยื่น คำแถลง ว่า ไม่ คัดค้านการ ที่ ผู้ร้อง ขอ เป็น ผู้แทน จำเลย เฉพาะคดี
ต่อมา เมื่อ วันที่ 30 มกราคม 2538 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใหม่ ว่าคำสั่ง ดังกล่าว ศาล สั่ง ไป โดย ผิดหลง อาศัย อำนาจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ให้ยก เลิก คำสั่งทั้ง สอง คำสั่ง และ มี คำสั่ง ใหม่ ว่า ให้ยก คำร้อง ที่ ขอให้ ตั้ง ผู้ร้องเป็น ผู้แทน เฉพาะคดี เนื่องจาก ไม่มี กฎหมาย ให้ อำนาจ ที่ จะ กระทำ ได้และ สั่ง ใน คำให้การ ใหม่ ว่า ไม่รับ เป็น คำให้การ ของ จำเลย
ผู้ร้อง อุทธรณ์ คำสั่ง เฉพาะ ข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ผู้ร้อง ขอให้ ตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้แทน เฉพาะคดี ของ นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด โดย อ้าง เหตุ ว่า กรรมการผู้มีอำนาจ ฝ่ายหนึ่ง ได้ ลาออก เป็นเหตุ ให้ กรรมการ ที่ เหลือ ไม่สามารถทำ กิจการ ของ บริษัท ได้ ตาม ข้อบังคับ เหตุ ที่ ผู้ร้อง อ้าง ดังกล่าว เป็นกรณี ที่ จำนวน กรรมการ ลด น้อยลง กว่า จำนวน อัน จำเป็น ที่ จะ เป็น องค์ประชุมได้ จึง ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1159 กรรมการ ที่ มีตัว อยู่ คือ ผู้ร้อง ย่อม ทำ กิจการ ได้ เฉพาะ แต่ ใน เรื่อง ที่ จะ เพิ่มกรรมการ ขึ้น ให้ ครบ จำนวน หรือ นัด เรียก ประชุมใหญ่ ของ บริษัทเท่านั้น จะ ทำ กิจการ อย่างอื่น ไม่ได้ บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าวเป็น บท กำหนด วิธีการ แก้ ข้อ ขัดข้อง ที่ เป็นเหตุ ตาม คำร้องของผู้ร้องไว้ แล้ว ซึ่ง ผู้ร้อง ชอบ ที่ จะ ปฏิบัติ ตาม ได้ หาใช่ กรณี ที่ ไม่มี บทบัญญัติ กฎหมาย ที่ จะ ยกมา ปรับ แก่ คดี ได้ กรณี ไม่จำต้อง อาศัย เทียบ บทกฎหมาย ที่ ใกล้เคียง อย่างยิ่ง ดัง ที่ ผู้ร้อง อ้าง ไม่ ที่ ศาลชั้นต้น มีคำสั่ง ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ คำสั่งของ ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share