คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทผู้ขายในต่างประเทศการจำหน่ายสินค้าของโจทก์มี2วิธีวิธีที่1โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินเองเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยแล้วโจทก์จะขายต่อให้ลูกค้าส่วนวิธีที่2โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าแต่ให้ลูกค้าเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินเองวิธีนี้ไม่ว่าลูกค้าจะเป็นหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทยแล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเองโจทก์มีอิสระในการขายถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่องโจทก์ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไรไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าแม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายในต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้าการจำหน่ายสินค้าตามวิธีนี้จึงไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขายในต่างประเทศบริษัทผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทยโจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไปไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการ ตัวแทนของ นิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนนิติบุคคลต่างประเทศ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน และ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ เพิกถอนการ ประเมิน ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตาม แบบ แจ้ง การ ประเมิน เลขที่ต.1/1038/2/00669 ถึง ต.1/1038/2/00693 เพิกถอน การ ประเมินภาษีการค้า ตาม แบบ แจ้ง การ ประเมิน เลขที่ ต.1/1038/3/02800 ถึงต.1/1038/3/02803 และ เพิกถอน คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการวินิจฉัย อุทธรณ์ ตาม คำวินิจฉัย เลขที่ 261/2534/1, 262 ก/2534/1,262 ข/2534/1, 262 ค/2534/1 และ 262 ง/2534/1
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมินภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตาม แบบ คำสั่ง ให้ เสีย ภาษีเงินได้ นิติบุคคลและ เงินเพิ่ม ที่ ต.1/1038/2/00669 ถึง ต.1/1038/2/00693 และแบบ แจ้ง การ ประเมิน ภาษีการค้า ที่ ต.1/1038/3/02800 ถึงต.1/1038/3/02803 และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ เลขที่ 261/2534/1,262 ก. /2534/1, 262 ข. /2534/1, 262 ค./2534/1 และ 262 ง./2534/1
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลยข้อ สอง มี ว่า การ ประเมิน ภาษีเงินได้ นิติบุคคล และ ภาษีการค้า ของเจ้าพนักงาน ประเมิน และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ประกอบ กิจการเป็น ผู้นำ เข้า สินค้า ประเภท เครื่องจักร เครื่องทุ่นแรง และ อะไหล่จาก ต่างประเทศ เข้า มา จำหน่าย ใน ประเทศ ไทย โดย เป็น ผู้ จัด จำหน่ายของ บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ หลาย บริษัท การ จำหน่าย สินค้า ของ โจทก์มี 2 วิธี วิธี ที่ 1 คือ โจทก์ เป็น ผู้สั่งซื้อ สินค้า และ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ชำระ เงิน เอง เมื่อ สินค้า มา ถึง ประเทศ ไทย แล้ว โจทก์จะขาย ต่อ ให้ ลูกค้า และ วิธี ที่ 2 คือ โจทก์ เป็น ผู้สั่งซื้อ สินค้าแต่ ให้ ลูกค้า เป็น ผู้ดำเนินการ ชำระ เงิน เอง วิธี นี้ แบ่ง เป็น 2 กรณีคือ กรณี ที่ 1 ได้ แก่ กรณี จำหน่าย ให้ ลูกค้า ที่ เป็น หน่วย ราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่ง ได้รับ เงินกู้ จาก ต่างประเทศ กรณี นี้ เมื่อหน่วย ราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ประกาศ ประกวดราคา สินค้า ที่ ต้องการ ซื้อโจทก์ จะซื้อ แบบ แล้ว คิด ต้นทุน ทั้งสิ้น คือ ราคา สินค้า ที่ จะ ต้อง จ่ายให้ แก่ บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ รวม ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ บวก ด้วย กำไรแล้ว ใช้ ราคา ดังกล่าว นี้ เป็น ราคา ที่ ยื่น ซอง เสนอ ประกวดราคา เมื่อ โจทก์ชนะ การ ประกวดราคา โจทก์ จะ ทำ สัญญาซื้อขาย กับ หน่วย ราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ใน นาม ของ โจทก์ แล้ว โจทก์ จะ ทำ ใบสั่งซื้อ ไป ยัง บริษัท ผู้ขายใน ต่างประเทศ เมื่อ บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ ส่ง สินค้า มา ยังประเทศ ไทย และ หน่วย ราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ผู้ซื้อ ได้รับ แล้วหน่วย ราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ นั้น จะ แจ้ง ให้ สถาบันการเงิน ผู้ให้กู้ใน ต่างประเทศ ชำระ เงิน ให้ แก่ บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ เมื่อ บริษัทผู้ขาย ใน ต่างประเทศ ได้รับ ชำระ เงิน แล้ว ก็ จะ ส่ง เงิน ส่วน ต่าง ระหว่างราคา ที่ โจทก์ ขาย ให้ แก่ หน่วย ราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ กับ ราคา ที่ บริษัทผู้ขาย ใน ต่างประเทศ ขาย ให้ แก่ โจทก์ มา ให้ โจทก์ ส่วน กรณี ที่ 2ได้ แก่ กรณี จำหน่าย ให้ แก่ ลูกค้า ที่ เป็น เอกชน ผู้ได้รับ การ ส่งเสริมการลงทุน วิธี นี้ โจทก์ จะ เสนอราคา สินค้า ที่ จะขาย ให้ ลูกค้า พิจารณาโดย ราคา ดังกล่าว เป็น ราคา ตาม ใบ บัญชี ราคา สินค้า ที่ บริษัท ผู้ขายใน ต่างประเทศ ส่ง มา ให้ โจทก์ บวก ด้วย กำไร ที่ โจทก์ ควร จะ ได้รับ เมื่อลูกค้า ตกลง ซื้อ แล้ว โจทก์ ก็ จะ ทำ ใบสั่งซื้อ สินค้า ไป ยัง บริษัท ผู้ขายใน ต่างประเทศ ส่วน ลูกค้า ก็ จะ นำ ใบ รายการ และ ราคา สินค้า หรือใบ กำกับ สินค้า ล่วงหน้า ที่ โจทก์ มอบ ให้ ไป เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิตชำระ เงิน ให้ แก่ บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ ใน นาม ของ ลูกค้า ทั้งนี้เพื่อ ที่ ลูกค้า จะ ได้รับ ยกเว้น ไม่ต้อง เสีย อากร ขาเข้า ตาม ที่ ระบุ ไว้ใน บัตร ส่งเสริมการลงทุน เมื่อ บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ ส่ง สินค้าลง เรือ และ ได้รับ ชำระ เงิน ค่าสินค้า แล้ว ก็ จะ ส่ง เงิน ส่วน ต่าง ระหว่างราคา ที่ โจทก์ ขาย ให้ แก่ ลูกค้า กับ ราคา ที่ บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ ขายให้ แก่ โจทก์ มา ให้ โจทก์ ใน รอบ ระยะเวลา บัญชี พ.ศ. 2520 ถึง พ.ศ. 2523โจทก์ เป็น ผู้ จัด จำหน่าย ของ บริษัท ซึ่ง ตั้ง ขึ้น ตาม กฎหมาย ของ ต่างประเทศรวม 9 บริษัท คือ (1) บริษัท ซูมิโตโมโซไจไกซา จำกัด (แห่งประเทศ ญี่ปุ่น ) (2) บริษัท โคมัตสุ จำกัด (แห่ง ประเทศ ญี่ปุ่น ) (3) บริษัท แวบโก้เทรด จำกัด (แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ) (4) บริษัท คอมแพร์ อินดัสเตรียล จำกัด (แห่ง ประเทศ อังกฤษ ) (5) บริษัท เคลล็อค อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ) (6) บริษัท แกรโค อินส์ จำกัด (แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ) (7) บริษัท โคมัตสุ ฟอกซ์ลิฟท์ จำกัด (แห่งประเทศ ญี่ปุ่น ) (8) บริษัท อิชิคาวาจิมาฮาริมา เฮฟวี่ อินดัสเตรียล จำกัด (แห่งประเทศ ญี่ปุ่น ) และ (9) บริษัท กลูด อินส์ จำกัด (แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ) เห็นว่า การ จัด จำหน่าย สินค้า ของ บริษัท ที่ ตั้ง ขึ้น ตาม กฎหมาย ของ ต่างประเทศทั้ง 9 บริษัท โดย วิธี ที่ 2 ไม่ว่า จะ เป็น กรณี ขาย ให้ แก่ หน่วย ราชการหรือ รัฐวิสาหกิจ หรือ เอกชน ผู้ได้รับ การ ส่งเสริมการลงทุน นั้นโจทก์ ต้อง ทำ สัญญาซื้อขาย กับ ลูกค้า ใน ประเทศ ไทย แล้ว โจทก์ จึง ทำใบสั่งซื้อ สินค้า ไป ยัง บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ โดย โจทก์ เป็น ผู้กำหนดราคา ขาย สินค้า ให้ แก่ ลูกค้า เอง โจทก์ มี อิสระ ใน การ ขาย ถ้า สินค้าที่ ขาย ชำรุด บกพร่อง โจทก์ ก็ ต้อง รับผิด ต่อ ลูกค้า ตาม สัญญาซื้อขายที่ โจทก์ ทำ ไว้ กับ ลูกค้า ผลประโยชน์ ที่ โจทก์ ได้รับ อยู่ ใน รูป ของ กำไรไม่ใช่ ค่า บำเหน็จ จาก การ เป็น ตัวแทน หรือ นายหน้า แม้ ลูกค้า จะ เป็นผู้ดำเนินการ ชำระ เงิน ให้ แก่ บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ ก็ เป็นความ ประสงค์ ของ ลูกค้า เอง เพื่อ ให้ เป็น ไป ตาม เงื่อนไข ที่ ลูกค้าตกลง ไว้ กับ สถาบันการเงิน ผู้ให้กู้ หรือ ตาม บัตร ส่งเสริมการลงทุนเพื่อ ยกเว้น อากร ขาเข้า ไม่ ถือว่า โจทก์ มี ฐานะ เป็น ตัวแทน ของนิติบุคคล ต่างประเทศ นิติบุคคล ต่างประเทศ ดังกล่าว จึง ไม่ได้ ชื่อ ว่าประกอบ กิจการ ใน ประเทศ ไทย โจทก์ ได้ กระทำ ไป ใน ฐานะ ที่ โจทก์ เป็นผู้ซื้อ มา ขาย ไป ไม่ เข้า ลักษณะ เป็น กิจการ ตัวแทน ของ นิติบุคคล ต่างประเทศตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า กรรมสิทธิ์ ใน สินค้ายัง เป็น ของ นิติบุคคล ต่างประเทศ จนกว่า สินค้า จะ ส่ง ถึง ยัง ท่า ปลายทางหรือ ใน กรณี การ ขนส่ง ทางอากาศ จนกว่า ผู้รับขนส่ง มอบ สินค้า แก่ ศุลกากรประเทศ ปลายทาง โดย กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ยัง ไม่ได้ ตกเป็น ของ โจทก์ ก่อนแต่อย่างใด อีก ทั้ง ข้อ ปฏิบัติ ระหว่าง โจทก์ กับ หน่วย ราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ เอกชน ดังกล่าว ก็ ถือไม่ได้ว่า มี การ ขาย ระหว่าง กัน นั้นเห็นว่า โจทก์ เป็น ผู้ทำ ใบสั่งซื้อ สินค้า ส่ง ไป ยัง นิติบุคคล ต่างประเทศเมื่อ นิติบุคคล ต่างประเทศ ส่ง สินค้า ดังกล่าว มา ให้ โจทก์ เพื่อ ส่งมอบให้ แก่ หน่วย ราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ หรือ เอกชน ผู้ได้รับ การ ส่งเสริมการลงทุน ถือว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ดังกล่าว แล้วโจทก์ จึง มีสิทธิ ทำ สัญญา ขาย สินค้า เหล่านั้น ได้ ที่ จำเลย ฎีกา ว่าโจทก์ ไม่มี ทาง ขาดทุน ผิด หลักการ ค้า ทั่วไป ที่ ต้อง มี กำไร และ ขาดทุน นั้นเห็นว่า โจทก์ เสนอ ขาย และ เข้า ทำ สัญญา กับ หน่วย ราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจหรือ เอกชน ผู้ได้รับ การ ส่งเสริมการลงทุน ใน นาม ของ โจทก์ เอง โจทก์ ย่อมมี ความผูกพัน ตาม สัญญาซื้อขาย ดังกล่าว ตาม เงื่อนไข ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญาหาก บริษัท ผู้ขาย ใน ต่างประเทศ ไม่ส่ง สินค้า ให้ หรือ ส่ง สินค้า ไม่ ตรงตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา หรือ สินค้า มี ความ ชำรุด บกพร่อง โจทก์ ก็ มีทาง ขาดทุน ได้ โจทก์ จึง มิใช่ ผู้ทำการ แทน หรือ ทำการ ติดต่อ ให้ แก่ บริษัทซึ่ง ตั้ง ขึ้น ตาม กฎหมาย ของ ต่างประเทศ อุทธรณ์ ของ จำเลย ทุก ข้อฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share