แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยทำการชิงทรัพย์เจ้าทรัพย์เอามือไปถูกมีดของจำเลยที่ถืออยู่มี่บาดเจ็บโดยเผอิญ จำเลยก็ต้องมีความผิดฐานขิงทรัพย์มีผู้ต้องได้รับบาดเจ็บตาม ม. 300 ตอนต้น ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.194ในคดีที่มีอุทธรณ์แต่เฉพาะข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงไหม่
ย่อยาว
ได้ความว่าจำเลยขึ้นไปชิงทรัพย์บนเรือนเจ้าทรัพย์ๆ ถูกมีดของจำเลยมีบาดเจ็บ
ศาลชั้นต้นฟังว่าการที่เจ้าทรัพย์ถูกมีดของจำเลยนั้นเป็นโดยบังเอิญ ไม่ใช่เกี่ยวเนื่องจากจำเลยกระทำโดยตรงคดีไม่เข้าบท ม.๓๐๐ จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา ๒๙๙
โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยควรมีผิดตาม ม.๓๐๐
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์สืบไม่ได้ว่าเจ้าทรัพย์มีบาดเจ็บ จึงพิพากษายืนตาม
ศาลฏีกาตัดสินว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ในข้อกฏหมายเท่านั้นว่าจำเลยจะมีความผิดตาม ม. ๓๐๐ หรือไม่ ซึ่งตาม ม.๑๙๔ แห่งประมวลวิธีพิจารณาอาญาศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น ก็เมื่อศาลชั้นต้นฟังมาว่าเจ้าทรัพย์มีบาดเจ็บ ศาลอุทธรณก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยใหม่ว่าเไม่ได้ความว่าเจ้าทรัพย์มีบาดเจ็บและเห็นว่าตาม ม.๓๐๐ นั้นมิได้จำกัดว่าจำเลยหรือพวกจะต้องลงมือทำร้ายเอง หากการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ใดต้องบาดเจ็บดังเช่นดคีนี้แล้วความผิดของจำเลยก็ต้องด้วย ม.๓๐๐ จึงพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ม.๓๐๐