แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกา ของจำเลยเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 จึงไม่รับ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เห็นว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เนื่องจากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 219แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3มีสิทธิฎีกาได้ โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป
หมายเหตุ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าโจทก์ได้รับสำเนาคำร้อง แล้วหรือไม่
ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ให้การรับสารภาพส่วนจำเลยที่ 4 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 4
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1,2,3, มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33,83,91,254,264พระราชบัญญัติ สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 44 ให้ลงโทษจำเลยที่ 1,2,3 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254 จำคุก 2 ปี และมาตรา 264 จำคุก 1 ปี รวมให้จำคุกคนละ 3 ปี จำเลยที่ 1,2,3 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสามไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254 ให้จำคุกคนละ 2 ปี จำเลยทั้งสาม ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว (อันดับ 42)
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 44)
คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำเป็นกรรมเดียวเมื่อผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และผลเป็นการพิพากษายืนว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254 จึงต้องห้ามมิให้ คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 นั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในผล ยกคำร้อง