คำสั่งคำร้องที่ 962/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า จำเลยขอขยายระยะเวลาฎีกา 2 ครั้ง ครั้งแรกศาลอนุญาตให้ 30 วันครั้งที่ 2 อีก 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดฎีกาในแต่ละครั้งซึ่งครบกำหนด ยื่นฎีกาในวันที่ 13 ธันวาคม 2536 จำเลยมายื่นฎีกาในวันนี้ (14 ธันวาคม 2536)จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกา แล้ว ไม่รับฎีกาของจำเลย
จำเลยเห็นว่า การที่จำเลยยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดเป็น ความพลั้งเผลอที่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ศาลมา และน่าจะเป็น ความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่ศาลแพ่งที่ดูคำสั่งของครั้งแรก เป็นครั้งที่ 2 ก็เป็นได้ แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฎว่า ศาลชั้นต้น อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในครั้งแรก30 วัน จำเลยขอเรียนว่า 30 วัน ก็มีความหมายเท่ากับ1 เดือนดังนั้นวันครบกำหนดยื่น ฎีกาครั้งแรกที่ขอขยายไว้จึงต้องตรงกับวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 เพราะถ้านับ 30 วันแม้จะไปตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน 2536 แต่วันที่ 28 เป็นวันอาทิตย์ ไม่อาจยื่นได้อยู่แล้ว จึงต้องยื่นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 อันเป็นวันครบกำหนด ฉะนั้น ที่จำเลยขอขยายระยะเวลาในครั้งที่ 2 ออกไปอีก โดยศาลชั้นต้นสั่งว่าให้อีก 15 วัน นับแต่วันครบกำหนด วันครบกำหนดคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 จึงต้องนับในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 เป็นวันแรก ขยายให้ 15 วัน วันสุดท้าย จึงต้องเป็นวันที่ 14 ธันวาคม 2536 ซึ่งจำเลยมายื่นฎีกาใน วันที่ 14 ธันวาคม 2536 ก็ไม่ถือว่าพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่ขอไว้ในครั้งที่ 2 คำว่า 30 วัน มีความหมายเท่ากับ 1 เดือนน่าจะใช้กฎหมายให้เหมือนกันดังเช่นคดีอาญา ขอศาลฎีกาได้โปรด วินิจฉัยข้อกฎหมายในข้อนี้ในที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เพื่อให้ เป็นแนวบรรทัดฐานต่อไปว่า คำว่า 30 วันมีความหมายเท่ากับ 1 เดือน จะได้ไม่เป็นที่ลักลั่นต่อกันอีกต่อไป โปรดมีคำสั่ง ให้รับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาต่อไปด้วย หากศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมิได้จงใจในการไม่ยื่นฎีกาก็ขอศาลได้โปรดสั่งศาลชั้นต้น ไต่สวนเสียก่อน แล้วสั่งใหม่โดยให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกานั้นเสีย
หมายเหตุ โจทก์แถลงคัดค้าน (อันดับ 184)
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 77,797,750.38 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงิน69,345,218.49 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่31 มีนาคม 2531) เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จ หากไม่ชำระให้ ยึดที่ดินโฉนด 82,83,86,3015,6248-6249,7499,16220,21955-21961,21979-22003,23429-23453,23458-23502,23505-23506,23509-23538,23546-23548,23550-23551,23554-23583ตำบลวัดเกษ อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ หากได้ เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาด ชำระหนี้ให้โจทก์จนครบ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน57,849,337.30 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในต้นเงิน 46,992,338.90 บาท นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2529 โดยวิธีทบต้นและโดยวิธีไม่ทบต้น นับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2529 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในต้นเงิน 10,856,998.40 บาท นับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2528จนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2528 โดยวิธีทบต้นและโดยวิธีไม่ทบต้น นับแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2528 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะ ชำระเสร็จนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 180)
จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 181)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายเวลายื่นฎีกาครั้งที่ 2 ออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดระยะเวลา ขยายครั้งที่ 1ระยะเวลายื่นฎีกาครั้งที่ 2 นี้จึงต้องเริ่ม นับถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาขยายครั้งที่ 1ติดต่อกันไป จะอ้างว่าวันที่ครบกำหนดระยะเวลาขยายครั้งที่ 1 เป็นวันหยุด ราชการ ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่ไม่ได้เพราะมิใช่เป็น วันยื่นฎีกา ดังนั้น เมื่อวันที่ครบกำหนดระยะเวลาขยายครั้งที่ 1 เป็นวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2536 ระยะเวลาขยายจึงต้อง เริ่มนับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไปอีก 15 วันซึ่งครบในวันที่ 13 ธันวาคม 2536 จำเลยยื่นฎีกาวันที่14 ธันวาคม 2536จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่น ฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยนั้นชอบแล้วให้ยกคำร้อง

Share