คำสั่งคำร้องที่ 924/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยทั้งสามฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ฎีกาของ จำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นฎีกา ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ไม่รับฎีกา จำเลยทั้งสามเห็นว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งเป็น บทหนักนั้นไม่ถูกต้อง เพราะบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่ถึง กับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำเลยทั้งสาม มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น เมื่อ โจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษมาในฟ้อง จึงลงโทษจำเลยทั้งสามไม่ได้ โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสามไว้พิจารณาต่อไป หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 51) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคแรก มาตรา 296 การกระทำของ จำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม มาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ให้ลงโทษจำคุกคนละ 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์ ต่อการพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เห็นสมควรลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกคนละ 3 เดือน ไม่ปรากฏ ว่าจำเลยทั้งสามได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงให้เปลี่ยนโทษจำคุก เป็นโทษกักขังมีกำหนด 3 เดือนแทน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จำเลยทั้งสามฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 49) จำเลยทั้งสามจึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 51)

คำสั่ง คดีนี้จำเลยฎีกาว่า บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับยังไม่ถึง บาดเจ็บ เป็นเพียงความผิดลหุโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 จึงไม่ชอบ และขอให้รอการลงโทษ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจและข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วเพื่อจะ นำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องการปรับบท จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา ของจำเลยชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง

Share