คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ทุนทรัพย์พิพาท ชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมี สิทธิเรียกร้อง ซึ่ง ค่าขาดอุปการะที่โจทก์ทั้งสองเรียกรวมกันมาเป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคนเมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งและนำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาทย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯโดยโจทก์ที่1ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลอนุญาตส่วนโจทก์ที่2แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่2ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายด้วยข้อเท็จจริงในคดีอาญาจึงย่อมมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองในคดีแพ่งว่าจำเลยที่1มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ด้วย

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์บรรทุก ใน ทางการที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ด้วย ความประมาท เป็นเหตุ ให้ เฉี่ยว ชน รถจักรยานยนต์ ที่นาย วิสุทธิ์ บุตร โจทก์ ทั้ง สอง ขับ ล้ม ลง นาย วิสุทธิ์ ตก จาก รถจักรยานยนต์ ได้รับ อันตรายสาหัส และ ถึง แก่ ความตาย จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์บรรทุก คัน ที่เกิดเหตุขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ชำระ เงิน จำนวน นั้น พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า เหตุ ที่ เกิดขึ้น เพราะความประมาท ของ ผู้ตาย ที่ ขับ รถจักรยานยนต์ ล้ม แล้ว มี รถยนต์บรรทุกหก ล้อ คัน อื่น ที่ แล่น ตาม หลัง มา ทับ ศีรษะ ถึงแก่ความตาย ค่าเสียหายต่าง ๆ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง เรียกร้อง มา สูง เกิน ส่วน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระเงิน จำนวน 247,600 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2531 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ว่า เหตุ ที่ รถ ชนกันนั้น ไม่ได้ เกิดจาก ความประมาท ของ จำเลย ที่ 1 และ จำนวน ค่าเสียหายมี เพียงใด นั้น เห็นว่า ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม เป็น การ โต้แย้ง ดุลพินิจใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง เป็น ข้อเท็จจริง ที่โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้องคดี โดย เรียก ค่าเสียหาย ทั้งหมด รวมกัน มา เป็น จำนวน247,600 บาท แม้ ค่าเสียหาย ที่ เป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อม รถจักรยานยนต์ ค่า เสื่อมราคา และ ค่า ปลงศพ มี จำนวน รวม 37,600 บาทจะ เป็น หนี้ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ ร่วมกัน ไม่อาจ แบ่งแยก เป็น หนี้ ของโจทก์ แต่ละ คน ได้ แต่ ใน ส่วน ค่า ขาดไร้อุปการะ ที่ โจทก์ ทั้ง สอง เรียกรวมกัน มา จำนวน 210,000 บาท นั้น เป็น หนี้ ที่ สามารถ แบ่งแยก เป็นส่วน ของ โจทก์ แต่ละ คน โดย โจทก์ ทั้ง สอง สามารถ ฟ้อง เรียก เฉพาะ ส่วนของ ตน โดย ลำพัง ได้ ทุนทรัพย์ พิพาท ชั้นฎีกา จึง ต้อง ถือ ตาม จำนวนค่าเสียหาย ที่ โจทก์ แต่ละ คน มีสิทธิ เรียกร้อง จาก จำเลย ทั้ง สามค่า ขาดไร้อุปการะ ของ โจทก์ แต่ละ คน มี จำนวน ใกล้เคียง กัน เมื่อ แบ่งแยกค่าเสียหาย ส่วน นี้ ของ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ ครึ่ง และ นำ ไป รวมกับ ค่าเสียหายส่วน อื่น แล้ว ทุนทรัพย์ พิพาท ชั้นฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง แต่ละ คน จึงไม่เกิน คน ละ สอง แสน บาท ย่อม ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา จำเลย ทั้ง สาม ใน ปัญหา ว่า เหตุ ที่ รถ ชนกัน นั้นเป็น ความประมาท ของ จำเลย ที่ 1 หรือไม่ และ จำนวน ค่าเสียหาย มี เพียงใดซึ่ง เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าวจึง เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ส่วน ข้อ ที่ จำเลย ทั้ง สามฎีกา ว่า คดี นี้ เป็น คดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา หมายเลขแดง ที่4861/2532 ของ ศาลอาญา ซึ่ง คดี ดังกล่าว ถึงที่สุด ใน ระหว่าง พิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ และ จำเลย ทั้ง สาม ยื่น คำร้อง แก้ไข เพิ่มเติม อุทธรณ์ก่อน ศาลอุทธรณ์ พิพากษา โดย โจทก์ มิได้ คัดค้าน แต่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ยก ปัญหา ดังกล่าว ขึ้น วินิจฉัย เห็นว่า ปัญหา ดังกล่าว เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อ คดีอาญา ดังกล่าว ถึงที่สุด ใน ระหว่าง การ พิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ จึง เป็น กรณี ที่ จำเลย ทั้ง สาม ไม่อาจ ยกขึ้น อ้าง ก่อนหน้านั้น ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองจำเลย ทั้ง สาม ยกขึ้น อ้าง ใน ชั้นฎีกา ได้ เมื่อ คดี ที่ โจทก์ ทั้ง สองฟ้อง เป็น คดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ซึ่ง ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติ ว่า “ใน การ พิพากษาคดี ส่วน แพ่งศาล จำต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา “การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ปรากฏ ใน คดี นี้ นั้น โจทก์ ที่ 1 ได้ ขอเข้าร่วม เป็น โจทก์ กับ พนักงานอัยการ ที่ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 เป็น คดีอาญาใน ข้อหา ความผิด ต่อ ชีวิต และ ความผิด ต่อ พระราชบัญญัติ จราจรทางบก ฯตาม คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 9072/2530 ของ ศาลอาญา ซึ่ง ศาล อนุญาตให้ โจทก์ ที่ 1 เข้าร่วม เป็น โจทก์ ข้อเท็จจริง ใน คดีอาญา ย่อม มีผลผูกพัน โจทก์ ที่ 1 ส่วน โจทก์ ที่ 2 แม้ มิได้ เป็น โจทก์ร่วม ใน คดีอาญาดังกล่าว ก็ ต้อง ถือว่า พนักงานอัยการ ได้ ดำเนินคดี อาญา แทน โจทก์ ที่ 2ซึ่ง เป็น มารดา นาย วิสุทธิ์ ผู้ตาย ใน คดีอาญา ดังกล่าว ข้อเท็จจริง ใน คดีอาญา ย่อม มีผล ผูกพัน โจทก์ ที่ 2 ด้วย เช่นกัน คดีอาญา ดังกล่าวศาลอาญา ได้ พิพากษายก ฟ้อง ตาม คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 4861/2532โจทก์ ที่ 1 (โจทก์ร่วม ) อุทธรณ์ ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตาม สำเนา คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ เอกสาร ท้าย ฎีกา คำพิพากษา คดีถึงที่สุดแล้ว (ชั้นอุทธรณ์ ) เมื่อ วันที่ 18 เมษายน 2534 ตาม ใบ สำคัญ แสดง ว่าคำพิพากษาถึงที่สุด ที่ จำเลย ทั้ง สาม อ้างอิง เป็น หลักฐาน มา ตั้งแต่ใน ชั้นอุทธรณ์ และ ใน ชั้นฎีกา คำ แก้ ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง มิได้ โต้แย้งว่า เอกสาร ท้าย ฎีกา ไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1มิได้ ขับ รถยนต์ โดยประมาท ดังนั้น ใน คดี นี้ ซึ่ง เป็น คดี ที่เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา จำต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ยุติ ใน คดีอาญาว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ขับ รถยนต์ โดยประมาท ตาม บท กฎหมาย ที่ ได้ กล่าวข้างต้น เมื่อ จำเลย ที่ 1 มิได้ ประมาท จำเลย ทั้ง สาม จึง ไม่ต้อง รับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตาม ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง คำพิพากษา ของ ศาลล่างทั้ง สอง ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share