แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า ผู้ร้องยื่นฎีกาไว้ มีเหตุผลที่จะชนะคดีโจทก์ได้ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ประกาศจะขายทอดตลาดทรัพย์สิน อันเป็นมรดกของนายบุญมา มูลตะกร ซึ่งผู้ร้องและจำเลยที่ 3เป็นผู้รับมรดกในวันที่ 23 กันยายน 2534 ปรากฏตามประกาศขายทอดตลาดเอกสารท้ายคำร้อง ซึ่งเดิมผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้และเมื่ออยู่ในชั้นบังคับคดี ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอให้เพิกถอนคำพิพากษาในส่วนที่ เกี่ยวกับความรับผิดของทายาทของนายบุญมา มูลตะกร เพราะผู้ร้องเห็นว่ากองมรดกของนายบุญมาไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ การประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย หากศาลฎีกามีคำสั่งให้รับคำร้องสอดก็คงจะเป็นเวลาภายหลัง ที่ได้ขายทรัพย์มรดกของนายบุญมาไปแล้ว โปรดพิจารณาคดีนี้โดยด่วนด้วย
หมายเหตุ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง สืบเนื่องจากโจทก์ใช้สิทธิไล่เบี้ยฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกัน รับผิดชำระเงินจำนวน 498,684 บาทซึ่งโจทก์ได้ชำระแก่ ธนาคารทหารไทย จำกัด เจ้าหนี้แทนจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 498,684 บาทพร้อมดอกเบี้ย ฯลฯ คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ผู้ร้อง ยื่นคำร้องว่าเป็นบุตรของนายบุญมา มูลตะกรกับจำเลยที่ 3และเป็นทายาทผู้รับมรดกของนายบุญมา จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดสำหรับจำเลยที่ 3 แต่นายบุญมาไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเพราะจำเลยที่ 2 ได้ยอมชำระเงินจำนวน 500,000 บาทแก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องทายาทผู้รับมรดกของนายบุญมาให้รับผิดอีก ขอให้ศาลเพิกถอนคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดชำระหนี้ของทายาทผู้รับมรดก จากนายบุญมา โดยขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำร้องของ ผู้ร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษา ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 เท่ากับเป็นการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำพิพากษาซึ่งได้อ่านให้คู่ความฟังโดยชอบแล้ว กรณีไม่อาจกระทำได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เป็นเรื่องที่อยู่ ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งกรณีนี้จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษา มิใช่ยื่น คำร้องเข้ามาเช่นนี้ ให้ยกคำร้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา (อันดับ 24)
ผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าว (อันดับ 22)
คำสั่ง
จะได้พิจารณาดำเนินการให้ตามควรแก่กรณี