คำสั่งคำร้องที่ 710/2536

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ฎีกาของจำเลย มิได้คัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องด้วยข้อกฎหมายอย่างไร คงมีแต่ว่าคำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องไม่ชอบ จึงมิใช่เป็นการฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่รับฎีกา ของจำเลย
จำเลยเห็นว่า ฎีกาของจำเลยคัดค้านคำวินิจฉัย ของศาลอุทธรณ์ ที่นำคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ มารวมเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องเพื่อวินิจฉัยคดีนี้ โดยที่จำเลยยังไม่ได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ซึ่งเป็นการ ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นฎีกาที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับ การวินิจฉัยจากศาลฎีกา โปรดมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ไว้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 135)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3(1)ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลย 2 เดือนนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับดังกล่าว (อันดับ 132)
จำเลยยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 135)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2534 ว่า จำเลยชื่อ นายสุจินต์ รัตนอมรชัย อีกชื่อหนึ่ง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้ แม้จะมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอ แก้ไขคำฟ้องให้จำเลย แต่จำเลยก็ยื่นคำให้การว่าจำเลย มิใช่นายนวรัฐชลรักษ์ จำเลยในคดีนี้แต่ชื่อนายสุจินต์รัตนอมรชัย เป็นคนละคนกันแสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ในรายละเอียดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้อง ดังนั้นที่จำเลยมิได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจึงมิ ทำให้ จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี และในประเด็นนี้ศาลล่าง ทั้งสองฟังว่านายนวรัฐชลรักษ์ จำเลยในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับนายสุจินต์รัตนอมรชัย เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลย ไม่เกิน 2 ปี ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของจำเลยชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง

Share