คำสั่งคำร้องที่ 516/2542

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

คดีต้องห้ามฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหา ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220จำเลยฎีกาโดยได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกามาแล้วตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221แต่ผู้พิพากษานั้นเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นไม่เป็น ปัญหาสำคัญไม่อนุญาตให้ฎีกา จึงไม่มีเหตุที่จะรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ มาตรา 86
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา พร้อม กับ ยื่น คำร้องขอ ให้ นาย นเรศ วงษ์สุนทร ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา นาย นเรศ วงษ์สุนทร ไม่อนุญาต ให้ ฎีกา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใน ฎีกา ว่าคดี ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ไม่รับ ฎีกา
โจทก์ ยื่น คำร้องอุทธรณ์ คำสั่ง ว่า คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ที่ พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ไป ตาม ปกติ มิได้ ปฏิบัติ หรือ ละเว้น ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ และ จำเลย ที่ 2 กระทำ ไป ตาม อำนาจ หน้าที่ มิได้ มี เจตนา จะ ช่วยเหลือ หรือ ให้ ความสะดวก แก่ จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติ หรือ ละเว้น ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่เป็น ความผิด ฐาน เป็น ผู้สนับสนุน เป็น คำพิพากษา ที่ ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6), (7) ขาด สาระสำคัญ ของ กฎหมาย ที่ จะ นำ มา พิจารณา และ โจทก์ เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ห้าม เฉพาะ การ พิจารณา พิพากษา ใน เนื้อแท้ ของ ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ พิพากษายืน ส่วน ปัญหา เรื่อง คำพิพากษา ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6), (7) เป็น เรื่อง ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรม อัน ดี และ ยัง ขัด ต่อ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร ไทย มาตรา 233 จึง ไม่ต้องห้าม ฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ขอ ศาลฎีกา โปรด รับ ฎีกา ของ โจทก์ ไว้ พิจารณา ต่อไป
ศาลฎีกา สั่ง ว่า ” พิเคราะห์ แล้ว จำเลย ฎีกา โดย ได้ ยื่น คำร้อง ขอให้ ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ใน ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา มา แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 แต่ ผู้พิพากษา นั้น เห็นว่า ข้อความ ที่ ตัดสิน นั้น ไม่เป็น ปัญหา สำคัญ ไม่อนุญาต ให้ ฎีกา คดี นี้ ต้องห้าม ฎีกา ทั้ง ใน ปัญหาข้อเท็จจริง และ ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 จึง ไม่มี เหตุ ที่ จะ รับ ฎีกา ของ จำเลย ไว้ พิจารณา ให้ยก คำร้อง “

Share