แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า เดิมที่พิพาทเป็นของบิดาจำเลยและจำเลยร่วม เมื่อบิดาตาย บ.สามีจำเลยได้ขายที่พิพาทแก่ จ. โดยจำเลยและจำเลยร่วมรู้เห็นยินยอม. ที่พิพาทจึงตกเป็นของ จ.เมื่อ จ.ขายให้โจทก์ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์การที่จำเลยและจำเลยร่วมฎีกามีใจความว่า บ. มิได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยจึงไม่มีสิทธิขายที่พิพาทให้ จ.นั้น มีผลเท่ากับเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยมาแล้วว่า บ. ขายที่พิพาทให้ จ. โดยจำเลยและจำเลยร่วมรู้เห็นยินยอม ส่วนที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นข้อกฎหมายว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์นั้นประเด็นข้อนี้จะวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่า จำเลยและจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยในการขายที่พิพาทดังกล่าว แต่จำเลยก็ยังเถียงข้อเท็จจริงนี้อยู่ ฉะนั้นฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์เพียง 2,100 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248