แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ที่ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการห้ามฎีกาทั้งในปัญหา ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และบทบัญญัติตามมาตรานี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(3)(4),243(1)(3)(ก)(ข) และมาตรา 247 มาใช้บังคับโดย อนุโลมโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้อีก
ย่อยาว
ความ ว่า โจทก์ ฎีกา ศาลชั้นต้น สั่ง ว่า ฎีกา ของ โจทก์ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 จึง ไม่รับ
โจทก์ เห็นว่า โจทก์ ฎีกา ขอให้ ศาลฎีกา พิพากษา ยก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา คดี เสีย ใหม่ ให้ ถูกต้อง โจทก์ จึง มีสิทธิ ฎีกา ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(3)(4), 243(1)(3)( ก)(ข ), 247 ประกอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โปรด มี คำสั่ง ให้ รับ ฎีกา ของ โจทก์ ไว้ พิจารณา ต่อไป
หมายเหตุ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5 ยัง ไม่ได้ รับ สำเนา คำร้อง
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง ห้า ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 83
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 1 ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง จำหน่ายคดี เฉพาะ จำเลย ที่ 1 เสีย จาก สารบบความ
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี โจทก์ ไม่มี มูล พิพากษายก ฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ดังกล่าว ( อันดับ 46)
โจทก์ จึง ยื่น คำร้อง นี้ ( อันดับ 47)
คำสั่ง
พิเคราะห์ แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ที่ แก้ไข แล้ว ห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน คดี ซึ่ง ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ เห็น ได้ว่า เป็น การ ห้ามฎีกา ทั้ง ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง และ ข้อกฎหมาย และ บทบัญญัติ ตาม มาตรา นี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติ ไว้ โดยเฉพาะ แล้ว ไม่อาจ นำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3(4), 243(1)(3)( ก)(ข ) และ มาตรา 247 มา ใช้ บังคับ โดย อนุโลม โดย อาศัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้ อีก ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับ ฎีกา ของ โจทก์ ชอบแล้ว ให้ยก คำร้อง