แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกาของจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218จึงไม่รับ จำเลยเห็นว่า ฎีกาที่ว่า เมื่อนายเปี๊ยกกูบกระโทก คนร้ายหนึ่งในจำนวนห้าคน พูดขอเงินผู้เสียหาย และผู้เสียหาย ปฏิเสธว่าไม่มี ย่อมเป็นข้อเท็จจริงแสดงเป็นหลักฐานว่า ผู้เสียหายไม่ได้ให้เงินหรือมิได้สัญญาว่าจะให้เงิน เท่ากับ ยังไม่บรรลุผล จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337 วรรคสอง (1) ฎีกาของจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายโปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป หมายเหตุ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 83 จำคุก 6 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม เป็นประโยชน์แก่การ พิจารณาคดีของศาล ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลย 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้
คำสั่ง พิเคราะห์แล้ว ตามฎีกาข้อ 2(1) ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า “จำเลยกับพวกล้อมผู้เสียหาย พวกจำเลยพูดจะเอาเงินจาก ผู้เสียหาย 50 บาท ผู้เสียหายว่ามีอยู่ 10 บาท จำเลยพูดว่า10 บาท ก็เอา พวกจำเลยพูดว่า 10 บาท ไม่เอาและขู่ว่าจะเอาปืนมายิงผู้เสียหาย ผู้เสียหายกลัวจะล้วงเอาเงินให้แก่พวกจำเลย” พอดีเจ้าพนักงานขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาจึงจับกุมจำเลยกับพวก ที่จำเลยฎีกาว่า”พวกจำเลยพูดจะเอาเงินผู้เสียหาย 10 บาท ผู้เสียหายว่าไม่มี” เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟัง จึงเป็น ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้น ไม่รับฎีกาจำเลยชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง