คำสั่งคำร้องที่ 2571/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีต้องห้ามฎีกาจึงไม่รับฎีกา
จำเลยเห็นว่า คดีนี้ คำให้การของพยานโจทก์ล้วนให้การ ขัดแย้งกันทั้งหมดและจำเลยถูกจับกุมในคดีเพราะมีเรื่อง โกรธเคืองกับเจ้าพนักงานตำรวจจนถึงขั้นฟ้องร้องน่าจะยกประโยชน์ แห่งความสงสัยให้เป็นประโยชน์กับจำเลย รายละเอียดปรากฏตาม สำเนาฎีกา และคดีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรจะได้รับวินิจฉัย โปรดมี คำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาต่อไปด้วย
หมายเหตุ ไม่ปรากฏว่าหลักฐานว่าโจทก์ได้รับสำเนาคำร้อง แล้วหรือไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) จำคุก 4 ปี ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 1,500 บาท บัตรเอทีเอ็ม 3 ฉบับบัตรข้าราชการ 1 ฉบับแก่ผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83 ให้จำคุก 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 99)
จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 101)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) จำคุก 4 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83 จำคุก 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลย ฎีกาว่า ผู้เสียหายกับพยานโจทก์ไม่เห็นคนร้าย และคำให้การ พยานโจทก์ล้วนเบิกความขัดแย้ง สาเหตุที่จำเลยถูกจับกุม เนื่องจากมีเรื่องโกรธเคืองกับเจ้าพนักงานตำรวจ น่าจะยกประโยชน์ แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการ รับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้น ไม่รับฎีกาของจำเลยนั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องของ จำเลย

Share