แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
คำร้องขอให้รับรองฎีกาของจำเลยฉบับลงวันที่21ตุลาคม2539มิได้ระบุชื่อผู้พิพากษาที่จะให้รับรองฎีกาไม่อาจทราบได้วา่จำเลยจะให้ผู้พิพากษานายใดเป็นผู้พิจารณารับรองฎีกาจึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบส่วนคำร้องขอให้รับรองฎีกาของจำเลยฉบับลงวันที่28ตุลาคม2539ที่จำเลยยื่นคำร้องระบุชื่อผู้พิพากษาที่จะให้รับรองฎีกาเมื่อพ้นระยะเวลาฎีกาแล้วก็ไม่ชอบเช่นกัน
ย่อยาว
ความ ว่า จำเลย ฎีกา พร้อม กับ ยื่น คำร้องขอ ให้ รับรอง ฎีกา ฉบับ ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2539 และ ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง จำเลย เห็นว่า ตาม คำร้อง ฉบับ ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2539 แม้ จำเลย ไม่ได้ ระบุ ชื่อ ผู้พิพากษา ก็ สามารถ ดำเนินการ รับรอง ฎีกา ได้ และ ตาม คำร้อง จำเลย ระบุ ว่า หาก มีเหตุ ขัดข้อง เป็นเหตุ ให้ ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี นี้ ใน ศาลชั้นต้น ไม่อาจ พิจารณา ฎีกา ของ จำเลย ได้ หรือ ศาล เห็นว่า สมควร ที่ จะ ให้ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลอุทธรณ์ เป็น ผู้พิจารณา ให้ คำรับ รอง เอง แล้ว ก็ ขอให้ ศาลชั้นต้น โปรด ส่ง คำร้อง นี้ ไป ศาลอุทธรณ์ เพื่อ ให้ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลอุทธรณ์ รับรอง ฎีกา ให้ จำเลย ด้วย ดังนั้น เมื่อ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ยกคำร้อง ศาลชั้นต้น ควร ที่ จะ ส่ง สำนวน ไป ให้ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลอุทธรณ์ รับรอง ฎีกา ให้ จำเลย ส่วน คำร้องขอ ให้ รับรอง ฎีกา ฉบับ ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2539 นั้น จำเลย เห็นว่า คำร้องขอ ให้ รับรอง ฎีกา ไม่ น่า จะ มี กำหนด ระยะเวลา เพราะ ไม่ใช่ ฎีกา และ คำร้อง นี้ เป็น คำร้อง ที่ สืบเนื่อง มาจาก คำร้อง ฉบับ ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2539 จำเลย จึง สามารถ ยื่น คำร้องขอ ให้ รับรอง ฎีกา ได้ แม้ ว่า จะ พ้น กำหนด ระยะเวลา ยื่นฎีกา แล้ว ขอให้ ศาลฎีกา โปรด มี คำสั่ง หรือ คำพิพากษา ให้ ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี นี้ ใน ศาลชั้นต้น คือ นาย ประจวบ กระจ่าง ทิม , นาย ทอง เพียร มูล กาย หรือ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี นี้ ใน ศาลอุทธรณ์ คือ นาง นพวรรณ อินทรัมพรรย์, นางอรพินท์ เศรษฐมานิต และ นาย ธนรรคฆ์ สินธารา รับรอง ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ด้วย โปรด อนุญาต
หมายเหตุ โจทก์ ยัง ไม่ได้ รับ สำเนา คำร้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 70,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา พร้อม กับ ยื่น คำร้อง ฉบับ ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2539 ขอให้ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ รับรอง ฎีกา ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ตาม คำร้อง ไม่ได้ ระบุ ชื่อ ผู้พิพากษา ที่ จะ ให้ รับรอง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 248 วรรคท้าย จึง ไม่อาจ ดำเนินการ ให้ ได้ ยกคำร้อง ศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ( อันดับ 176 แผ่น ที่ 1 และ ที่ 25)
ต่อมา จำเลย ยื่น คำร้อง ฉบับ ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ขอให้ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น คือ นาย ประจวบ กระจ่าง ทิม หรือ นาง พวรรณ อินทรัมพรรย์ หรือ นางอรพินท์ เศรษฐมานิต หรือ นาย ธนวรรคฆ์ สินธารา รับรอง ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า จำเลย ยื่น คำร้อง นี้ เมื่อ พ้น กำหนด ระยะเวลา ฎีกา แล้ว จึง ไม่อาจ ดำเนินการ ตาม คำร้อง ให้ ได้ ยกคำร้อง ( อันดับ 177)
จำเลย ยื่น อุทธรณ์ คำสั่ง นี้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ส่ง ศาลฎีกา ( อันดับ 178 แผ่น ที่ 4)
คำสั่ง
พิเคราะห์ แล้ว คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ สั่ง ให้ยก คำร้อง จำเลย ฉบับ ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2539 เพราะ จำเลย มิได้ ระบุ ชื่อ ผู้พิพากษา ที่ จะ ให้ รับรอง ฎีกา เป็น คำสั่ง ที่ชอบ เนื่องจาก จำเลย ไม่ ระบุ ชื่อ ก็ ไม่อาจ ทราบ ได้ว่า จำเลย จะ ให้ ผู้พิพากษา นาย ใด เป็น ผู้พิจารณา รับรอง ฎีกา และ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ สั่ง ให้ยก คำร้อง จำเลย ฉบับ ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2539 เพราะ จำเลย ยื่น คำร้อง ระบุ ชื่อ ผู้พิพากษา ที่ จะ ให้ รับรอง ฎีกา เมื่อ พ้น ระยะเวลา ฎีกา แล้ว เป็น คำสั่ง ที่ชอบ อีก เช่นกัน เพราะ การ ยื่น ให้ รับรอง ฎีกา ต้อง กระทำ ใน ระยะเวลา ที่ จำเลย ยัง ยื่นฎีกา ได้ ยกคำร้อง