แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย เนื่องจากจำเลยยื่นฎีกาเกินกำหนดเวลา
จำเลยเห็นว่า จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะยื่นฎีกาเกินกำหนด เนื่องจากจำเลยเข้าใจว่าเริ่มนับระยะเวลาฎีกาตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2537 และครบกำหนดในวันที่ 18 กันยายน 2537จำเลยได้รับเอกสารที่ขอถ่ายในวันที่ 29 สิงหาคม 2537 และได้ยื่นฎีกาต่อศาลในวันที่ 6 กันยายน 2537 ซึ่งจำเลยได้กระทำอย่างเต็มความสามารถ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดีแล้ว อนึ่งโทษจำคุกมีอัตราสูง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โปรดมี คำสั่งให้รับฎีกา ของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 99)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140,288,289(2) ประกอบมาตรา 80 ประกอบ มาตรา 52(1),371 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 55,78 ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติ การตามหน้าที่โดยมีหรือใช้อาวุธ เป็นความผิดกรรมเดียวกับ ความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่า เจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ซึ่งเป็นบทหนัก ให้จำคุก ตลอดชีวิต ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ ปรับ 90 บาท ฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจ ออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง จำคุก 3 ปี จำเลยให้การ รับสารภาพชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้ หนึ่งในสามทุกกระทงความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุกในข้อหาพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน 33 ปี 4 เดือน ข้อหาพาอาวุธไปในเมือง ปรับ 60 บาท ข้อหามี เครื่องกระสุนที่เจ้าพนักงานไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 35 ปี 4 เดือน ปรับ 60 บาท ริบของกลาง ข้อหาอื่น นอกจากนี้ให้ยก ส่วนคำขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจาก โทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1437/2534 และคดีอาญา หมายเลขดำที่ 30/2535ของศาลนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าคดีทั้งสอง ดังกล่าวศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงไม่นับโทษต่อให้
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ในความผิดฐานมี อาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7,72 ที่แก้ไขแล้ว จำคุก 1 ปี ในความผิดฐาน พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง มาตรา 72 ทวิ วรรคสอง ที่แก้ไขแล้ว ซึ่งเป็นกฎหมายที่มี โทษหนักที่สุด จำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน จำเลยรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้หนึ่งในสาม เป็นจำคุก 1 ปี รวมเป็นโทษจำคุกจำเลย ทั้งสิ้น 36 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 98)
จำเลยยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 99)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2537วันครบกำหนดยื่นฎีกา เป็นวันที่ 2 กันยายน 2537 แต่จำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 6 กันยายน 2537 จึงถือว่าจำเลยมิได้ฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3ให้ฟังก็ย่อมไม่มีสิทธิฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 216 วรรคแรก ส่วนที่จำเลยอ้างว่า จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะยื่นฎีกาเกินกำหนดเพราะว่าเจ้าหน้าที่ศาลได้ถ่ายเอกสารทั้งหมดให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2537 จำเลยมีเวลาในการยื่นฎีกานับจากวันที่จำเลยได้รับเอกสารเพียง 4 วัน นั้นเห็นว่า ถ้าหากจำเลยมีพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลายื่นฎีกา จำเลยก็ย่อมยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่ง ขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยนั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย