คำสั่งคำร้องที่ 1989/2537

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ของโจทก์ เพราะโจทก์ยื่นฎีกาพ้นกำหนดตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาต มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาที่จะต้องยื่นคำร้อง อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาล ได้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ประกอบด้วยมาตรา 247,252 โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ดังกล่าวตามปกติต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 223
ความว่า โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ยื่นขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปอีก 15 วัน จึงครบกำหนดยื่นฎีกา ในวันที่ 25 ธันวาคม 2536 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลา ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกา จึงไม่รับฎีกาของโจทก์ให้คืน ค่าขึ้นศาลทั้งหมด
โจทก์เห็นว่า การที่ทนายโจทก์ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาภายในกำหนดระยะเวลายื่นฎีกานั้น ก็เพราะ ทนายโจทก์ได้เกิดอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้ข้อเท้าหลุดและหัก ไม่สามารถเดินได้ และภูมิลำเนาที่โจทก์อาศัยอยู่ก็เป็น ถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวกไม่สามารถติดต่อกับโจทก์หรือ บุคคลอื่นให้ยื่นฎีกาแทนได้นั้นถือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย อย่างยิ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 โปรดมีคำสั่งอนุญาตรับฎีกาของโจทก์ไว้เพื่อศาลฎีกา จะได้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ ผู้ร้องยังไม่ได้รับสำเนาอุทธรณ์
กรณีเป็นชั้นร้องขัดทรัพย์
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 46506,56592, และ 56593 แขวงแสมดำเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้มี คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 282/2534 ให้ผู้จัดการมรดกของจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินทั้งสามโฉนดดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง การที่โจทก์ นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนดดังกล่าวทำให้ ผู้ร้องไม่สามารถรับโอนที่ดินพิพาทได้ ขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนการยึดที่ดินทั้งสามโฉนดดังกล่าว
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้เพิกถอนการยึดที่โฉนดเลขที่ 56592,56593 และ 46506 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน นับจากวันครบกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต (อันดับ 54)
ต่อมาโจทก์ฎีกา พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้องและมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 55 แผ่นที่ 3,81)
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาเกินกำหนด 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ประกอบมาตรา 252 ให้ส่งคำร้องพร้อมฎีกาไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่ง (อันดับ 85)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ เพราะโจทก์ยื่นฎีกาพ้นกำหนดตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาต มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาที่จะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ประกอบด้วยมาตรา 247,252 โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามปกติต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 223 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ก็เห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเลย ศาลฎีกาเห็นว่าตามทางไต่สวนคำร้องของ โจทก์ได้ความว่า ทนายโจทก์เกิดอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้ข้อเท้าหลุดและหัก ไม่สามารถเดินได้ และภูมิลำเนาที่โจทก์อาศัยอยู่ก็เป็น ถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก ไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ หรือบุคคลอื่นให้ยื่นฎีกาแทนโจทก์ กรณีถือได้ว่ามีเหตุที่โจทก์ ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนถึงระยะเวลา ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตได้ จึงเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 อนุญาตตามคำร้องจึงให้รับฎีกาของโจทก์และดำเนินการต่อไป

Share