แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีทั้งสองสำนวนราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกา ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับฎีกา
โจทก์เห็นว่า ฎีกาของโจทก์เป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่พิพาทตามกฎหมายแล้ว โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป
หมายเหตุ จำเลยทั้งสามได้รับสำเนาคำร้องแล้ว(อันดับ 99 แผ่นที่ 3,100 แผ่นที่ 2,101 แผ่นที่ 3)
คดีของศาลชั้นต้นหมายเลขดำที่ 219/2532 และหมายเลขดำที่ 256/2532 นี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยเรียกนางทองขาว มีโพธิ์ว่าโจทก์เรียกนายบัญญัติศิริอ่อนนายพยนต์ศิริอ่อนและนายสำเริงศิริอ่อน ว่า จำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ตามลำดับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 42,43,44,45 และ 46 ทางด้านทิศเหนือเนื้อที่ 24 ไร่เศษ ฯลฯ ยกฟ้องคดี หมายเลขดำที่ 219/2532 ของศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ดิน 42,43,44,45,46 จำนวน 1 ใน 3 ส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3นอกจากที่แก้ให้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว (อันดับ 93)
โจทก์จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 96)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับการส่งมอบจากจำเลยที่ 1 ด้วยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ส่วนฎีกาที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้เพราะเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงและคดีของจำเลยทั้งสามโดยเฉพาะจำเลยที่ 3 ขาดอายุความแล้วนั้น เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง