คำสั่งคำร้องที่ 1815/2531

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า โจทก์อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางสั่งว่า อุทธรณ์ข้อ 2เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ คงรับอุทธรณ์เฉพาะข้อ 3
โจทก์เห็นว่า โจทก์ได้นำถังน้ำมันของจำเลยออกนอกบริษัทจริงแต่ก็ได้รับอนุญาตจากนายสมชาย พรเจริญทรัพย์ แล้วดังปรากฏตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งนายสมชาย พรเจริญทรัพย์ ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ แต่การที่นายสมชาย พรเจริญทรัพย์ กลับเบิกความเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ขัดแย้งกับเอกสารหมาย จ.1 และศาลแรงงานกลางก็เชื่อตามคำเบิกความโดยวินิจฉัยว่าโจทก์กับนายสมชาย พรเจริญทรัพย์ ไม่เคยมีเรื่องโกรธเคืองกันมาก่อนนั้น โจทก์ไม่เห็นด้วย โปรดมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ ข้อ 2 ของโจทก์ขึ้นพิจารณาด้วย
หมายเหตุ ทนายจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 57)
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมและให้จ่ายค่าเสียหายเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างจนถึงวันที่รับโจทก์เข้าทำงาน และให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาท
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งดังกล่าว (อันดับ 50)
โจทก์จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 54)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เอาถังน้ำมันของจำเลยที่ 1 ไปเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบการกระทำของโจทก์จึงเป็นการลักทรัพย์ โจทก์อุทธรณ์สรุปได้ว่าได้นำถังน้ำมันดังกล่าวออกไปโดยได้รับอนุญาตจากนายสมชายพรเจริญทรัพย์ พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1แล้ว และจะนำมาคืนในภายหลังการกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการลักทรัพย์ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลแรงงานกลางไม่รับอุทธรณ์ ข้อนี้ของโจทก์ชอบแล้วให้ยกคำร้อง

Share