แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ฎีกาจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมาย และผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา ไม่อนุญาตให้ฎีกาได้ จึงไม่รับฎีกาจำเลย
จำเลยเห็นว่า ฎีกาของจำเลยเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามฎีกา และจำเลยเพิ่งทราบคำสั่งที่ ไม่อนุญาตให้ฎีกาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ฎีกาของจำเลยเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่มีสาระสำคัญ ประกอบกับจำเลยไม่เคยกระทำผิดใด ๆ มาก่อนเพื่อความยุติธรรมแก่จำเลย โปรดมีคำสั่งรับฎีกา ปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยไว้ด้วย
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 106)
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษจำคุกกระทงละ 4 เดือน รวม 12 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงลงโทษจำคุก 6 เดือน
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 3 เดือน นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองฎีกา ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นสั่งคำร้องว่า ข้อความที่ตัดสินไม่เป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ไม่อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว (อันดับ 58,57)
จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ส่งศาลฎีกาพิจารณา (อันดับ 103)
คำสั่ง
อำนาจในการสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาหรือสั่งให้รับฎีกาเป็นอำนาจ โดยเฉพาะของศาลฎีกา ดังนั้น จำเลยจะขอให้ศาลอุทธรณ์ สั่งให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยไว้หาได้ไม่
การอนุญาตให้ฎีกาในคดีซึ่งห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 เป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งใน ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ เมื่อผู้พิพากษานั้น ๆ ไม่อนุญาตให้ฎีกา และคดีนี้เป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ไม่รับฎีกาชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง