แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า โจทก์ยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงฎีกาข้อ 3.2 เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ส่วนฎีกาข้อ 3.1แม้เป็นข้อกฎหมายแต่ก็ไม่เป็นสาระแก่คดี จึงไม่รับฎีกา
โจทก์เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยคดีของโจทก์และเชื่อว่าที่ดินพิพาทยังเป็นทรัพย์มรดกของนายมิ่งอยู่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 และมาตรา 1600 มีผลให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาข้อกฎหมายในประเด็นเดียวกัน ซึ่งเป็นสาระสำคัญแก่คดีอาจเป็นผลให้คดีแพ้ชนะกันได้ โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของโจทก์ด้วย
หมายเหตุ ไม่ปรากฏหลักฐานในสำนวนว่าจำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องแล้วหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการออกหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 30ตำบลพิกุลอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นเจ้าของรวมและให้จำเลยที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดก นำที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ดังกล่าวแบ่งให้แก่ทายาททุกคน หากแบ่งไม่ได้ขอให้นำที่ดิน ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว (อันดับ 82)
ทนายโจทก์จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 88,4)
คำสั่ง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทส่วนที่จำเลยที่ 1 มี ชื่อ เป็นเจ้าของรวมใน น.ส.3 ตามฟ้อง เป็น ทรัพย์มรดก ของ เป็นทรัพย์มรดกของนายมิ่ง ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจาก น.ส.3 แล้วนำที่ดินพิพาทมาแบ่งปันให้แก่ทายาทของนายมิ่งศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่านายมิ่งยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว ซึ่งก็เท่ากับวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนายมิ่งนั่นเอง ฎีกาของโจทก์ทั้ง ข้อ 3.1และข้อ 3.2 ล้วนแต่ขอให้รับฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายมิ่งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง