คำสั่งคำร้องที่ 1343/2530

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา บัดนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ที่จะฎีกา จึงขอถอนคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง โปรดอนุญาต
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 299)
ระหว่างพิจารณา นางพินภู่พานิชนางรัชนีโน๊ตศิริผู้เสียหายต่างขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต และเรียกว่า โจทก์ร่วมที่ 1 และโจทก์ร่วมที่ 2 ตามลำดับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตรา 43,157 ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทหนัก จำคุก 1 ปี 6 เดือน ฯลฯ จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43,78,160 วรรคสอง ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 1 ปี 6 เดือน ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตรา 78,160 วรรคสอง จำคุก 1 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่ 2มีกำหนด 1 ปี 7 เดือน ของกลางคืนเจ้าของ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 เฉพาะข้อหาขับรถยนต์ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1(อันดับ 292,289)
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง (อันดับ 291)
คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องดังกล่าว โดยทนายความของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อในคำร้อง (อันดับ 299)
ไม่ปรากฏในใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1ได้ให้ทนายความผู้ลงชื่อในคำร้องมีอำนาจถอนคำร้องอุทธรณ์คำสั่งได้

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ปรากฏว่า ในใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 1ไม่ได้ระบุว่าให้ทนายความมีอำนาจถอนฟ้องหรือถอนคำร้องอุทธรณ์คำสั่งได้ ทนายความของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจลงชื่อในคำร้องนี้ได้ให้ยกคำร้อง

Share