คำสั่งคำร้องที่ 1291/2535

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อที่ว่ามีข้อตกลงพิเศษระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ในการ ที่จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่แก้ไขส่วนฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการฎีกาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย จากศาลฎีกา จึงไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 เห็นว่ามูลคดีเรื่องนี้มีปัญหาในข้อกฎหมายที่สมควร ได้รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 และ มาตรา 916 และฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็น สาระสำคัญอันควรได้รับการพิจารณาวินิจฉัยจากศาลสูงเป็นอย่างยิ่ง โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงิน จำนวน 144,150 บาทแก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน 28,830 บาท นับแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2529ต้นเงิน 28,830 นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2529 ต้นเงิน 28,830 บาทนับแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2529 ต้นเงิน 28,830 บาท นับแต่ วันที่ 26 มกราคม 2530 ต้นเงิน 28,830 บาท นับแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2530 อันเป็นวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามเช็คแต่ละฉบับจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ทั้งนี้จำนวน ดอกเบี้ยทั้งหมดรวมกันถึงวันฟ้องต้องไม่เกิน 6,300 บาท ตามที่ โจทก์ขอมา
จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว (อันดับ 140)
จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำร้องนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงิน มาชำระตามคำพิพากษา หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน แต่จำเลยที่ 2 มิได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว มาวางตามคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นมีคำส่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา เพื่อพิจารณาสั่งต่อไป (อันดับ 146,147)
อนึ่งจำเลยที่ 2 ได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับ ฎีกาแล้ว (อันดับที่ 141/3) และเมื่อครั้งที่จำเลยที่ 2 ได้รับ อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์ ก็ได้หาประกันสำหรับหนี้ ตามคำพิพากษาไว้ต่อศาลชั้นต้นแล้ว (อันดับ 125,129 และ 131) และยังมิได้ขอรับคืนไป

คำสั่ง
จำเลยที่2 ฎีกา อ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายและเป็นสาระว่า การสลักหลังเช็คของจำเลยที่ 2 เป็นการทำนิติกรรมโดยมีเงื่อนไข ตามมาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ไม่ปฏิบัติ ตามเงื่อนไข การส่งผ้าให้จำเลยที่ 1 ทำการค้าต่อไปในวงเงิน 300,000 บาท ตามที่ตกลงไว้ การสลักหลังเช็คจึงไม่มีผลเป็น การค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดและยังอ้างว่ากรณีของ จำเลยที่ 2 ดังกล่าวไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เพราะว่ามีการตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นเงื่อนไขพิเศษก่อนที่จำเลยที่ 2 จะยอมสลักหลังเช็ค โจทก์จะต้อง ส่งสินค้าให้จำเลยที่ 1 ทำการค้าขายต่อไปในวงเงิน 300,000 บาท โจทก์มิใช่บุคคลภายนอก จึงไม่อาจถือเอาประโยชน์แก่บทกฎหมายมาตราดังกล่าว นั้นศาลอุทธรณ์ฟังว่า ข้อตกลงตามที่จำเลยที่ 2อ้างนั้น โจทก์ได้ปฏิเสธ จำเลยที่ 2 อ้างว่า ข้อตกลงทำด้วยวาจา ไม่มีพยานหลักฐานใดมายืนยันได้ว่ามีข้อตกลงนั้น เห็นว่า ฎีกาของ จำเลยที่ 2 ดังกล่าวข้างต้นเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นเพื่อนำไปสู่ในการวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม มิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 18 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 นั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในผล ยกคำร้อง

Share