คำสั่งคำร้องที่ 113/2542

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 16/2541 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2541 แล้วว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 272มาตรา 26 มาตรา 27 และ มาตรา 28 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลส่งปัญหาดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกจึงเป็นกรณีที่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนี้ศาลจึงไม่ต้องส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดในคดีนี้อีก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 353 และ 91
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา ศาลชั้นต้น สั่ง ว่า คดี นี้ ศาลชั้นต้น ยกฟ้อง ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ ไม่ใช่ ผู้เสียหาย จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ส่วน ปัญหาข้อเท็จจริง เรื่อง จำเลย ยักยอก หรือไม่ ศาลชั้นต้น ไม่ได้ วินิจฉัย โจทก์ อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง ส่วน ปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่ง คู่ความ มิได้ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เห็นสมควร วินิจฉัย ไป โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ใหม่ และ ได้ ยกฟ้อง ใน ปัญหาข้อเท็จจริง นี้ โจทก์ จึง ได้ ฎีกา คัดค้าน ว่า คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 แต่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ของ โจทก์ ด้วย เหตุผล ว่า ต้องห้าม ฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ จึง ได้ ยื่น อุทธรณ์ คำสั่ง ต่อ ศาลฎีกา ขณะ นี้ คดี อยู่ ระหว่าง ศาลฎีกา พิจารณา คำร้องอุทธรณ์ คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ของ โจทก์
โจทก์ ยื่น คำร้อง นี้ ว่า การ ที่ ศาลชั้นต้น ได้ โปรด มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ของ โจทก์ โดย ระบุ ว่า เป็น ฎีกา ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 เป็น การ ตัด สิทธิ โจทก์ ที่ จะ ยื่นฎีกา ตาม กฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 อันเป็น การ ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ทั้ง เป็น การ ละเมิด สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ ได้รับ ความเป็นธรรม ตาม กฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 ที่ว่าการ ใช้ อำนาจ โดย องค์กร ของรัฐ ทุก องค์กร ต้อง คำนึง ถึง ศักดิ์ศ รี ความ เป็น มนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ตาม บทบัญญัติ แห่ง รัฐธรรมนูญ นี้ และ มาตรา 27 ที่ ว่า สิทธิ ที่ รัฐธรรมนูญ นี้ รับรอง ไว้ โดยชัดแจ้ง ย่อม ได้รับ ความคุ้มครอง และ ผูกพัน ศาล โดยตรง ใน การ ใช้ บังคับ กฎหมาย และ การ ตีความ กฎหมาย ทั้งปวง ดังนั้น บุคคล ย่อม ใช้ สิทธิ ของ ตน ได้ เท่าที่ ไม่เป็น ปฏิปักษ์ ต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่ ขัด ต่อ ศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชน และ บุคคล ซึ่ง ถูก ละเมิด สิทธิ ที่ รัฐธรรมนูญ นี้ รับรอง ไว้ สามารถ ยก บทบัญญัติ แห่ง รัฐธรรมนูญ นี้ เพื่อ ใช้ สิทธิ ทาง ศาล หรือ ยกขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ ทาง ศาล ได้ ดัง ที่ ระบุ ไว้ ใน รัฐธรรมนูญ มาตรา 28 โจทก์ จึง เห็นว่า ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 220 เป็น บทบัญญัติ ที่ ขัดแย้ง กับ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร ไทย ที่ ใช้ อยู่ ใน ปัจจุบัน ดังนั้น โดย อาศัย มาตรา 6 แห่ง รัฐธรรมนูญ ประกอบ ด้วย มาตรา 264 ของ ศาลฎีกา ได้ โปรด ส่ง เรื่อง นี้ ให้ ศาล รัฐธรรมนูญ ได้ โปรด พิจารณา
ศาลฎีกา มี คำสั่ง ว่า ” ปัญหา ที่ โจทก์ ขอให้ ส่ง ไป ให้ ศาล รัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ศาล รัฐธรรมนูญ ได้ มี คำวินิจฉัย ที่ 16/2541 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ไม่ ขัด หรือ แย้ง ต่อ รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 มาตรา 26 มาตรา 27 และ มาตรา 28 ดังนั้น จึง เป็น กรณี ที่ มี คำวินิจฉัย ของ ศาล รัฐธรรมนูญ แล้ว ไม่ต้อง ส่ง ไป ให้ ศาล รัฐธรรมนูญ วินิจฉัยชี้ขาด ใน คดี นี้ อีก ให้ยก คำร้อง “

Share