แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ชนกัน จำเลยไม่ใช่นายจ้างของคนขับรถ ไม่ได้ความว่าจำเลยครอบครองรถยนต์ จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม มาตรา 437 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนของจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดด้วย
ย่อยาว
รถยนต์บรรทุก 6 ล้อของจำเลย น.ม. 13517 ชนรถยนต์โจทก์รับประกันภัยไว้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้เงินแก่โจทก์ 7,500 บาท กับดอกเบี้ยอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า “คดีนี้ทุนทรัพย์ไม่เกินสองพันบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตั้งแต่ศาลที่แล้ว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นคนขับรถยนต์ น.ม.13517 ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดขับรถยนต์ น.ม.13517 ที่ขับรถประมาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ส่วนที่โจทก์กล่าวในฎีกาว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์ น.ม.13517 ในขณะเกิดเหตุ จึงต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าปัญหาเรื่องจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ น.ม.13517 ในขณะเกิดเหตุหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้กะเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ อย่างไรก็ตาม ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า คงมีแต่คำเบิกความของนายกฤตศิลป์ เชาวปัญญานนท์ และพันตำรวจโทชลอ เกิดเทศซึ่งเบิกความรับรองเอกสารหมาย จ.6 (ที่ถูกเป็นเอกสารหมาย จ.5) ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์ น.ม.13517 เท่านั้น หาได้ฟังว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ น.ม.13517 ได้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องรับผิดเพราะเหตุเพียงเป็นเจ้าของรถยนต์ น.ม.13517 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยแบบค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่า ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายอันไม่เกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ หรือประเด็นข้อโต้แย้งในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาว่าชอบหรือไม่อีก”
พิพากษายืน