คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2523

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ผู้ร้องเข้ามาในประเทศไทยโดยใช้หนังสือเดินทางของประเทศมาเลเซีย เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองอนุญาตให้ผู้ร้องอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวมีกำหนดหนึ่งเดือน พ้นกำหนดหนึ่งเดือนผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทย ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาล ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 43ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

ย่อยาว

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าบิดามารดาผู้ร้องเป็นคนเชื้อชาติไทยและสัญชาติไทยผู้ร้องเกิดในประเทศไทย ต่อมาบิดาผู้ร้องส่งผู้ร้องไปศึกษาที่ประเทศมาเลเซียแล้วไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษโดยใช้หนังสือเดินทางของประเทศมาเลเซียวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2520 ผู้ร้องเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยใช้หนังสือเดินทางของประเทศมาเลเซีย ด่านตรวจคนเข้าเมืองให้จำเลยอยู่ในประเทศไทยได้ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2520 เนื่องจากผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยจึงขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 43

ผู้คัดค้าน คัดค้านว่าไม่มีผู้ใดโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะใช้สิทธิทางศาลต้องร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองเสียก่อน ผู้ร้องไม่ใช่คนสัญชาติไทย และไม่ได้เกิดในประเทศไทย หากผู้ร้องเป็นคนไทยก็เจตนาสละสัญชาติไทยแล้ว ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้อ้างตนว่าเป็นคนไทย จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิเสนอคดีต่อศาล พิพากษายกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีสิทธิเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอได้ตามนายศุภณรงค์แล้ว และในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมในการสละมรดกของผู้เยาว์ทั้งสาม (จำเลยที่ 2) ได้ ซึ่งจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมได้ทำหนังสือสละมรดกของนายศุภณรงค์ต่อนายอำเภอเมืองสมุทรสงครามตามคำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นแล้ว

ศาลชั้นต้นเห็นว่า เมื่อจำเลยสละมรดกของนายศุภณรงค์แล้ว จำเลยก็ไม่อยู่ในฐานะทายาทโดยธรรม หากจะดำเนินคดีต่อไปก็ไม่เกิดประโยชน์จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายได้ แม้จำเลยทั้งสองจะสละมรดกของผู้ตายแล้วก็ตาม พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า คดีมีปัญหาสู่ศาลฎีกาว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกจะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาท เมื่อบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกหรือไม่ พิเคราะห์แล้วประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1734 บัญญัติว่า เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น และมาตรา 1737 บัญญัติว่าเจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดก ให้เจ้าหนี้เรียกเข้ามาในคดีด้วย ดังนี้ เห็นว่าคดีนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทร่วมกันนำเงินและทรัพย์สินในกองมรดกมาชำระหนี้แก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาท เพื่อให้ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ฉะนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นทายาทได้ตามที่กฎหมายดังกล่าวให้อำนาจไว้ แม้จะปรากฏว่าจำเลยสละมรดกเสียในระหว่างพิจารณาก็ตาม ทั้งนี้เพราะโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัวหากแต่ฟ้องในฐานะเป็นทายาทและก็เพื่อให้โจทก์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกดังกล่าวแล้วเท่านั้นจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาต่อไปตามรูปคดีศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบแล้ว

พิพากษายืน

Share