คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2530

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่โจทก์ทั้งสองมาทำงานที่การเคหะแห่งชาติ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 ให้โอนกิจการของธนาคารอาคารสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจตามมาตรา 27(1)และ (2) ตาม พ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ให้แก่การเคหะแห่งชาติ เมื่อมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานจึงต้องนับต่อเนื่องกันไป แต่เนื่องจากข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่พนักงานหรือลูกจ้างประจำเท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้วก่อนโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย จึงต้องนับอายุการทำงานติดต่อกัน ส่วนโจทก์ที่ 2เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยนั้นยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่เพิ่งจะได้รับแต่ง ตั้งเป็นลูกจ้างประจำภายหลังจึงต้องนับอายุการทำงานตั้งแต่วันได้รับแต่ง ตั้งเป็นลูกจ้างประจำ.

ย่อยาว

โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องเรียกค่าชดเชยและเงินสงเคราะห์จากจำเลยซึ่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุเกษียณอายุ
จำเลยให้การว่าได้จ่ายเงินสงเคราะห์ให้โจทก์ทั้งสองสำนวนครบถ้วนแล้ว ส่วนเงินค่าชดเชยไม่ต้องจ่ายเพราะจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรทางเศรษฐกิจ จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน 2496 ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสองมาทำงานที่การเคหะแห่งชาติ ก็เพราะผลของการโอนตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว มิใช่โจทก์ทั้งสองลาออกจากหน่วยงานเดิมมาสมัครเข้าทำงานกับจำเลยใหม่ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 577 บัญญัติว่า นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย การโอนสิทธิการจ้างเช่นนี้ฐานะความเป็นลูกจ้างของลูกจ้างย่อมไม่สิ้นสุดลง ซึ่งต่างกับกรณีการเลิกจ้าง สำหรับโจทก์ทั้งสองมาทำงานกับจำเลยเพราะผลของการโอนเมื่อมิได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานจึงต้องนับต่อเนื่องกันไป แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะได้รับเงินสงเคราะห์จากจำเลยตามข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 32ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์นั้น ข้อ 6 ทวิ กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนหรือค่าจ้างสุดท้าย คูณด้วยอายุการทำงาน สำหรับ”อายุการทำงาน” ตามข้อบังคับเดียวกัน ข้อ 4(6) นั้น หมายความว่าระยะเวลาตั้งแต่วันที่ผู้ปฏิบัติงานเข้าประจำทำงานในการเคหะแห่งชาติในฐานะพนักงานหรือลูกจ้างประจำตามงบทำการจนถึงวันสุดท้ายก่อนพ้นจากตำแหน่งในการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเมื่อได้พิเคราะห์ข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ 32 ดังกล่าวมาแล้วเห็นว่า สำหรับโจทก์ที่ 1 นั้นเนื่องจากก่อนโอนมาทำงานกับจำเลย โจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้ว เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย จึงต้องนับอายุการทำงานติดต่อกัน ที่ศาลแรงงานกลางคำนวณเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 32 สำหรับโจทก์ที่ 1โดยนำเอาอายุการทำงานของโจทก์ที่ 1 จากธนาคารอาคารสงเคราะห์มารวมกับอายุการทำงานกับจำเลยนั้นถูกต้องแล้ว สำหรับโจทก์ที่ 2 นั้นได้ความว่า เมื่อโจทก์ที่ 1 โอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยเมื่อวันที่12 กุมภาพันธ์ 2516 นั้น โจทก์ที่ 2 ก็ยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลยอยู่ เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2519 ฉะนั้น สิทธิของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องอายุการทำงานเพื่อคำนวณเงินสงเคราะห์ จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 32 ข้อ 4(6) ดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อคิดอายุการทำงานของโจทก์ที่ 2 นับถึงวันเกษียณอายุแล้วคงมีอายุการทำงานเพียง 10 ปีกับ 122 วัน เท่านั้น เศษของปีไม่ถึง 183 วัน จึงไม่รวมนับ เมื่อคำนวณเงินสงเคราะห์ของโจทก์ที่ 2 โดยเอาจำนวน 10 ปีคูณด้วยเงินเดือนสุดท้าย 4,805 บาท แล้วโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เพียง48,050 บาท เท่านั้น ซึ่งปรากฏว่าจำเลยได้จ่ายเงินสงเคราะห์ให้ไปแล้วเป็นจำนวนถึง 51,299 บาท ซึ่งเกินกว่าสิทธิที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับ การที่ศาลแรงงานกลางนำอายุการทำงานของโจทก์ที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2516 ซึ่งเป็นวันที่โอนมาทำงานกับจำเลยมารวมด้วยเพื่อคำนวณเงินสงเคราะห์ของโจทก์ที่ 2 นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ที่ 2 ในเรื่องเงินสงเคราะห์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินสงเคราะห์จำนวน 15,971บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง”.

Share