คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2540

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คำว่าโตเกียวออฟติคอล ที่จำเลยนำมาใช้จดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้าและโจทก์ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อนี้ตามที่จำเลยที่1จดทะเบียนไว้และให้เพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1นี้เป็นชื่อของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอลจำกัดที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทนี้จดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนบริษัทประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่พ.ศ.2497มีกิจการค้าอยู่ในต่างประเทศหลายแห่งเช่นที่ประเทศสิงคโปร์ เมืองฮ่องกงและไต้หวัน สถานการค้าในต่างประเทศล้วนใช้ชื่อบริษัทที่่ประเทศญี่ปุ่น บางแห่งมีชื่อเมืองที่ตั้งอยู่นั้นต่อท้ายด้วยเช่นบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ฮ่องกง) จำกัดต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดสถานการค้าในประเทศไทยโดยใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นและมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายแล้วนำไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำเลยที่1ตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดทั้งได้ขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษอ่านว่าโตเกียวอ๊อพติคอล(ไทยแลนด์)คัมปะนีลิมิเต็ด โดยมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวญี่ปุ่น 3คนคือจำเลยที่2ถึงที่4ชาวไทย4คนคือจำเลยที่5ถึงที่8หลังจากจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแล้วจำเลยที่1ประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาและโฆษณาชื่อบริษัทนี้ในทางการค้าตลอดมาการค้าของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจำเลยที่1เป็นบริษัทในเครือได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่พ.ศ.2497ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัดเมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526หลายปีการที่จำเลยที่1นำเอาชื่อบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยก็เพราะจำเลยที่1เป็นเครือเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งการจดทะเบียนที่ประเทศไทยมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายจึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่1จงใจลอกเลียนชื่อบริษัทของโจทก์แล้วนำมาจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1จำเลยที่1ได้จดทะเบียนคำว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ประเทศไทย จำกัดโดยสุจริตจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิในการที่จะใช้ชื่อบริษัทนี้โดยชอบโจทก์จะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวและเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1ไม่ได้การกระทำของจำเลยที่1จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยเอาชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1 จำเลยที่1ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้จำเลยที่1จึงมี2ฐานะหากจำเลยที่1จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่่1ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นผู้เป็นตัวการแต่เมื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จำเลยที่1จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้ โจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออฟติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปีต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526ก่อนที่จำเลยที่1จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่18มีนาคม2535ประมาณ9ปีการที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นหลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้วโจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดิมตลอดมาทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นที่รู้จักในทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ10ปีการใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่1โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบจำเลยที่1จึงไม่่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 7พฤศจิกายน 2526 ใช้ชื่อว่า “บริษัทโตเกียวออพติคอล จำกัด” ประกอบกิจการเกี่ยวกับแว่นตาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ จำหน่ายแว่นตาทุกชนิดทุกยี่ห้อและรับจ้างตรวจสายตาประกอบแว่นตาทั่วราชอาณาจักรโจทก์ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รู้จักชื่อโจทก์จนเป็นที่แพร่หลาย ต่อมาวันที่ 18 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยใช้ชื่อว่า “บริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ประเทศไทย) จำกัด” ประกอบธุรกิจซื้อขาย สั่งเข้าและส่งออกกรอบแว่นตา เลนส์ และอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา วัดสายตาประกอบแว่นตา ชื่อของจำเลยที่ 1 ออกเสียพ้องและคล้ายคลึงกับชื่อของโจทก์เป็นการใช้ชื่อเดียวกับของโจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์จำเลยที่ 1 ประสงค์ที่จะลวงให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทเดียวกัน เป็นเหตุให้ชื่อเสียงของโจทก์ได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ขายสินค้าได้น้อยกว่าที่ควรจะขายได้คิดค่าเสียหายวันละ 5,000 บาท ตั้งแต่่วันที่ 18 มีนาคม 2535ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 575,000 บาท นอกจากนี้โจทก์ต้องเสียค่่าใช้จ่่ายในการโฆษณาเมื่อเดือนมีนาคมถึงเดือน พฤษภาคม2535 เพื่อให้ประชาชนทราบว่าบริษัทโจทก์มีเพียงแห่งเดียวเป็นเงิน 21,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 596,000 บาทขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อ “บริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล (ประเทศไทย)จำกัด” และให้เจ้าพนักงานทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อจำเลยที่ 1 ให้จำเลยทั้งแปดร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวน596,000 บาท แก่โจทก์และค่าเสียหายต่อไปในอัตราวันละ5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งแปดจะระงับการใช้ชื่อดังกล่าว
ก่อนยื่นคำให้การ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เรียกนายวิโรจน์สุวรัตนานนท์ กับพวกรวม 7 คน ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทโจทก์เข้าโจทก์ร่วมศาลชั้นต้นอนุญาต
จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 6 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ให้การและแก้ไขคำให้การและจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ถูกต้องตามกฎหมายโดยมีสิทธิใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่นมาก่อนโจทก์เป็นฝ่ายเลียนแบบชื่อของบริษัทในประเทศญี่ปุ่นและของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังได้รับมอบอำนาจจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่นให้ฟ้องและต่อสู้คดีกับผู้ใช้ชื่อบริษัทว่า “โตเกียวอ๊อพติคอล จำกัด” บริษัทโตเกียอ๊อพติคอลจำกัด ในประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเมื่อ พ.ศ. 2497บริษัทดังกล่าวประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตแว่นตาโดยได้ขยายสาขาไปยังต่างประเทศในหลายประเทศ จำเลยที่ 1เป็นเครือของบริษัทในประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 1 ไม่ได้ละเมิดเอาชื่อของโจทก์มาใช้และไม่ได้มีเจตนาลวงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าของโจทก์ ค่าเสียหายถ้าหากมีก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นบริษัทในประเทศญี่ปุ่น ประกอบกิจการจำหน่ายแว่นตามาก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนชื่อบริษัทโจทก์ จำเลยที่ 1 โฆษณากิจการค้าของจำเลยที่ 1ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทถึงเดือนมิถุนายน 2535สิ้นเงินไปจำนวน 460,000 บาท โจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้สิทธิไม่สุจริตด้วยการก่อตั้งบริษัทโจทก์โดยแอบอิงชื่อบริษัทของประเทศญี่ปุ่นและของจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพื่อให้เกิดการหลงผิดว่าแว่นตาของโจทก์เป็นสินค้าที่่มาจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่นหรือมาจากจำเลยที่ 1ขอให้ยกฟ้องโจทก์ และบังคับโจทก์และนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทของโจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันพิพากษา กับขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1มีสิทธิในชื่อบริษัท ชื่อทางการค้าคำว่า โตเกียวออพติคอล หรือโตเกียวอ๊อพติคอล และอักษรโรมันคำว่า TOKYO POTICAL ดีกว่าโจทก์ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายจำนวน 100,460,000 บาท แก่จำเลย และค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องไปอีกวันละ 10,000 บาท จนกว่าโจทก์จะเลิกใช้ชื่อดังกล่าว
โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 1เพิ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายหลังโจทก์ บริษัทโตเกียวอ๊อพติคอลจำกัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่นไม่ได้เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ที่ 1 โจทก์จดทะเบียนโดยสุจริตไม่ได้แอบอ้างใช้ชื่อบริษัทซึ่งจดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น จึงไม่ได้ละเมิดต่อจำเลยที่ 1คาโฆษณาและค่่่าเสียหายไม่มากดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อ “บริษัทโตเกียว อ๊อพติคอล (ประเทศไทย) จำกัด” ให้เพิกถอนการจดทะเบียนชื่อของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว คำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1
โจทก์ โจทก์ร่วม ทั้ง เจ็ด และ จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ เสีย ด้วย
โจทก์ โจทก์ร่วม ทั้ง เจ็ด และ จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงตามที่คู่ความทุกฝ่ายนำสืบรับกันฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลใช้ชื่อว่า บริษัทโตเกียวออพติคอล จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าจำหน่ายแว่นตาและอุปกรณ์เกี่ยวกับแว่นตาตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเชียงใหม่เอกสารหมาย จ.1จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ใช้ชื่อว่า บริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ประเทศไทย) จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาเช่นเดียวกับโจทก์ ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เอกสารหมาย จ.10 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดมีว่า โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดจะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อบริษัทตามที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไว้และเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ และเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ เพียงใดโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดนำสืบว่าโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดเป็นผู้คิดชื่อทางการค้าคำว่า โตเกียวออพติคอล เหตุที่ตั้งชื่อทางการค้านี้เนื่องจากโจทก์ร่วมที่ 1 มีหน้าตาคล้ายชาวญี่ปุ่น เมื่อประกอบกิจการค้าขายแว่นตา จึงนำชื่อเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นมาประกอบกับคำว่าออพติคอล เป็นชื่อทางการค้า โจทก์ค้าขายอยู่หลายปี จนถึงพ.ศ. 2526 โจทก์ทั้งเจ็ดได้นำชื่อนี้ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลังจากนั้นโจทก์ได้โฆษณาชื่อบริษัทของโจทก์พร้อมกับการค้าแว่นตาตลอดมาจนเป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1จดทะเบียนใช้ชื่อบริษัทโจทก์เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 และประกอบกิจการค้าแว่นตาเช่นเดียวกับโจทก์ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจผิดว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 นำสืบว่าชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัด ที่ประเทศ สิงคโปร์ เมืองฮ่องกง ไต้หวัน และเมืองฮอนโนลูลูต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นขยายกิจการค้ามายังประเทศไทยและได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดโดยใช้ชื่อตามชื่อของบริษัทในประเทศญี่ปุ่น และมีคำว่า (ประเทศไทย) ต่อท้าย เห็นว่า คำว่าโตเกียวออพติคอล เป็นชื่อของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัดที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทนี้จดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนบริษัทประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ตามหนังสือรับรองเอกสารหมายล.2 มีกิจการค้าอยู่ในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น ที่ประเทศสิงคโปร์เมืองฮ่องกง และไต้หวัน สถานการค้าในต่างประเทศล้วนใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นบางแห่งมีชื่อเมืองที่ตั้งอยู่นั้นต่อท้ายด้วย เช่น บริษัทโตเกียวออพติคอล (ฮ่องกง)จำกัด ต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดสถานการค้าในประเทศไทยโดยใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นและมีคำว่า (ประเทศไทย) ต่อท้ายแล้วนำไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำเลยที่ 1 ตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดเอกสารหมาย จ.3 ทั้งได้ขอใช้ขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษอ่านว่าโตเกียวอ๊อฟติคอล (ไทยแลนด์) คัมปะนี ลิมิเต็ด ตามหนังสือขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาต่างประเทศเอกสารหมาย จ.4โดยมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวญี่ปุ่น 3 คน คือจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ชาวไทย 4 คน คือจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ตามหนังสือบริคณห์สนธิเอกสารหมาย จ.5 หลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแล้ว จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาและโฆษณาชื่อบริษัทนี้ในทางการค้าตลอดมา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวโดยโจทก์มิได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า การค้าของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่า บริษัทโตเกียวออพติคอลจำกัดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2526 หลายปี การที่จำเลยที่ 1 นำเอาชื่อบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยก็เพราะจำเลยที่ 1 เป็นเครือเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นทั้งการจดทะเบียนที่ประเทศไทยมีคำว่า (ประเทศไทย) ต่อท้าย จึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 จงใจลอกเลียนชื่อบริษัทของโจทก์แล้วนำมาจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนคำว่า บริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล (ประเทศไทย) จำกัดโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิในการที่จะใช้ชื่อบริษัทนี้โดยชอบโจทก์จะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวและเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีสิทธิจะใช้ชื่อบริษัทของจำเลยที่ 1 โดยชอบแล้วการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยเอาชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับค่าเสียหายต่อไป
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 มีว่า มีเหตุจะสั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อบริษัทที่โจทก์จะทะเบียนไว้และโจทก์ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 นับแต่วันฟ้องแย้งหรือไม่ ข้อนี้ปรากฎตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้ จึงเป็นการฟ้องแย้ง2 ฐานะ หากจำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่ 1 ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ดี เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องแย้งในฐานะตนเองด้วย จึงวินิจฉัยปัญญาหานี้ให้ในฐานะจำเลยที่ 1 เป็นผู้ฟ้องแย้งได้ ได้ความจากพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดนำสืบโดยจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า โจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปี ต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2526 ก่่อนที่จำเลยที่ 1จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2535ประมาณ 9 ปี การที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์จึงมีเหตุผลให้เชื่อว่าเป็นเพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้ว โจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดินตลอดมา ทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นทีรู้จักใสทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ 10 ปี การใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้
พิพากษายืน

Share