คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยที่1ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516เพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของส.ที่ถูกเวนคืนให้ส.ทราบเมื่อวันที่22พฤษภาคม2534และได้มีการฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่14กันยายน2535การกำหนดราคาค่าทดแทนเบื้องต้นจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44มีผลใช้บังคับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ดังนั้นการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ส.ของคณะกรรมการฯจึงต้องพิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของส.เป็นการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลมเขตบางรักและแขวงยานนาวาแขวงทุ่งมหาเมฆแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรีเขตยานนาวากรุงเทพมหานครพ.ศ.2516โดยมีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ตำบลสีลมอำเภอบางรัก และตำบลยานนาวาตำบลทุ่งมหาเมฆตำบลทุ่งวัดดอนตำบลช่องนนทรีอำเภอยานนาวา จังหวัดพระนครพ.ศ.2506และพ.ศ.2511ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ.2506สิ้นอายุและได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ.2511ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่16ตุลาคม2511เมื่อพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์พ.ศ.2511คือวันที่16ตุลาคม2511เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ได้ความต่อไปว่าหลังจากที่ได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ.2516ใช้บังคับแล้วผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่1และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่2ก็มิได้ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนให้แก่ส.ในเวลาอันควรและจำเลยที่2เพิ่งจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516และคณะกรรมการดังกล่าวเพิ่งจะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ส.ในปี2531เช่นนี้ย่อมทำให้ส. ได้รับความเสียหายและเป็นระยะเวลาล่วงเลยหลังจากที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516ใช้บังคับแล้วนานเกินสมควรการที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้โดยพิจารณาราคาที่ดินในปีพ.ศ.2511เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นย่อมไม่เป็นธรรมแก่ส.ไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งตอนท้ายและยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2521มาตรา33วรรค3ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของส.ที่ถูกเวนคืนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21วรรคหนึ่ง(1)ถึง(5)จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่รวมทั้งราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี2531ซึ่งเป็นปีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงค์พ.ศ.2516และเป็นปีที่คณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาเงินค่าทดแทนจึงจะเป็นธรรมแก่ส.ผู้ถูกเวนคืน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497มาตรา14และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21ต่างมีเจตนารมณ์ที่จะให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและราคาที่สูงขึ้นนั้นเนื่องมาจากการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้แม้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสี่ซึ่งใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในคดีนี้จะบัญญัติให้การคำนวณอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาและไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการคำนวณราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนก็ตามแต่คณะกรรมการฯย่อมชอบที่จะนำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์2530ทั้งนี้โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมเหตุสมผลและที่วิญญูชนจะพึงพิจารณาทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการได้เปรียบต่อรัฐและมิให้เอกชนเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนบางส่วนได้ประโยชน์เกินสมควรอันไม่เป็นธรรมแก่สังคม การที่จะพิจารณาว่ามีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมดตามโฉนดของส.ที่มีอยู่ในขณะที่การดำเนินการเวนคืนไม่ใช่กรณีเกิดขึ้นภายหลังการเวนคืนแม้ภายหลังส.จะได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยและโอนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่บุตรก็ยังถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่เหลือจากเวนคืนและนำที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนเพื่อตัดถนนและทำระบบระบายน้ำมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรของนางสมร คุณะดิลกโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสมรและในฐานะส่วนตัวจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยที่ 2 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ และแขวงสีลม เขตบางรักและแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลที่ได้รับอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2516 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ และ แขวงสีลมเขตบางรักและแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอนและแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516ที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา (พระโขนง)กรุงเทพมหานคร เป็นของนางสมรที่อยู่ในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชบัญญัติที่ได้สำรวจไว้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ ตำบลสีลม อำเภอบางรักและตำบลยานนาวา ตำบลทุ่งมหาเมฆ ตำบลทุ่งวัดดอน ตำบลช่องนนทรีอำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร พ.ศ. 2506 และ พ.ศ. 2511 วันที่8 สิงหาคม 2529 นางสมร ได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ออกเป็น7 แปลง คือที่ดินตามโฉนดเลขที่ 208276 เนื้อที่ 55 ตารางวาโฉนดเลขที่ 208277 เนื้อที่ 74 ตารางวา โฉนดเลขที่ 208278 เนื้อที่59 ตารางวา โฉนดเลขที่ 208279 เนื้อที่ 44 ตารางวาโฉนดเลขที่208280 เนื้อที่ 81 ตารางวา โฉนดเลขที่ 208281 เนื้อที่ 1 งาน81 ตารางวา และโฉนดเลขที่ 5370 เดิมเหลือเนื้อที่ 87 ตารางวาเฉพาะที่ดินแปลงนี้ประสงค์จะให้เป็นทางเข้าออกของที่ดินแปลงที่แบ่งแยกทุกแปลง ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2529 นางสมรได้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 208276 และ 208279 ให้โจทก์ที่ 2 ครั้นวันที่ 20 ธันวาคม2532 นางสมรถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวายก่อนถึงแก่กรรมได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 208277 และ 208280 ให้โจทก์ที่ 1ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 208278, 208281 และ 5370 ยกให้โจทก์ทั้งสองนายวิกรม คุณะดิลก และนางวิสสมร เรตเบตเตอร์ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนละเท่า ๆ กัน และตั้งให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของนางสมร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2534 จำเลยที่ 1 ได้แจ้งราคาค่าทดแทนและแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ถึงนางสมรว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ถูกเวนคืนเป็นเนื้อที่ 2 งาน 48 ตารางวาคณะกรรมการกำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2516 กำหนดราคาค่าทดแทนตารางวาละ 16,895.16 บาทเป็นเงิน 4,190,000 บาท แต่ปรากฎว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นอันเป็นผลจากการเวนคืนตัดถนน ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ให้นำราคาที่สูงขึ้นมาหักออกจากค่าทดแทน เมื่อคิดคำนวณและหักกลบลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืน และจะเข้าครอบครองที่ดินหลังจากครบกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสมรได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 2ขอค่าทดแทนตารางวาละ 33,333.33 บาท เป็นเงิน 8,266,665.85 บาทที่ดินที่เหลือราคาไม่เกินตารางวาละ 35,000 บาท ราคาที่ดินส่วนที่เหลือสูงขึ้นตารางวาละ 1,666.67 บาท ที่ดินเหลือ 333 ตารางวาเป็นเงินที่สูงขึ้น 555,001.11 บาท หักกลบลบกันกับเงินค่าทดแทนแล้วเป็นเงินจำนวน 7,671,664.73 บาท ปัจจุบันราคาประเมินที่รัฐประกาศใช้ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายในท้องตลาดที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนอยู่ติดซอยเกงชวน ราคาประเมินตารางวาละ 48,000 บาท ถึง 50,000 บาทที่ดินส่วนที่เวนคืนอยู่ติดคลองช่องนนทรีจึงมีราคาตารางวาละ50,000 บาท ถูกเวนคืน 248 ตารางวา จึงเป็นเงินค่าทดแทน12,400,000 บาท ถนนที่จำเลยที่ 3 ว่าจะทำตั้งแต่ปี 2534 จนบัดนี้ยังไม่มีการดำเนินการ ที่คาดว่าที่ดินที่เหลือจะมีราคาสูงขึ้นเป็นการคาดเดามิได้มีการขึ้นราคาจริง หากจะมีการขึ้นราคาก็ต่อเมื่อมีการสร้างถนนเสร็จแล้ว ซึ่งไม่แน่จะใช้เวลากี่ปี และไม่ปรากฎว่าได้มีการซื้อขายที่ดินด้วยราคาสูงขึ้นเพราะเหตุจะมีถนนตัดผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 208276 ถึง 208278 ถูกเวนคืนทั้งแปลง ที่ดินโฉนดเลขที่208281 และ 5370 ที่เหลือจากแบ่งแยกแล้วถูกเวนคืนบางส่วน ที่ดินโฉนดเลขที่ 208279 ของโจทก์ที่ 2 จะไม่ได้รับประโยชน์จากการตัดถนนการแบ่งแยกที่ดินออกไปแปลงย่อยและโอนให้โจทก์กระทำก่อนพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับจึงไม่ต้องด้วยกฎหมายที่จะนำค่าทดแทนหักกันกับค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นโจทก์ขอเรียกค่าทดแทนเป็นเงิน 12,400,000 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2534 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,240,000 บาท ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน13,640,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน12,400,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเงินเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ตำบลช่องนนทรีอำเภอยานนาวา (พระโขนง) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน81 ตารางวา เดิมเป็นของนางสมร คุณะดิลกอยู่ในแนวเขตเวนคืนเพื่อสร้างทางและปรับปรุงระบบระบายน้ำสำหรับกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ และแขวงสีลม เขตบางรักและแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตนานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2516 ซึ่งได้สำรวจไว้ตามพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศใช้ปี 2506และปี 2511 จริง ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม 2529 นางสมรได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ออกเป็นแปลงย่อย 7 แปลงตามที่โจทก์ฟ้อง และวันที่ 1 กันยายน 2529 นางสมรได้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 208276 และ 207279 ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครั้งวันที่20 ธันวาคม 2532 นางสมรถึงแก่กรรม ก่อนถึงแก่กรรมนางสมรได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 208277 และ 208280 ให้แก่โจทก์ที่ 1ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 208278, 208281 และ 5370 ซึ่งเป็นโฉนดที่ดินเดิมที่เหลือจากการแบ่งแปลงย่อยให้แก่โจทก์ทั้งสอง นายวิกรมคุณะดิลก และนางวิสสมร เรตเบตเตอร์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของนางสมร และที่ดินของนางสมรเดิมถูกเวนคืนเนื้อที่ 248 ตารางวา แม้ที่ดินของนางสมรเดิมจะถูกแบ่งเป็นแปลงย่อมแล้ว ก็ยังถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันในขณะถูกเวนคืนจำเลยทั้งสี่กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองตารางวาละ16,895.16 บาท เป็นเงิน 4,190,000 บาท เป็นการกำหนดตามเหตุผลและหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่3 มิถุนายน 2530 แต่คณะกรรมการดังกล่าวยังไม่ได้ลงมติในเรื่องค่าทดแทน ต่อมาพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรักและแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516คณะกรรมการฯได้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ปี 2511 ซึ่งเป็นปีที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกามาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนและนำกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 ประกอบกับมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาใช้ และกำหนดค่าทดแทนใช้เท่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ปี 2531 โดยการกำหนดค่าทดแทนดังกล่าวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบแล้ว ครั้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2534จำเลยที่ 3 แจ้งต่อโจทก์ทั้งสองเพื่อทราบราคาค่าทดแทนและแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ แต่ที่ดินเหลือจากการเวนคืน 333 ตารางวาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสอง ให้นำราคาที่สูงขึ้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนและเมื่อคำนวณหักกลบลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่นางสมรหรือโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2534ขอค่าทดแทนตารางวาละ 33,333.33 บาท เป็นเงิน 8,266,665.84 บาทและที่ดินที่เหลือราคาไม่เกินตารางวาละ 35,000 บาท ราคาที่ดินส่วนที่เกินเพียงตารางวาละ 1,666.67 บาท เมื่อหักกลบลบกันเงินค่าทดแทนเป็นจำนวนเงิน 7,671,664.73 บาท ที่ต้องจ่ายให้โจทก์ การที่คณะกรรมการฯ กำหนดค่าทดแทนโดยใช้ราคาในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ปี 2531 เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองอย่างสูงสุดแล้ว และก่อนที่จะประเมินราคาดังกล่าว กรมที่ดินได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจถึงสภาพทำเลที่ตั้งของที่ดิน ตลอดจนราคาขายตามปกติในท้องตลาด ที่ดินที่เหลือของโจทก์ทั้งสองมีราคาสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการเวนคืนตัดถนนย่อมนำมาหักออกจากเงินค่าทดแทนได้และเมื่อคิดคำนวณหักกลบลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกัน จึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้โจทก์ นอกจากนี้โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนในส่วนที่มิได้อุทธรณ์ไว้ แม้จำเลยทั้งสี่จะแจ้งราคาค่าทดแทนภายหลังการแบ่งแยกโฉนดที่ดินก็มีผลใช้ได้ เพราะถือว่าโจทก์ทั้งสองทราบถึงการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ดังกล่าวแล้วจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ได้ การเวนคืนที่ดินโจทก์ทั้งสองเพื่อสร้างถนนสาธารณประโยชน์ย่อมเป็นประโยชน์แก่ที่ดินใกล้เคียงทั่วไป และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ใช้บังคับแก่ที่ดินโจทก์ทั้งสองได้ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้โดยคู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ตำบลช่องนนทรีอำเภอยานาวา (พระโขนง) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 581 ตารางวาเดิมเป็นของนางสมร คุณะดิลก โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรของนางสมรปี 2506 ได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก และตำบลยานนาวา ตำบลทุ่งมหาเมฆ ตำบลทุ่งวัดดอน ตำบลช่องนนทรีอำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร พ.ศ. 2506 ให้อธิบดีกรมโยธาธิการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์รัฐมนตรีว่าด้วยการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีอายุ 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทางและระบบระบายน้ำแต่อธิบดีกรมโยธาธิการสำรวจไม่แล้วเสร็จภายในเวลาตามอายุของพระราชกฤษฎีกาจึงมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ. 2511 เป็นฉบับที่ 2 เมื่ออธิบดีกรมโยธาธิการสำรวจจอสังหาริมทรัพย์ที่จะเวนคืนเสร็จแล้ว ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน แขวงช่องนนทรีเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516 โดยมีแผนที่และรายชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนดังกล่าวที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ของนางสมร คุณะดิลก อยู่ในเขตเวนคืนและถูกเวนคืนด้วย จำนวน 248 ตารางวา ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2529ทางราชการได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ออกเป็นแบ่งย่อย 7 แปลงตามคำขอของนางสมร คือที่ดินโฉนดเลขที่ 208276 เนื้อที่ 55 ตารางวาโฉนดเลขที่ 208277 เนื้อที่ 74 ตารางวา โฉนดเลขทีี่ 208278เนื้อที่ 59 ตารางวา โฉนดเลขที่ 208279 เนื้อที่ 44 ตารางวาโฉนดเลขที่ 208280 เนื้อที่ 81 ตารางวา โฉนดเลขที่ 208281เนื้อที่ 1 งาน 81 ตารางวา และโฉนดเลขที่ 5370 เดิมคงเหลือเนื้อที่ 87 ตารางวา สำหรับเป็นทางเข้าออกของที่ดินที่แบ่งแยกออกไปในวันเดียวกันนี้นางสมรยกที่ดินโฉนดเลขที่ 208276 และ 208279ให้แก่ประกาศกระทรวงที่ 2 และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่208277 และ 208280 ให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ดินโฉนดเลขที่ 208278,208281 และโฉนดเลขที่ 5370 ที่เหลือจากการแบ่งแยกให้แก่โจทก์ทั้งสอง นายวิกรม คุณะดิลก และนางวิสสมร เรตเบตเตอร์คนละส่วนเท่า ๆ กัน นางสมรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2532โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของนางสมรตามคำสั่งศาลชั้นต้นและได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 208277 และ 208280เป็นของโจทก์ที่ 1 ตามพินัยกรรม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 208278, 208281 และ 5370 ยังไม่มีการจดทะเบียนเป็นชื่อของผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม จากการเวนคืนที่ดินโฉนดเลขที่5370 ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 ปรากฎว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 208276, 208277 และ 208278ถูกเวนคืนทั้งแปลงส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 เดิมที่เหลือจากการแบ่งแยกแล้วถูกเวนคืนบางส่วนในปี 2530 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศแต่งตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางและปรับปรุงระบบระบายน้ำตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ทำหน้าที่กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาในปีเดียวกันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทำให้กรรมการที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศแต่งตั้งสิ้นสภาพไปรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 คณะกรรมการฯ ได้ประชุมกำหนดหลักเกณฑ์ค่าทดแทนและออกไปสำรวจทำเลที่ตั้งที่ดินที่เวนคืนทุกแปลงแล้วเสนอขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีหลักเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2511 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนและเพิ่มค่าทดแทนให้เท่ากับราคาประเมินปี 2531 รวมทั้งให้นำมาตรา 21 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เกี่ยวกับการหักกลบค่าที่ดินที่เหลือที่มีราคาสูงขึ้นกับค่าทดแทนที่จะได้รับมาใช้บังคับ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 5370ของนางสมร คณะกรรมการฯ ได้กำหนดค่าทดแทนให้โดยแบ่งที่ดินในระยะ 20 เมตร ถัดจากซอยเกงชวนเนื้อที่ ตารางวา ราคาตารางวาละ20,000 บาท เป็นเงิน 3,420,000 บาท ส่วนที่เหลือในระยะ 20 เมตรมีเนื้อที่ 77 ตารางวา ตารางวาละ 10,000 บาท เป็นเงิน 770,000 บาทรวมเป็นเงิน 4,190,000 บาท เป็นราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเฉลี่ยตารางวาละ 16,895.16 บาท และคณะกรรมการฯ เห็นว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนเนื้อที่ 333 ตารางวา จะมีราคาสูงขึ้นจึงให้นำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือมาหักออกจากค่าทดแทนที่นางสมรจะได้รับโดยคำนวณค่าความเจริญของที่ดินถนนจันทน์ตัดใหม่มาเปรียบเทียบสำหรับที่ดินในระยะ 20 เมตรจากถนนจันทน์ตัดใหม่ ราคาตารางวาละ 40,000 บาท คำนวณค่าที่ดินที่สูงขึ้นหรือค่าความเจริญเป็นเงิน 11,980,000 บาท เมื่อหักกลบกันแล้วค่าความเจริญมากกว่าค่าทดแทนจึงเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน และได้มีหนังสือของจำเลยที่ 1 แจ้งให้นางสมรเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ที่ถูกเวนคืนทราบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2534โจทก์ทั้งสองเห็นว่าไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมจึงไม่ยอมรับและได้ทำหนังสืออุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 19กรกฎาคม 2534 โดยขอค่าทดแทนตารางวาละ 33,333.33 บาท เป็นเงิน8,266,665.84 บาท ส่วนที่ดินที่เหลือราคาไม่ควรเกินตารางวาละ35,000 บาท ราคาที่ดินส่วนที่เหลือสูงขึ้นตารางวาละ 1,666.67 บาทที่ดินที่เหลือ 333 ตารางวา เป็นราคาที่สูงขึ้น 555,001.11 บาทหักกลบลบกันเงินค่าทดแทนแล้วเป็นเงินจำนวน ค่าทดแทนที่จะต้องชำระ7,671,664.73 บาท แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เป็นประการแรกว่าเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการฯกำหนดสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 5370ของนางสมร คุณะดิลก ที่ถูเวนคืน เนื้อที่ 248 ตารางวา เหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่พิเคราะห์แล้ว ที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา (พระโขนง) กรุงเทพมหานคร ของนางสมร คุณะดิลก เนื้อที่ 581 ตารางวา ซึ่งถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 เนื้อที่ 248 ตารางวา แต่ยังมิได้มีการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่นางสมรเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจนกระทั่งถึงปี 2531 ซึ่งเป็นปีที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของนางสมรที่ถูกเวนคืนและมีหนังสือแจ้งให้นางสมรทราบเมื่อวันที่22 พฤษภาคม 2534 อันเป็นเวลาหลังที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับแล้ว เห็นว่า แม้ในขณะที่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ของนางสมรถูกเวนคืน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497มีผลใช้บังคับอยู่ แต่ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกและได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับแทน ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 36 วรรคสอง บัญญัติให้การเวนคืนและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งในประกาศฉบับดังกล่าวข้อ 5วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่ และวรรคห้า… แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย” สำหรับการเวนคืนที่ดินของนางสมรที่ดินโฉนดเลขที่5370 ในคดีนี้ปรากฎว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 เพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของนางสมรที่ถูกเวนคืนให้นางสมรทราบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2534 และได้มีการฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2535 การกำหนดราคาค่าทดแทนเบื้องต้นจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของนางสมรที่ถูกเวนคืนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 44ซึ่งมาตรา 21 บัญญัติว่า “เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 นั้น ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะแล้วให้กำหนดโดยคำนึงถึง
(1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6
(2) ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่
(3) ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
(4) สภาพ และ ที่ ตั้ง ของ อสังหาริมทรัพย์ นั้น และ
(5) เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม”ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่นางสมรของคณะกรรมการฯ จึงต้องพิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ดังกล่าวมิใช่กำหนดค่าทดแทนเป็นการชดเชยความเสียหายที่ผู้ถูกเวนคืนได้รับตามอำเภอใจหรือกำหนดค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินแต่เพียงประการเดียวสำหรับหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้น มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 14บัญญัติว่า “เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่เจ้าของตามมาตรา 11 นั้น ถ้าไม่บัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดเป็นเฉพาะแล้ว ให้กำหนดราคาทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับตามพระราชกฤษฎีกาตามความในมาตรา 6” แสดงว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับดังกล่าวมีหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนทำนองเดียวกันคือ ถ้าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มิได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้โดยเฉพาะต้องกำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา คดีนี้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของนางสมรที่ดินโฉนดเลขที่ 5370 ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา (พระโขนง)กรุงเทพมหานคร เป็นการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวาแขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516 โดยมีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ ตำบลสีลม อำเภอบางรักและตำบลยานนาวา ตำบลทุ่งมหาเมฆ ตำบลทุ่งวัดดอน ตำบลช่องนนทรีอำเภอยานนาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2506 และ พ.ศ. 2511ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ. 2506 สิ้นอายุและได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์พ.ศ. 2511 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 16 ตุลาคม 2511 เมื่อพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ. 2511คือวันที่ 16 ตุลาคม 2511 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ข้อเท็จจริงได้ความต่อไปว่า หลังจากที่ได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนให้แก่นางสมรในเวลาอันควรและจำเลยที่ 2 เพิ่งจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 และคณะกรรมการดังกล่าวเพิ่งจะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่นางสมรในปี 2531 เช่นนี้ ย่อมทำให้นางสมรได้รับความเสียหายและเป็นระยะเวลาล่วงเลยหลักจากที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ใช้บังคับแล้วนานเกินสมควร การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่นางสมรโดยพิจารณาราคาที่ดินในปี พ.ศ. 2511 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นย่อมไม่เป็นธรรมแก่นางสมร ไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่งตอนท้ายที่ว่า “ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแต่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม” อันเป็นหลักการสำคัญในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน และยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรค 3 ที่ใช้บังคับในขณะที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 พิจารณากำหนดค่าทดแทน ซึ่งมีหลักการสำคัญว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควร ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของนางสมรที่ถูกเวนคืนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่รวมทั้งราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น ในปี 2531 ซึ่งเป็นปีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 และเป็นปีที่คณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาเงินค่าทดแทน จึงจะเป็นธรรมแก่นางสมรผู้ถูกเวนคืน ตรงกับหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ดังนั้นการที่คณะกรรมการฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่นางสมรโดยพิจารณาจากราคาที่ดินในปี 2531 จึงเป็นการถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เป็นประการที่สองว่าคณะกรรมการกำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 และจำเลยที่ 1 มีสิทธินำราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนมาหักกับเงินค่าทดแทนได้ในจำนวนเท่าใดหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุริวงศ์พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนได้กระทำให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษในขณะนั้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน แต่ไม่ให้ถือว่าราคาทรัพย์สินที่ทวีขึ้นนั้นสูงไปกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนเพื่อจะให้เจ้าของทรัพย์สินต้องกลับใช้เงินให้อีก”และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่า “ถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนได้กระทำอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน แต่ไม่ให้ถือว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีขึ้นนั้นสูงไปกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนเพื่อจะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายกลับต้องใช้เงินให้อีก”และในมาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า “การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา” แสดงว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับต่างมีเจตนารมณ์ที่จะให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและราคาที่สูงขึ้นนั้นเนื่องมาจากการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนได้รับประโยชน์เกินกว่าที่ควรจะได้ แม้พระราชบัญญัติว่าด้วยกา

Share