แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐาน ลักทรัพย์หรือ รับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์ยกฟ้องฐานรับของโจรจำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ฎีกาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรดังนี้แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจะต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรก็ไม่ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลล่างทั้งสองก็ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วเพียงแต่ปรับบทฐานความผิดต่างกันเท่านั้นศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐาน รับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามไม่ถือว่าพิพากษาเกินคำขอ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,335, 357
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน ใช้ ให้ ผู้อื่นกระทำ ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(8)ประกอบ มาตรา 84 ยกฟ้อง ฐาน รับของโจร
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พยานหลักฐาน โจทก์ ที่ สืบ มา ฟัง ไม่ได้ ว่าจำเลย เป็น ผู้ใช้ ให้ นาย วีรวัฒน์ กระทำผิด ฐาน ลักทรัพย์ ของ ผู้เสียหาย ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น แต่ ได้ความ จาก นาย วีรวัฒน์ เบิกความ ว่า จำเลย เคย สอบถาม นาย วีรวัฒน์ ว่า มี พระไหม ให้ ไป เอา ของ ผู้เสียหาย มา จะ นำ ไป ขาย ให้ และ ที่ จำเลย พา นาย วีรวัฒน์ ไป พบ นาย สุพจน์ และ ให้ นาย สุพจน์ นำ พระเครื่อง เลี่ยม ทองคำ 2 องค์ ที่ จำเลย ลัก มา ไป ขาย อีก ทั้ง จำเลย เป็น ผู้รับเงิน จาก นาย สุพจน์ จำนวน 5,000 บาท แทน นาย วีรวัฒน์ ซึ่ง ใน เวลา ต่อมา จำเลย ก็ นำ เงิน จำนวน นี้ ไป ให้ แก่ นาย วีรวัฒน์ จึง เป็น การ ช่วย จำหน่าย ช่วย พา เอาไป เสีย โดย รู้ ว่า พระเครื่อง เลี่ยม ทองคำ ดังกล่าว เป็น ทรัพย์ ซึ่ง ได้ มาจาก การกระทำความผิด ฐาน ลักทรัพย์ การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็น ความผิด ฐาน รับของโจรมี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ประการ สุดท้าย ว่า ศาลฎีกา จะ พิพากษา ลงโทษจำเลย ฐาน รับของโจร ได้ หรือไม่ ปัญหา ดังกล่าว ศาลฎีกา โดย มติ ที่ที่ ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้ ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ที่ ปรากฏ ใน การ พิจารณาจะ ต่างกัน ระหว่าง การกระทำ ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ และ รับของโจร ก็ก็ ไม่ ถือว่า ต่างกัน ใน ข้อ สาระสำคัญ และ จำเลย ก็ มิได้ หลงต่อสู้ทั้ง ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ศาลล่าง ทั้ง สอง ก็ ได้ ยกขึ้น ว่ากล่าว กันมา แล้ว เพียงแต่ ปรับ บท ฐาน ความผิด ต่างกัน เท่านั้น ศาลฎีกา มีอำนาจลงโทษ จำเลย ใน ความผิด ฐาน รับของโจร ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ได้ความ ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามไม่ ถือว่า พิพากษา เกินคำขอ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายก ฟ้อง นั้นศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ”
พิพากษากลับ ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน รับของโจร ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 วรรคหนึ่ง จำเลย อายุ ไม่เกิน 17 ปี ลด มาตรา ส่วน โทษให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ให้ จำคุก 9 เดือนคำเบิกความ ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา อยู่ บ้างมีเหตุ บรรเทา โทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษ ให้ อีกหนึ่ง ใน สาม คง จำคุก 6 เดือน จำเลย เป็น นักเรียน และ ไม่ ปรากฎ ว่าเคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน อีก ทั้ง จำเลย ไม่ได้ ประโยชน์ จาก การกระทำความผิด เห็นสมควร ให้ โอกาส จำเลย ได้ กลับ ประพฤติ ตน เป็น คนดี ต่อไปจึง ให้ รอการลงโทษ จำคุก ให้ แก่ จำเลย ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ข้อหา และ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก