คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน บ้านพร้อมที่ดินที่จะซื้อขายเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ ส. ได้มาในระหว่างสมรสกับ บ. จึงเป็นสินสมรสจำเลยที่2ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินจาก ส. โดย บ.ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาเมื่อจำเลยที่2ออกเช็คพิพาทให้แก่ บ.เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำตามข้อตกลง บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทการที่จำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส. มีสิทธิที่จะริบเงินมัดจำตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายเช็คพิพาทที่ออกเพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำบ้านพร้อมที่ดินจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย บ. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน บ. จึงเป็นผู้เสียหาย ฟ้องโจทก์ระบุว่าผู้เสียหายเป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีแต่ทางพิจารณาได้ความว่าภริยาจำเลยที่2เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีผู้เสียหายก็เป็นเพียงการฝากเช็คให้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินถือว่าภริยาจำเลยที่2เป็นตัวแทนผู้เสียหายข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังกล่าวในฟ้องไม่ใช่ในข้อสาระสำคัญและมิได้ทำให้จำเลยที่2หลงต่อสู้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ออก เช็ค ใน นาม ของจำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย และ ประทับตรา สำคัญของ จำเลย ที่ 1 มอบ ให้ นาง สุมณฑา วัฒนสินธุ์ เพื่อ ชำระหนี้ ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย นาย บัญชา วัฒนสินธุ์ ผู้เสียหาย ซึ่ง เป็น สามี ของ นาง สุมณฑา ได้ นำ เช็ค ดังกล่าว ไป เข้าบัญชี ปรากฏว่า ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน การกระทำ ของจำเลย ทั้ง สอง เป็น การ ออก เช็ค โดย เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ มี การ ใช้ เงินตามเช็ค และ ออก เช็ค ให้ ใช้ เงิน มี จำนวน สูง กว่า จำนวนเงิน ที่ มี อยู่ใน บัญชี อัน จะ พึง ให้ ใช้ เงินได้ ใน ขณะที่ ออก เช็ค ขอให้ ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฎิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ให้ ปรับจำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 20,000 บาท จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 3 เดือนไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน จึง ให้ เปลี่ยน โทษจำคุก เป็น กักขัง แทน มี กำหนด 3 เดือน ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ และ ขอให้ รอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง จำเลย ที่ 1นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 2 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ในคำพิพากษา ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย นั้นใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกา จะ ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตามที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ปัญหา ว่า นาย บัญชา เป็น ผู้เสียหาย หรือไม่ เห็นว่า บ้าน พร้อม ที่ดิน ที่ จะซื้อขาย เป็นทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภริยา ที่นาง สุมณฑา ได้ มา ระหว่าง สมรส กับ นาย บัญชา จึง เป็น สินสมรส จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญา จะซื้อ บ้าน พร้อม ที่ดิน นั้น จาก นาง สุมณฑา โดย นาย บัญชา ลงลายมือชื่อ เป็น พยาน ใน สัญญา รู้เห็น ยินยอม ด้วย อันเป็น การกระทำ แทน ซึ่ง กัน และ กัน เมื่อจำเลย ที่ 2 ออก เช็คพิพาท ให้ แก่ นาย บัญชา เพื่อ ชำระหนี้ ค่า มัดจำ ตาม ข้อตกลง นาย บัญชา จึง เป็น ผู้ทรงเช็ค พิพาท การ ที่ จำเลย ที่ 2เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา นาย สุมณฑา มีสิทธิ ที่ จะ ริบ เงินมัดจำ ตาม หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 1 เช็คพิพาท ที่ จำเลย ที่ 2 ออก ให้เพื่อ ชำระหนี้ ค่า มัดจำ บ้าน พร้อม ที่ดิน ดังกล่าว จึง เป็น การ ออก เช็คเพื่อ ชำระหนี้ ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย นาย บัญชา เป็น ผู้ ทรงเช็ค พิพาท ใน วันที่ ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน อันเป็นวันเกิดเหตุ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 นาย บัญชา จึง เป็น ผู้เสียหาย
ปัญหา ว่า ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน ทางพิจารณา แตกต่างกับ ข้อเท็จจริง ดัง ที่ กล่าว ใน ฟ้อง หรือไม่ ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ ระบุ ว่า นาย บัญชา ผู้เสียหาย เป็น ผู้นำ เช็คพิพาท ไป เข้าบัญชี ผู้เสียหาย แต่ ทางพิจารณา ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 2มอบ เช็คพิพาท ให้ ภริยา จำเลย ที่ 2 นำ ไป เข้าบัญชี ผู้เสียหาย นั้นเห็นว่า แม้ ทางพิจารณา จะ ได้ความ ว่า ภริยา จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้นำ เช็คพิพาท ไป เข้าบัญชี ของ ผู้เสียหาย ก็ เป็น เพียง การ ฝาก เช็ค ให้ นำเข้าบัญชี เพื่อ เรียกเก็บเงิน ถือว่า ภริยา จำเลย ที่ 2 เป็น ตัวแทน ของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฎ ใน ทางพิจารณา แตกต่าง กับข้อเท็จจริง ดังกล่าว ใน ฟ้อง จึง มิใช่ ใน ข้อ สาระสำคัญ และ จำเลย ที่ 2มิได้ หลงต่อสู้ แต่อย่างใด
พิพากษาแก้ ว่า ให้ ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 3 เดือนและ ปรับ 20,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็นไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share