คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์การที่จำเลยอ้างส่งเอกสารเป็นพยานแล้วศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวจึงไม่ชอบ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา ว่า จำเลยขับ รถ ด้วย ความ เร็ว สูง แซง รถจักรยานยนต์ โจทก์ ด้านซ้าย แล้ว เลี้ยว ขวาตัด หน้า รถจักรยานยนต์ โจทก์ ใน ระยะ กระชั้นชิด เพื่อ กลับ รถ เป็นเหตุ ให้รถจักรยานยนต์ โจทก์ เฉี่ยว ชน รถยนต์ จำเลย ได้รับ ความเสียหายโจทก์ รับ อันตรายสาหัส ขอให้ บังคับ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 562,764บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วัน ทำละเมิด จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์
โจทก์ อุทธรณ์ โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ที่ โจทก์ ฎีกา ข้อกฎหมาย ว่าจำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ จำเลย จึง มีสิทธิ เพียง สาบานตน ให้การเป็น พยาน และ ถาม ค้านพยาน โจทก์ เท่านั้น จำเลย ไม่อาจ นำพยาน หลักฐานอื่น ใด ของ จำเลย เข้าสืบ ได้ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ รับฟัง แผนที่ สังเขปแสดง สถานที่เกิดเหตุ เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 ที่ จำเลย อ้าง ส่งเป็น พยานหลักฐาน แล้ว นำ มา ประกอบการ พิจารณา พิพากษา เป็น การ ไม่ชอบ นั้นเห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองเมื่อ ศาล สั่ง ว่า จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ จำเลย มีสิทธิ เพียง อ้าง ตนเองเป็น พยาน กับ ซักค้าน พยานโจทก์ ได้ เท่านั้น การ ที่ จำเลย อ้าง ส่งเอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 เป็น พยาน แล้ว ศาลอุทธรณ์ รับฟัง พยานหลักฐานดังกล่าว ของ จำเลย จึง ไม่ชอบ ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังขึ้น
คดี มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ว่า จำเลย ขับ รถยนต์ โดยประมาทเลินเล่อ ชน รถจักรยานยนต์ ของ โจทก์ หรือไม่ จาก คำเบิกความ ของ โจทก์ได้ความ ว่า ก่อน เกิดเหตุ โจทก์ ขับ รถจักรยานยนต์ ไป ตาม ถนน เทพารักษ์ จาก อำเภอ สำโรง มุ่งหน้า ไป ทาง อำเภอ บางพลี เมื่อ เลย สี่แยก เทพารักษ์ ไป แล้ว โจทก์ ขับ รถจักรยานยนต์ ชิด ซ้าย ตรง ไป เรื่อย ๆ บริเวณ นั้น มี เกาะกลางถนน และ มี ช่อง เดินรถ ด้าน ละ 2 ช่อง ครั้น โจทก์ขับ รถจักรยานยนต์ มา ถึง ทางเบี่ยง จะ เข้า ทาง ร่วม ซึ่ง เป็น บริเวณ สิ้นสุดเกาะกลางถนน จำเลย ขับ รถ ตาม หลัง มา และ แซง รถจักรยานยนต์ โจทก์ทาง ซ้าย ขึ้น ไป แล้ว เลี้ยว ขวา ตัด หน้า รถจักรยานยนต์ โจทก์ โดย ไม่ให้สัญญาณ เป็นเหตุ ให้ รถ ชนกัน ขึ้น เห็นว่า คำเบิกความ ของ โจทก์ ดังกล่าวขัด ต่อ เหตุผล เพราะ ถ้า โจทก์ ขับ รถจักรยานยนต์ ชิด ซ้าย ของ ช่อง เดินรถแล้ว จำเลย ขับ รถ แซง รถจักรยานยนต์ ของ โจทก์ จำเลย จะ ต้อง แซง ขึ้นทาง ด้านขวา เมื่อ จำเลย เลี้ยว รถ ไป ทาง ด้านขวา รถยนต์ จำเลย ก็ ไม่อาจจะ ชน รถจักรยานยนต์ โจทก์ ได้ จาก คำเบิกความ ของ จำเลย ได้ความ ว่าก่อน เกิดเหตุ จำเลย ขับ รถ มา ตาม ถนน ศรีนครินทร์ จาก บางกะปิ มุ่งหน้า มา ทาง จังหวัด สมุทรปราการ เพิ่ง มา ถึง สี่แยก เทพารักษ์ จำเลย เลี้ยว ซ้าย มุ่งหน้า ไป ทาง อำเภอ บางพลี เพื่อ จะ กลับ รถ ตรง บริเวณ สิ้นสุด เกาะกลางถนน ครั้น มา ถึง ที่เกิดเหตุ ซึ่ง เป็น บริเวณสุด เกาะกลางถนน จำเลย ก็ เลี้ยว ขวาก ลับ รถ และ เมื่อ รถ เลี้ยว เลยหัว เกาะกลางถนน ไป แล้ว มี โจทก์ ขับ รถจักรยานยนต์ ย้อน ช่อง เดินรถมา ชน รถยนต์ จำเลย ที่ ประตู ด้านขวา รถยนต์ จำเลย เสีย หลัก แล่น ขึ้น ไปอยู่ บน ไหล่ ถนน ด้านซ้าย คำเบิกความ ของ จำเลย ดังกล่าว พิจารณา แล้วเห็นว่า ถ้า ขับ รถ มุ่งหน้า จาก สี่แยก เทพารักษ์ ไป ทาง อำเภอ บางพลี จุด ที่ รถ ชนกัน น่า จะ อยู่ ใน ช่อง เดินรถ ด้านขวา ตรง บริเวณ สิ้นสุดเกาะกลางถนน รถยนต์ จำเลย ถูก ชน ตรง ประตู ขวา บริเวณ ที่นั่ง คนขับเมื่อ รถยนต์ จำเลย เลี้ยว ขวาก ลับ มา จึง ถูก ชน ใน บริเวณ ช่อง เดินรถด้านขวา ตาม ที่ จำเลย เบิกความ ดังนั้น หาก โจทก์ ไม่ ขับ รถจักรยานยนต์ย้อน ช่อง เดินรถ เข้า ไป ชน รถยนต์ จำเลย แล้ว รถ ทั้ง สอง คัน ก็ ไม่อาจ ชนกันตรง บริเวณ ที่เกิดเหตุ ได้ และ เมื่อ พิจารณา สภาพ รถ ทั้ง สอง คัน หลังจากชนกัน ตาม ภาพถ่าย หมายเลข จ. 7 และ จ. 12 แล้ว ปรากฏว่า รถจักรยานยนต์โจทก์ พัง ยับเยิน ส่วน รถยนต์ จำเลย ประตู บุบ ยุบ เข้า ไป ด้าน ใน กระจก หน้าแตก หมด แสดง ว่า โจทก์ ขับ รถ ย้อน ช่อง เดินรถ เข้า ไป ด้วย ความ เร็ว สูงเพื่อ จะ ให้ รถจักรยานยนต์ ของ ตน เข้า ไป อยู่ ใน ช่อง เดินรถ ด้านซ้ายจึง เป็นเหตุ ให้ รถ ทั้ง สอง คัน ชนกัน ขึ้น และ เหตุ ดังกล่าว เกิดจาก การขับ รถ ด้วย ความประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง ของ โจทก์ หาใช่ เกิดจากความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ไม่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา นั้น ชอบแล้วฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share