แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่15กรกฎาคม2521ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายน2515ข้อ78และข้อ79บัญญัติว่าให้ใช้ได้มีกำหนด10ปีแม้ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ฉบับที่2พ.ศ.2530ใช้บังคับซึ่งมาตรา7ให้ยกเลิกความในส่วนที่3ข้อ63ถึง80แล้วก็ตามแต่ในมาตรา9วรรคหนึ่งบัญญัติว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างและประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนซึ่งออกโดยอาศัยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515ให้คงใช้บังคับได้ตามอายุของพระราชกฤษฎีกานั้นและวรรคสองของมาตรานี้บัญญัติทำนองเดียวกับมาตรา36วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นอันใช้ได้แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ดังนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่14กรกฎาคม2531เมื่อปรากฏว่าภายในระยะเวลาดังกล่าวจำเลยได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจะเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงและได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินต่อสำนักงานวางทรัพย์ฯเพื่อให้โจทก์รับเงินไปอันเป็นการดำเนินการภายในอายุพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจำเลยจึงมีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา13วรรคสองและวรรคสาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา20วรรคหนึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลือน้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะให้ทำประโยชน์ต่อไปโดยกำหนดให้เจ้าของที่ดินร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อนเมื่อเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้แนะนำให้โจทก์ไปร้องขอต่อเจ้าหน้าที่แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามคำแนะนำดังกล่าวเมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายจึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนในส่วนนี้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่14467 อยู่ ใน เขต เวนคืน ตาม พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะสร้าง ทางหลวง จังหวัด สาย ชลบุรี -บ้าน บึง -หนอง ซาก -ป่า ยุบ -ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 331-อำเภอ แกลง ตอน บ้าน บึง -หนอง ซาก -ป่า ยุบ -ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 331-อำเภอ แกลง พ.ศ. 2521 ต่อมา วันที่ 21 กรกฎาคม2531 นาย ช่าง แขวง การ ทาง ชลบุรี ได้ มี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ ไป รับ เงินค่าทดแทน ที่ดิน ที่ ถูก เวนคืน จาก สำนักงาน วางทรัพย์ ภูมิภาค ที่ 2เป็น เงิน 6,300 บาท โจทก์ ไม่ ตกลง ด้วย จึง ยัง ไม่รับ เงิน ทั้ง การ เวนคืนจำเลย มิได้ กระทำ ภายใน ระยะเวลา ที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนวทางหลวง ฯ ใช้ บังคับ จึง ไม่อาจ อ้าง อำนาจ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ มา ใช้ บังคับ เวนคืน ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างของ โจทก์ ได้ การ กำหนด ค่าทดแทน ยัง ไม่ถูกต้อง ขอให้ พิพากษาเพิกถอน การ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ ของ โจทก์ หาก เพิกถอน ไม่ได้ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าทดแทน ที่ดิน เป็น เงิน 250,000 บาท ค่าทดแทนการ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ค่า ขนย้าย และ ค่าเสียหาย เป็น เงิน1,900,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 11.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงินค่าทดแทน ที่ดิน ที่ โจทก์ จะ ได้รับ เพิ่มขึ้น จาก เงิน ที่ จำเลย นำ ไป วาง ไว้ณ สำนักงาน วางทรัพย์ นับแต่ วันที่ 21 กรกฎาคม 2531 จนกว่า จำเลย จะชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ อยู่ ใน แนวเขต ทางหลวง ที่ ถูกเวนคืน ตาม พระราชกฤษฎีกา อธิบดี กรมทางหลวง ได้ ให้ เจ้าหน้าที่กระทำการ ตาม หน้าที่ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจ ขอให้ เพิกถอน การ เวนคืนดังกล่าว ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าทดแทน ที่ดินแก่ โจทก์ เป็น เงิน 94,500 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 88,200 บาท ที่ โจทก์ จะ ได้รับ เพิ่มขึ้น จาก ค่าทดแทนที่ จำเลย นำ ไป วาง ไว้ ที่ สำนักงาน วางทรัพย์ ภูมิภาค ที่ 2 นับแต่ วันที่21 กรกฎาคม 2531 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 11.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 88,200 บาท นับแต่ วันที่ 13 กรกฎาคม2531 เป็นต้น ไป นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ฎีกา ข้อ แรก ว่า จำเลย ไม่ได้ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ของ โจทก์ ภายใน ระยะเวลา ที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนว ทางหลวง ฯ ใช้ บังคับ จำเลย แจ้ง การ เวนคืน ตาม เอกสาร หมาย จ. 4อันเป็น เวลา หลังจาก ที่ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ประกาศ ใช้ บังคับ แล้ว จึง เกิน 4 ปี ตาม มาตรา 6 ของพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จำเลย จึง ไม่อาจ อ้าง เอา อำนาจ ตามพระราชกฤษฎีกา มา เวนคืน ที่ โจทก์ ได้ เห็นว่า พระราชกฤษฎีกากำหนด แนว ทางหลวง ฯ ซึ่ง ประกาศ ใช้ ใน วันที่ 14 กรกฎาคม 2521 มีผลใช้ บังคับ ใน วันที่ 15 กรกฎาคม 2521 ตาม เอกสาร หมาย ล. 2 และพระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ดังกล่าว ออก โดย อาศัย อำนาจตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 78 และ ตาม ข้อ 79 ของ ประกาศของคณะปฏิวัติ ดังกล่าว บัญญัติ เรื่องพระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ไว้ ว่า ให้ ใช้ ได้ มี กำหนด 10 ปีแม้ ต่อมา ได้ มี พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530ใช้ บังคับ ซึ่ง มาตรา 7 ให้ยก เลิก ความใน ส่วน ที่ 3 การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อ สร้าง หรือ ขยาย ทางหลวง ข้อ 63 ถึง ข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 แล้ว ก็ ตาม แต่ มาตรา 9 วรรคหนึ่งบัญญัติ ว่า พระราชกฤษฎีกา กำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืนพระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง และ ประกาศกระทรวง คมนาคมกำหนด ทางหลวง ที่ มี ความจำเป็น ต้อง สร้าง โดย เร่งด่วน ซึ่ง ออก โดยอาศัย อำนาจ ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ให้ คง ใช้ บังคับ ได้ ตาม อายุ ของ พระราชกฤษฎีกานั้น และ วรรคสอง ของ มาตรา นี้ บัญญัติ ทำนอง เดียว กัน กับ มาตรา 36 วรรคสองแห่ง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ว่าการ เวนคืน และ การ ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย ว่าด้วย ทางหลวง ที่ ได้ ปฏิบัติไป แล้ว ก่อน วัน ใช้ บังคับ พระราชบัญญัติ นี้ ให้ เป็น อัน ใช้ ได้ แต่ การดำเนินการ ต่อไป ให้ ดำเนินการ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ดังนั้น พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวงดังกล่าว จึง มีผล ใช้ บังคับ จน ถึง วันที่ 14 กรกฎาคม 2531 ทั้ง ปรากฏว่าวันที่ 10 พฤษภาคม 2531 จำเลย มี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ แล้ว ว่าจะ เข้า ครอบครอง หรือ ใช้ อสังหาริมทรัพย์ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้างขนย้าย ทรัพย์สิน หรือ ดำเนินการ ใด ๆ เกี่ยวกับ กิจการ ที่ จะ ต้อง มี การเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อ สร้าง หรือ ขยาย ทางหลวง ที่อยู่ ใน เขตตาม พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ฯ ตาม เอกสาร หมาย จ. 4และ ต่อมา วันที่ 13 กรกฎาคม 2531 จำเลย ได้ วางเงิน ค่าทดแทน ที่ดินโฉนด เลขที่ 14467 ต่อ สำนักงาน วางทรัพย์ ภูมิภาค ที่ 2 เพื่อ ให้ โจทก์รับ เงิน ค่าทดแทน ที่ดิน ดังกล่าว ไป ตาม เอกสาร หมาย จ. 6แผ่น ที่ 2 เป็น การ ดำเนินการ ภายใน อายุ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนว ทางหลวง ฯ จำเลย จึง มีอำนาจ เข้า ครอบครอง หรือ ใช้ อสังหาริมทรัพย์คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 14467 และ สิ่งปลูกสร้าง บน ที่ดิน ดังกล่าว ใน ส่วนที่อยู่ ใน เขต ตาม พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ดังกล่าว ได้ ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 13วรรคสอง และ วรรคสาม ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
โจทก์ ฎีกา ต่อไป ว่า ก่อน จะ ทำการ ปลูกสร้าง อาคาร พิพาท โจทก์ได้ แจ้ง ให้ เจ้าหน้าที่ เวนคืน คือ นาย เทิดศักดิ์ เศรษฐิเวียงภูบาล ทราบ แล้ว จึง ถือได้ว่า เป็น การ อนุญาต ให้ ปลูกสร้าง ได้ ข้อ นี้ โจทก์นำสืบ โดย มี แต่ คำเบิกความ ลอย ๆ ของ โจทก์ และ นาย โชติ สามี โจทก์ ว่า โจทก์ ปลูก อาคาร พิพาท โดย ได้รับ อนุญาต จาก เจ้าหน้าที่ ของ จำเลยไม่มี พยานเอกสาร สนับสนุน พยานโจทก์ จึง ไม่มี น้ำหนัก น่าเชื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ปลูกสร้าง อาคาร พิพาท ใน เขต ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ฯ โดย ไม่ได้ รับ อนุญาตจาก เจ้าหน้าที่ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ หรือ ผู้ซึ่ง ได้รับ มอบหมาย จากเจ้าหน้าที่ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 74(2) หรือ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 24(1) โจทก์จึง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าทดแทน ค่า ขนย้าย หรือ ค่าเสียหาย ที่ไม่สามารถ ประกอบ อาชีพ จาก จำเลย ได้ ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
โจทก์ ฎีกา ข้อ สุดท้าย ว่า ที่ดิน ด้าน ทิศเหนือ มี ส่วน ของ ที่ดินที่ เหลือ ความยาว เพียง 1.5 วา มิได้ ติดต่อ เป็น ผืน เดียว กับ ที่ดินแปลง อื่น ของ โจทก์ ทำให้ รูปร่าง ของ ที่ดิน ไม่ เหมาะสม ที่ จะ ใช้ ประโยชน์จำเลย จึง ต้อง เวนคืน ที่ดิน ดังกล่าว ให้ โจทก์ ด้วย ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 20 ที่ ศาลอุทธรณ์ไม่รับ วินิจฉัย ให้ โจทก์ ไม่ถูกต้อง ข้อ นี้ โจทก์ อุทธรณ์ และ ศาลอุทธรณ์ไม่รับ วินิจฉัย ให้ โดย อ้างว่า ศาลชั้นต้น ไม่ได้ กำหนด ประเด็น ข้อพิพาทไว้ และ โจทก์ มิได้ คัดค้าน ทั้ง ขณะ พิพากษาคดี ศาลชั้นต้น ไม่ได้วินิจฉัย ไว้ ถือได้ว่า เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ในศาลชั้นต้น เป็น อุทธรณ์ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง เห็นว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง ไว้ แล้ว ว่า ที่ดินของ โจทก์ ถูก เวนคืน บางส่วน คือ 0-1-26 ไร่ ที่ดิน ทาง ด้าน ทิศเหนือมี ส่วน ของ ที่ดิน เหลือ อยู่ (ยาว ) เพียง 1.5 วา อีก ทั้งที่ ดินส่วน ที่ เหลือ อยู่ นั้น ก็ มิได้ ติดต่อ เป็น ผืน เดียว กัน กับ ที่ดิน แปลง อื่นของ โจทก์ ทำให้ ไม่ เหมาะสม ที่ จะ ใช้ ประโยชน์ ใน ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ อีกต่อไป จำเลย จึง ต้อง เวนคืน ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่ โจทก์ ด้วย ซึ่งราคา ที่ดิน ตาม ที่ ซื้อ ขาย กัน ไร่ ละ 400,000 บาท จำเลย จึง ต้อง จ่ายค่าทดแทน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ตาม เนื้อที่ดิน ทั้ง แปลง จำนวน 250,000 บาทจำเลย ให้การ ต่อสู้ ว่า ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ สามารถ ใช้ ทำประโยชน์ ได้จำเลย ไม่จำเป็น ต้อง เวนคืน ใน ส่วน ที่ เหลือ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็นข้อพิพาท ข้อ 4 ว่า จำเลย จะ ต้อง ใช้ ค่าทดแทน ค่า รื้อถอน ค่า ขนย้ายและ ค่าเสียหาย ที่ ไม่สามารถ ประกอบ อาชีพ ตาม ปกติ แก่ โจทก์ หรือไม่เพียงใด เห็น ได้ว่า ศาลชั้นต้น ได้ กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท รวม ไว้ แล้ว ว่าจำเลย จะ ต้อง จ่ายเงิน ค่าทดแทน สำหรับ ที่ดิน ที่ โจทก์ ฟ้อง อ้างว่าเป็น ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ อยู่ ยาว เพียง 1.5 วา ไม่ เหมาะสม ที่ โจทก์จะ ใช้ ประโยชน์ และ จำเลย ต้อง เวนคืน และ จ่าย ค่าทดแทน ให้ โจทก์หรือไม่ ด้วย ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ โจทก์ จึง ไม่ชอบฎีกา โจทก์ ส่วน นี้ ฟังขึ้น และ ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย ไป โดย ไม่ส่งสำนวน คืน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่งบัญญัติ ว่า ใน กรณี ที่ ต้อง เวนคืน ที่ดิน แปลง ใด แต่เพียง บางส่วนถ้า เนื้อที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ อยู่ นั้น น้อยกว่า ยี่สิบ ห้า ตารางวา หรือด้าน หนึ่ง ด้าน ใด น้อยกว่า ห้า วา และ ส่วน ที่ เหลือ อยู่ นั้น มิได้ ติดต่อเป็น ผืน เดียว กัน กับ ที่ดิน แปลง อื่น ของ เจ้าของ เดียว กัน หาก เจ้าของร้องขอ ให้ เจ้าหน้าที่ เวนคืน หรือ จัดซื้อ ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ด้วยเห็นว่า กฎหมาย มาตรา ดังกล่าว บัญญัติ ขึ้น เพื่อ ให้ เจ้าหน้าที่ เวนคืนทำการ เวนคืน หรือ จัดซื้อ ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จาก เจ้าของ เพราะ ที่ดินส่วน ที่ เหลือ นั้น เหลือ อยู่ น้อย หรือ มี สภาพ ไม่ เหมาะสม ที่ จะ ใช้ ทำประโยชน์ ต่อไป โดย กำหนด ให้ เจ้าของ ที่ดิน ร้องขอ ต่อ เจ้าหน้าที่เวนคืน เสีย ก่อน เพื่อ เจ้าหน้าที่ เวนคืน จะ ได้ พิจารณา ว่า กรณี ต้องตาม กฎหมาย มาตรา ดังกล่าว หรือไม่ ซึ่ง ตาม ทางนำสืบ ของ โจทก์ก็ ปรากฏว่า เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ได้แนะนำ ให้ โจทก์ ไป ร้องขอ ต่อ เจ้าหน้าที่ เวนคืน ต่อไป ปรากฏ ตาม เอกสาร หมายจ. 10 แต่ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ ดำเนินการ ตาม คำแนะนำ ดังกล่าวเมื่อ โจทก์ ยัง ไม่ได้ ดำเนินการ ตาม ขั้นตอน ของ กฎหมาย จึง ไม่มีสิทธิ ฟ้อง ให้ จำเลย จ่ายเงิน ค่าทดแทน ใน ส่วน นี้ ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ ขึ้น เช่นเดียวกัน อนึ่ง การ ยกฟ้อง โจทก์ ใน ส่วน นี้ เป็น การ ยกฟ้องเกี่ยวกับ อำนาจฟ้อง โดย มิได้ วินิจฉัย ประเด็น ข้อพิพาท จึง เห็นสมควรไม่ ตัด สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ ฟ้อง ใหม่ ”
พิพากษายืน และ ไม่ ตัด สิทธิ โจทก์ ที่ จะ นำ คำฟ้อง เฉพาะ ใน ส่วนที่ เกี่ยวกับ การ ร้องขอ ให้ เวนคืน หรือ จัดซื้อ ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ มา ยื่นใหม่ ภายใต้ บังคับ แห่ง บทบัญญัติ ของ พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530