คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำเบิกความของพยานคนใดจะรับฟังได้หรือไม่ต้องแล้วแต่เหตุผลในคำพยานนั้นเองแม้เป็น พยานคู่กันก็ไม่จำต้องรู้เห็นเหตุการณ์หรือเบิกความได้ตรงกันหมดทุกคนจึงจะรับฟังได้พยานอาจเบิกความสนับสนุนบางตอนเท่าที่ตนรู้เห็นจริงเท่านั้นก็ได้ เอกสารที่พยานโจทก์เป็นผู้จัดทำตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามหน้าที่ซึ่งพยานรับผิดชอบทั้งจำเลยก็มิได้โต้แย้งว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงกับความจริงจึงมีน้ำหนักและการเบิกความของพยานโจทก์เป็นการเบิกความประกอบเอกสารและเอกสารก็มีรายละเอียดชัดเจนอยู่แล้วเมื่อฟังประกอบกับพยานบุคคลจึงเชื่อได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นดัง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา พนักงานของโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้แก่จำเลยที่นำเช็คมาเบิกเงินเกินจำนวนไปเนื่องจากมิได้ดูจำนวนเงินในเช็คให้รอบคอบถือว่าเป็นการส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปเมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนจึงเป็นความผิดฐานยักยอก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 เวลา กลางวันจำเลย ได้ นำ เช็ค ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน ) สาขา ลพบุรี เลขที่ 3724639 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 สั่งจ่าย เงิน จำนวน63,263 บาท ซึ่ง ชุมนุม สหกรณ์ จังหวัด ลพบุรี จำกัด เป็น ผู้สั่งจ่ายให้ แก่ จำเลย เพื่อ ชำระหนี้ ค่า ข้าวเปลือก ไป ขึ้น เงิน ที่ ธนาคารหลังจาก นั้น นางสาว ธนิตา ทิพย์มณฑา พนักงาน เท ลเลอร์รับมอบ อำนาจ ของ ธนาคาร ได้ เขียน ใบเบิก เงิน เพื่อ เบิกเงิน จาก พนักงาน การเงิน จำนวน103,263 บาท โดย เมื่อ ผ่าน ขั้นตอน การ อนุมัติ การ จ่ายเงิน แล้วนางสาว ธนิตา ได้ มอบ เงิน จำนวน 103,263 บาท ให้ แก่ จำเลย ไป ซึ่ง เงิน จำนวน ดังกล่าว นั้น ส่วน หนึ่ง เป็น ของ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน )ผู้เสียหาย ที่ ตก มา อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ จำเลย เพราะ พนักงาน ของผู้เสียหาย ส่งมอบ ให้ โดย สำคัญผิด เป็น เงิน จำนวน 40,000 บาท และ ต่อมาวันเดียว กัน จำเลย ได้ เบียดบัง ยักยอก เอา เงิน จำนวน 40,000 บาทของ ผู้เสียหาย ไป เป็น ประโยชน์ ของ ตน โดยทุจริต เหตุ เกิด ที่ ตำบล ท่าหิน อำเภอ เมือง ลพบุรี จังหวัด ลพบุรี ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 และ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน จำนวน 40,000 บาท ที่ ยัง ไม่ได้คืน แก่ ผู้เสียหาย
ระหว่าง พิจารณา ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน ) ผู้เสียหาย ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ลงโทษ จำคุก 2 เดือน กับ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน จำนวน40,000 บาท แก่ โจทก์ร่วม
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ทางพิจารณา โจทก์ และ โจทก์ร่วม นำสืบ ว่าเมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 เวลา 10.30 นาฬิกา จำเลย ได้ นำ เช็คของ ชุมนุม สหกรณ์ จังหวัด ลพบุรี จำกัด ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ไป ขึ้น เงินต่อ นางสาว ธนิตา ทิพย์มณฑา พนักงาน เท ลเลอร์ของ โจทก์ร่วม นางสาว ธนิตา ดู ตัวเลข จำนวนเงิน ใน เช็ค เห็น เป็น จำนวน 103,263 บาท จึง ได้ ทำการ ตัด บัญชี ลูกค้า ตาม ใบ ตัด บัญชี เอกสาร หมาย จ. 6 และนางสาว ธนิตา ได้ เขียน ใบเบิก เงิน เพื่อ ไป เบิกเงิน จาก นางสาว นงลักษณ์ ทองวิเชียร ซึ่ง ทำ หน้าที่ เป็น แคชเชียร์ โดย ระบุ เบิกเงิน จำนวน 103,263 บาท ตาม ใบเบิก เงิน เอกสาร หมาย จ. 7 นางสาว ธนิตา รับมอบ เงิน จำนวน ดังกล่าว จาก นางสาว นงลักษณ์ แล้ว ได้ นำ ไป มอบ ให้ จำเลย ทั้งหมด โดย บอก ยอดเงิน จำนวนเงิน และ ให้ จำเลย นับ เงิน ต่อหน้า ด้วย หลังจาก นั้นจำเลย รับ เงิน แล้ว ก็ กลับ ไป ต่อมา วันที่ 2 มีนาคม 2536นาง สายพิน ธรรมภักดี ซึ่ง เป็น สมุห์บัญชี ของ ชุมนุม สหกรณ์ จังหวัด ลพบุรี จำกัด ได้ มา แจ้ง ว่า เงิน ของ ชุมนุม สหกรณ์ จังหวัด ลพบุรีจำกัด หาย ไป 40,000 บาท จึง ขอ ตรวจสอบ บัญชี ใน ที่สุด พบ ว่า เงินขาด หาย ไป จำนวน 40,000 บาท เนื่องจาก โจทก์ร่วม ตัด บัญชี เกิน ไป จากจำนวนเงิน ที่ ระบุ ใน เช็ค เอกสาร หมาย จ. 1 ความจริง แล้ว นาง สายพิน ระบุ สั่งจ่าย เงิน จำนวน 63,263 บาท ให้ แก่ จำเลย เพื่อ ชำระหนี้ค่า ข้าวเปลือก แต่ นางสาว ธนิตา ดู ตัวเลข ใน เช็ค เป็น จำนวน 103,263 บาท โดย ไม่ได้ ดู ตัว หนังสือ ระบุ จำนวนเงิน เนื่องจาก ใน แต่ละ วัน มี งาน มากเพื่อ ความสะดวก และ รวดเร็ว จึง ดู เฉพาะ จำนวนเงิน ที่ ระบุ เป็น ตัวเลขจึง จ่ายเงิน เกิน ไป แก่ จำเลย ไป จำนวน 40,000 บาท ต่อมา จำเลย ยอมรับ ว่าจะ จ่ายเงิน จำนวน 20,000 บาท แก่ โจทก์ร่วม แต่ นางสาว ธนิตา ไม่ยอม จึง ตกลง กัน ไม่ได้
จำเลย นำสืบ ว่า ตาม วัน เวลา เกิดเหตุ จำเลย ได้ นำ เช็ค ตามเอกสาร หมาย จ. 1 ระบุ จำนวนเงิน 63,263 บาท ไป ขึ้น เงิน ที่ ธนาคารโจทก์ร่วม และ จำเลย ได้รับ เงิน จาก พนักงาน ของ โจทก์ร่วม ตาม จำนวนเท่าที่ ระบุ ใน เช็ค ไม่ได้ รับ เงิน เกิน มา จำเลย ไม่เคย รับ ต่อ พนักงานโจทก์ร่วม ชุมนุม สหกรณ์ จังหวัด ลพบุรี จำกัด และ ต่อ พนักงานสอบสวนว่า จะ ยอม คืนเงิน จำนวน 20,000 บาท แต่อย่างใด
พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่าจำเลย กระทำผิด ตาม ฟ้อง หรือไม่ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ทั้ง นางสาว ธนิตา ทิพย์มณฑา และ นางสาว นงลักษณ์ ทองวิเชียร ต่าง เป็น พนักงาน ของ โจทก์ร่วม โดย พยาน ทั้ง สอง ทำงาน ใน ธนาคาร ของ โจทก์ร่วม สาขา เดียว กันหาก กรณี เงิน ของ โจทก์ร่วม สูญหาย ไป โดย ไม่สามารถ หา ตัว ผู้รับผิดชอบ ได้ทั้ง นางสาว ธนิตาและนางสาวนงลักษณ์ ย่อม จะ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อ โจทก์ร่วม เมื่อ กรณี เป็น เช่นนี้ จำเลย จึง เชื่อ ว่า นางสาว นงลักษณ์ จะ ต้อง เบิกความ ช่วยเหลือ นางสาว ธนิตา อย่าง แน่นอน นั้น เห็นว่า การ ที่นา งสาว นงลักษณ์ ทำงาน ที่ เดียว กัน และ ใน สาย งาน เดียว กัน กับ นางสาว ธนิตา มิใช่ เหตุผล ที่ ต้อง ฟัง ว่า นางสาว นงลักษณ์ จะ เบิกความ ช่วยเหลือ นางสาว ธนิตา คำเบิกความ ของ พยาน คนใด จะ รับฟัง ได้ หรือไม่ ต้อง แล้วแต่ เหตุผล ใน คำพยาน นั้นเอง แม้ จะ เป็น พยาน คู่ กันก็ ไม่จำเป็น ต้อง รู้เห็น เหตุการณ์ หรือ เบิกความ ได้ ตรง กัน หมด ทุกคนจึง จะ รับฟัง ได้ พยาน อาจ เบิกความ สนับสนุน บางตอน เท่าที่ ตน รู้เห็น จริงเท่านั้น ก็ ได้ ใน เมื่อ นางสาว นงลักษณ์ เบิกความ ว่า นางสาว ธนิตา ได้ นำ ใบเบิก เงิน จำนวน 103,263 บาท ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 มา เบิกเงิน สดจาก พยาน สืบเนื่อง มาจาก ได้ มี ลูกค้า นำ เช็ค มา ขึ้น เงิน พยาน ได้ หยิบเงินสด จำนวน ตาม ใบเบิก เมื่อ พยาน มอบ เงินสด ให้ นางสาว ธนิตา นางสาว ธนิตา ได้ นับ เงิน ต่อหน้า พยาน เมื่อ ครบ ตาม จำนวน นางสาว ธนิตา ได้ ส่ง ให้ กับ ลูกค้า ที่ เคาน์เตอร์ เป็น ลูกค้า ผู้ชาย คนหนึ่งพยาน ไม่ได้ สังเกต และ จด จำ ว่า เป็น ใคร โดย นางสาว ธนิตา ไม่ได้ แวะ ไป ที่ โต๊ะ หรือ ที่อื่น แต่อย่างใด เมื่อ นางสาว ธนิตา ได้ พบ กับ ลูกค้า ที่ หน้า เคาน์เตอร์ พร้อม เงิน ที่ ถือ ไป แล้ว พยาน ไม่ได้ สังเกต ต่อไปส่วน นางสาว ธนิตา เบิกความ ว่า ขณะ ปฏิบัติ หน้าที่ รับ จ่ายเงิน อยู่ ที่ หน้า เคาน์เตอร์ ได้ มี จำเลย นำ เช็ค เอกสาร หมาย จ. 1 มา เบิกเงินพยาน ได้ ดู ตัวเลข จำนวนเงิน ใน เช็ค แล้ว เห็น เป็น 103,263 บาท จึง ได้ ทำการ ตัด บัญชี ลูกค้า ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 แล้ว เขียน ใบเบิก เงิน และไป เบิกเงิน จาก นางสาว นงลักษณ์ แคชเชียร์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 7นางสาว นงลักษณ์ ได้ หยิบ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ พยาน ได้ นับ ต่อหน้า นางสาว นงลักษณ์ แล้ว นำ เงิน จำนวน ดังกล่าว ไป มอบ ให้ จำเลย ที่ หน้า เคาน์เตอร์ ตอน มอบ เงิน ให้ จำเลย พยาน ได้ พูด บอก จำเลย ว่า เป็น เงิน103,263 บาท ให้ จำเลย นับ ด้วย จำเลย นับ เงิน ต่อหน้า พยาน ตอนแรก ที่พยาน บอก จำนวนเงิน จำเลย มี อาการ ตกใจ แล้ว ขอ ดู เช็ค จาก พยาน อีก ครั้งพยาน ให้ ดู เช็ค และ บอก ย้ำ ว่า เป็น เงิน จำนวน 103,263 บาท หลังจาก นั้นจำเลย รับ เงิน เสร็จ ก็ กลับ ไป ที่ พยาน ดู ตัวเลข จาก เลข 6 เป็น เลข 10ก็ เพราะ วิธี ปฏิบัติ จะ ดู เฉพาะตัว เลขที่ ระบุ ใน เช็ค ทั้งนี้ เนื่องจากใน แต่ละ วัน จะ มี งาน มาก เพื่อ ความสะดวก และ รวดเร็ว จึง ดู จาก จำนวนเงินที่ ระบุ เป็น ตัวเลข ไม่ ค่อย ได้ ดู ตัว หนังสือ ปกติ เมื่อ ลูกค้า นำ เช็คมา ขึ้น เงิน นั้น จะ ให้ ลูกค้า เซ็น ชื่อ และ ระบุ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ไว้ กรณี จำเลย ก็ เช่นกัน ได้ ให้ เซ็น ชื่อ และระบุ หมายเลข บัตรประจำตัวประชาชน ไว้ ด้านหลัง เช็ค เอกสาร หมาย จ. 1และ เบิกความ ตอบ คำถามค้าน ทนายจำเลย ว่า พยาน เพียง ผู้เดียว ที่ สามารถยืนยัน ได้ว่า ส่ง เงิน จำนวน 103,263 บาท ให้ แก่ จำเลย ดังนั้นคำเบิกความ ของ นางสาว นงลักษณ์ จึง เป็น การ สนับสนุน เหตุการณ์ บางตอน เท่าที่ รู้เห็น ส่วน เหตุการณ์ ตอน ที่ มี การ ส่ง เงิน ให้ จำเลย ครบ หรือไม่นางสาว นงลักษณ์ ไม่เห็น ก็ มิได้ เบิกความ เกิน เลย ไป ว่า รู้เห็น ใน เมื่อ ไม่ใช่ คำเบิกความ ที่ แตกต่าง กับ นางสาว ธนิตา ก็ ย่อม มี น้ำหนัก รับฟัง มา สนับสนุน คำเบิกความ ของ นางสาว ธนิตา ได้ ที่ จำเลย ฎีกา ต่อไป ว่า เอกสาร หมาย จ. 3 จ. 6 และ จ. 7 เป็น เอกสาร ที่ พยานโจทก์เป็น ผู้ จัดทำ เอง ทั้งสิ้น จำเลย ไม่รู้ เห็นด้วย นั้น เห็นว่า เอกสารดังกล่าว ได้ ทำ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ เกิดขึ้น และ เป็น ไป ตามลำดับ ขั้นตอนตาม หน้าที่ ซึ่ง พยาน รับผิดชอบ ทั้ง จำเลย ก็ มิได้ โต้แย้ง ว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ ตรง กับ ความจริง แต่อย่างใด จึง มี น้ำหนัก น่าเชื่อ โดยเฉพาะการ เบิกความ ของ พยาน เป็น การ เบิกความ ประกอบ เอกสาร และ เอกสาร ก็ มีรายละเอียด ชัดเจน อยู่ แล้ว เมื่อ ฟัง ประกอบ กับ พยานบุคคล จึง เชื่อ ได้ว่าจำเลย ได้รับ เงิน ไป 103,263 บาท จริง ดัง ที่ โจทก์ นำสืบ มา การ ที่นางสาว ธนิตา ไม่ รอบคอบ โดย มิได้ ดู จำนวน ตัว หนังสือ ใน เอกสาร หมาย จ. 1ประกอบ แต่เมื่อ มอบ เงิน ให้ จำเลย เกิน ไป 40,000 บาท ก็ ถือได้ว่าเป็น การ ส่งมอบ ให้ โดย สำคัญผิด ไป แม้ จะ ด้วย ประการใด ก็ ตาม เมื่อ เงินจำนวน ดังกล่าว มา ตกอยู่ใน ความ ครอบครอง ของ จำเลย แล้ว จำเลย เบียดบังเอา เป็น ของ ตน การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็น ความผิด ตาม ฟ้อง แต่เมื่อพิเคราะห์ ถึง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย มี อายุ มาก ถึง 62 ปี อีก ทั้งพฤติการณ์ ใน การกระทำ ผิด ก็ ไม่ ร้ายแรง นัก ประกอบ กับ ความประมาท เลินเล่อของ พนักงาน ของ โจทก์ร่วม ก็ มี ส่วน ล่อใจ ให้ จำเลย กระทำผิด ด้วยกรณี จึง มีเหตุ อันควร ปรานี โดย การ รอการลงโทษ จำคุก ให้ จำเลย แต่ เพื่อให้ จำเลย หลา บจำ สมควร กำหนด โทษ ปรับ จำเลย อีก สถาน หนึ่ง ด้วย
อนึ่ง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ปรับ บทลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 โดย ไม่ได้ ระบุ วรรค นั้น เห็นสมควร ระบุ วรรค เสียให้ ถูกต้อง เสีย ด้วย ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคสอง ให้ ลงโทษ ปรับ จำเลย 2,000 บาท อีก สถาน หนึ่งสำหรับ โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share