คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งระบุว่าโจทก์เป็นบุตร ฝ. และมีนายทะเบียนรับรองความถูกต้องเป็นเอกสารมหาชนซึ่งกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าแท้จริงและถูกต้องไม่จำต้องนำเจ้าพนักงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบเมื่อจำเลยที่3ไม่นำสืบโต้แย้งจึงรับฟังได้ หลักฐานเกี่ยวกับค่าเสียหายไม่ใช่เอกสารที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18ต้องการให้แนบมากับคำฟ้องแต่เป็นเรื่องรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้แม้โจทก์ไม่ได้แนบหลักฐานดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วยก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยมาตรา172วรรคสอง เหตุรถชนกันระหว่างจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งมาในรถคันที่จำเลยที่1ขับได้รับอันตรายสาหัสเกิดจากความผิดของจำเลยที่1ฝ่ายเดียวโดยขับรถตัดหน้ารถที่จำเลยที่2ขับโดยกะทันหันหาเป็นผลโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่2ขับรถด้วยความเร็วสูงเกินอัตราที่กำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯไม่จำเลยที่2จึงมิได้ประมาทเลินเล่อและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันที่จำเลยที่2ขับย่อมไม่ต้องรับผิดด้วยและเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่2ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้

ย่อยาว

คดี สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา รวมกัน โดย สำนวน หลังรับโอน คดี มาจาก ศาลจังหวัด ราชบุรี ให้ เรียก โจทก์ และ จำเลย ที่ 2สำนวน หลัง เป็น จำเลย ที่ 3 และ จำเลย ที่ 4
สำนวน แรก โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ได้รับอันตรายสาหัส จาก อุบัติเหตุ รถ เฉี่ยว ชนกัน จน สมอง พิการ เป็นคนไร้ความสามารถ อยู่ ใน ความ อนุบาล ของ นาง ฝน สายพันธ์ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขับ และ ควบคุม รถยนต์ สอง แถว หมายเลข ทะเบียนบ-3692 ราชบุรี จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ขับ และ ควบคุม รถยนต์ หมายเลขทะเบียน ม-6444 นครราชสีมา ซึ่ง ต่อมา เปลี่ยน ทะเบียน เป็นป-5808 นครปฐม จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ หมายเลขทะเบียน ม-6444 นครราชสีมา ไว้ จาก จำเลย ที่ 2 หรือ ผู้มีชื่อโดย ยินยอม รับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ บุคคลภายนอก ใน กรณี ที่รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 3 รับประกัน ภัย ก่อ ความเสียหาย ขึ้น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2533 เวลา 22.30 นาฬิกา จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์สอง แถว หมายเลข ทะเบียน บ-3692 ราชบุรี ไป ตาม ถนน รามอินทรา ครั้น ถึง บริเวณ ระหว่าง หลัก กิโลเมตร ที่ 3 ถึง ที่ 4 จำเลย ที่ 1เปลี่ยน ช่อง เดินรถ เพื่อ จะ เลี้ยว ขวา เข้า ซอย วัด ไตรรัตนาราม อย่าง กะทันหัน ด้วย ความประมาท รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ จึงเฉี่ยว ชน กับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน ม-6444 นครราชสีมา ซึ่งจำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ขับ สวนทาง มา ตาม ถนน รามอินทรา ด้วย ความ เร็ว สูง และ ด้วย ความประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ซึ่ง โดยสาร มาใน รถยนต์ สอง แถว หมายเลข ทะเบียน ม-3692 ราชบุรี ได้รับ อันตรายสาหัส จน เป็น คนไร้ความสามารถ จำเลย ทั้ง สาม ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อโจทก์ ที่ ต้อง เสีย ค่ารักษาพยาบาล และ ค่าใช้จ่าย ที่ เกี่ยวเนื่อง กับการ รักษา พยาบาล ค่า รถพยาบาล ค่า ยา ต่าง ๆ และ รวม ถึง ค่ารักษาพยาบาลใน อนาคต รวมเป็น เงิน 60,000 บาท ค่าเสียหาย ที่ ต้อง ขาด ประโยชน์ทำ มา หา ได้ เพราะ ไม่สามารถ ประกอบการ งาน เนื่องจาก การ ละเมิดระหว่าง เจ็บป่วย จน ถึง วันฟ้อง กล่าว คือ ก่อน เกิดเหตุ โจทก์ เป็น ลูกจ้างใน ร้าน อาหาร มี รายได้ เป็น เงิน 3,000 บาท ต่อ เดือน เป็น เงินทั้งหมด 24,000 บาท ค่าเสียหาย เพื่อ การ ที่ ต้อง เสีย ความ สามารถ ประกอบการงาน โดย สิ้นเชิง ทั้ง ใน ปัจจุบัน และ ใน อนาคต เป็น เงิน 210,000 บาทค่าเสียหาย ต่าง ๆ ได้ แก่ ร่างกาย พิการ ทุพพลภาพ และ การ เจ็บป่วยซึ่ง อาจ ถึง ตลอด ชีวิต ค่า เสื่อมเสีย สุขภาพ อนามัย แก่ กาย และ จิตใจระหว่าง เจ็บป่วย เพราะ ถูก ทำละเมิด เป็น เงิน 60,000 บาท ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหมทดแทน รวมเป็น เงิน354,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันทำละเมิด ถึง วันฟ้อง คิด เป็น เงิน 24,780 บาท รวมเป็น เงิน378,780 บาท และ ให้ ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีใน ต้นเงิน 354,000 บาท นับ จาก วัน ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า นาง ฝน ไม่ได้ เป็น มารดา โจทก์ และ ไม่ได้ ยื่น คำร้องขอ เป็น ผู้อนุบาล โจทก์ เหตุ รถ เฉี่ยว ชนกัน เกิดจากความประมาท ของ จำเลย ที่ 1 ฝ่ายเดียว จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ ค่าเสียหาย เคลือบคลุม ค่าเสียหายของ โจทก์ หาก มี ก็ ไม่เกิน 30,000 บาท และ หาก จำเลย ที่ 3 ต้อง รับผิดตาม กรมธรรม์ประกันภัย กำหนด ไว้ ไม่เกิน 50,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
สำนวน ที่ สอง โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์หมายเลข ทะเบียน ม-6444 นครราชสีมา จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขับ รถยนต์สอง แถว หมายเลข ทะเบียน บ-3692 ราชบุรี ใน ทางการที่จ้าง หรือ ได้รับมอบหมาย จาก จำเลย ที่ 2 ใน ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของผู้ครอบครอง รถยนต์ สอง แถว หมายเลข ทะเบียน บ-3692 ราชบุรีและ เป็น นายจ้าง หรือ ตัวการ ของ จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2533เวลา ประมาณ 22 นาฬิกา จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ สอง แถว หมายเลข ทะเบียนบ-3692 ราชบุรี ใน ทางการที่จ้าง หรือ เป็น ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 2ไป ตาม ถนน รามอินทรา แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ เลี้ยว ขวา ที่ หัว เกาะกลางถนน เพื่อ เข้า ไป ใน ซอย วัด ไตรรัตนาราม อย่าง กะทันหัน ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 1 เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน ม-6444นครราชสีมา ซึ่ง นาย มนัส แอบท้องไทร เป็น ผู้ขับ สวน มา ไม่สามารถ ห้ามล้อ และ หัก หลบ ได้ ทัน จึง เกิด การ เฉี่ยว ชนกัน จน รถยนต์ หมายเลขทะเบียน ม-6444 นครราชสีมา ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ ชำระ ค่าสินไหมทดแทน ตาม กรมธรรม์ประกันภัย แก่ ผู้เอาประกันภัย เป็น เงิน ทั้งสิ้น53,700 บาท จึง รับช่วงสิทธิ ดังกล่าว มา เรียกร้อง จาก จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน ใช้ ค่าสินไหมทดแทน53,700 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่โจทก์ จ่ายเงิน ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ใช่ นายจ้าง ของ จำเลย ที่ 1ผู้ครอบครอง รถยนต์ สอง แถว หมายเลข ทะเบียน บ-3692 ราชบุรีบริษัท เตชอัมพรพาณิชย์ จำกัด ได้ ให้ จำเลย ที่ 1 เช่าซื้อ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไป ตั้งแต่ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2532 จำเลย ที่ 2 เป็นกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เตชอัมพรพาณิชย์ จำกัด และ ไม่ใช่ เจ้าของ รถยนต์ สอง แถว หมายเลข ทะเบียน บ-3692 ราชบุรี จึง ไม่ต้องร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน หรือแทน กัน ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ จำนวน 354,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 5 มีนาคม 2533 จนกว่า จะ ชำระเสร็จ ให้ยก ฟ้อง จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น โจทก์ ใน สำนวน ที่ สอง
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์ ทั้ง สอง สำนวน
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 348,520 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 5 มีนาคม 2533 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 3 ฎีกา ทั้ง สอง สำนวน
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็นผู้ขับ รถยนต์ สอง แถว หมายเลข ทะเบียน บ-3692 ราชบุรี จำเลย ที่ 2เป็น ผู้ขับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน ม-6444 นครราชสีมา ซึ่ง มี จำเลย ที่ 3เป็น ผู้รับประกันภัย วันเกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ สอง แถว หมายเลขทะเบียน บ-3692 ราชบุรี ไป ตาม ถนน รามอินทรา เลี้ยว ขวา เข้า ซอย วัด ไตรรัตนาราม ด้วย ความประมาท เลินเล่อ แล้ว รถ ได้ เฉี่ยว ชน กับ รถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ สวน มา เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ซึ่ง นั่ง มาใน รถยนต์ สอง แถว หมายเลข ทะเบียน บ-3692 ราชบุรี ได้รับ อันตรายสาหัสและ พิการ จน นาง ฝน สายพันธ์ มารดา โจทก์ ต้อง ยื่น คำร้อง ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ให้ โจทก์ เป็น คนไร้ความสามารถ อยู่ ใน ความ อนุบาลของ นาง ฝน ตาม คำสั่ง ของ ศาลจังหวัด ราชบุรี เอกสาร หมาย จ. 2สำหรับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ใน สำนวน ที่ สอง ที่ ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1เป็น ผู้ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อ แต่เพียง ฝ่ายเดียว และ จำเลย ที่ 1เป็น ลูกจ้าง หรือ ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 4 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 จึง ต้องร่วมกัน รับผิด ต่อ จำเลย ที่ 3 นั้น เป็น ฎีกา โต้แย้ง ดุลพินิจ ใน การรับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ ที่ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 2 มี ส่วน ประมาทเลินเล่อ ด้วย และ ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ไม่ ยิ่งหย่อน กว่า กัน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 จึง ไม่ต้อง ร่วมกัน รับผิดต่อ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 จึง เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงเมื่อ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท ใน ชั้นฎีกา ใน สำนวน ที่ สอง มี เพียง 56,720 บาทซึ่ง ไม่เกิน สอง แสน บาท จึง ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย คง รับ วินิจฉัย ให้ เฉพาะ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ใน สำนวน แรกซึ่ง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ประการ แรก ว่าโจทก์ เป็น บุตร ของ นาง ฝน สายพันธ์ หรือไม่ โดย จำเลย ที่ 3ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่ได้ นำ เจ้าพนักงาน ของรัฐ ที่ เกี่ยวข้อง กับ เอกสาร หมายจ. 1 และ จ. 2 ที่นา ง ฝน อ้าง เป็น พยานหลักฐาน แสดง การ เป็น มารดา ของ โจทก์ มา สืบพยานโจทก์ จึง รับฟัง ไม่ได้ และ เอกสาร หมาย จ. 1 และจ. 2 ไม่ใช่ สูติบัตร ใบ แจ้ง เกิด ของ โจทก์ จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ต้อง นำสืบโต้แย้ง นั้น เห็นว่า เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 เป็น สำเนา ทะเบียนบ้านและ สำเนา คำสั่งศาล ที่ มี นายทะเบียน และ จ่าศาล รับรอง ถึง ความ ถูกต้องอีก ทั้ง สำเนา ทะเบียนบ้าน เป็น เอกสารมหาชน ซึ่ง กฎหมาย ให้ สันนิษฐานไว้ ก่อน ว่า แท้จริง และ ถูกต้อง จึง ไม่จำต้อง นำ เจ้าพนักงานของรัฐ ที่ เกี่ยวข้อง กับ เอกสาร ดังกล่าว มา สืบ ประกอบ เมื่อ จำเลย ที่ 3ไม่นำ สืบ โต้แย้ง จึง รับฟัง ได้ว่า โจทก์ เป็น บุตร ของ นาง ฝน ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ปัญหา ประการ ที่ สอง มี ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม หรือไม่ ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ เรื่องค่าเสียหาย เคลือบคลุม เพราะ โจทก์ ไม่ได้ แสดง หลักฐาน เกี่ยวกับค่าเสียหาย มา ใน คำฟ้อง นั้น เห็นว่า หลักฐาน เกี่ยวกับ ค่าเสียหาย ไม่ใช่เอกสาร ที่ กฎหมาย ต้องการ ให้ แนบ มา กับ คำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และ เป็น เรื่องรายละเอียด ที่ โจทก์ สามารถ นำ มา สืบ ใน ชั้นพิจารณา ได้ แม้ โจทก์ไม่ได้ แนบ หลักฐาน เกี่ยวกับ ค่าเสียหาย มา ท้ายฟ้อง ด้วย ก็ เป็น ฟ้องที่ สมบูรณ์ และ ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง แล้ว หา เคลือบคลุม ไม่ ปัญหา ประการ ที่ สาม มี ว่า จำเลย ที่ 2ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อ ด้วย หรือไม่ โดย จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่าจำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อ แต่เพียง ฝ่ายเดียวโจทก์ มี นาย ทวีศักดิ์ แก้วประดิษฐ์ เป็น ประจักษ์พยาน เบิกความ ว่า ขณะ เกิดเหตุ พยาน นั่ง อยู่ ใน รถยนต์ สอง แถว คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ ทาง ด้านท้ายรถ บน ที่นั่ง ด้านขวา เมื่อ จำเลย ที่ 1 ขับ รถ มา จอด อยู่ บริเวณ เกาะกลาง ถนน เพื่อ ที่ จะ เลี้ยว เข้า บ้านพัก พยาน เห็น รถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 2ขับ แล่น มา ด้วย ความ เร็ว สูง และ เปิด ไฟ สูง เมื่อ จำเลย ที่ 1 ออก รถ ไปรถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ ได้ พุ่ง เข้า ชน รถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ โดยพยาน ไม่ได้ เบิกความ ว่า รถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ อยู่ ห่าง ไป เท่าใดคง ได้ความ จาก รายงาน การ สอบสวน คดี จราจร ลำดับ ที่ 333/2533เอกสาร หมาย จ. 13 ว่า พยาน ให้การ ใน ชั้นสอบสวน ว่า ขณะ จำเลย ที่ 1หยุด รถ ที่ บริเวณ เกาะกลางถนน เพื่อ เลี้ยว กลับ รถ พยาน เห็น รถยนต์ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ อยู่ ห่าง ไป ประมาณ 300 เมตร ถ้า เป็น จริง ดัง ที่พยาน ว่า รถ จำเลย ที่ 2 อยู่ ห่าง ไป ถึง 300 เมตร แม้ จำเลย ที่ 2ขับ รถ มา ด้วย ความ เร็ว สูง ประมาณ 90 กิโลเมตร ตาม ที่นาย สมชาย หรือ เล็ก ลบแย้ม ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ให้การ ไว้ ใน ชั้น สอบสวน แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ เลี้ยว รถ เข้า ซอย ตัด หน้า รถยนต์ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ ก็ ย่อม จะ พ้น ไป ได้ โดย ไม่ เกิดเหตุ ชนกัน แน่คำเบิกความ ของ พยาน ปาก นี้ จึง ไม่ น่าเชื่อ ทั้ง ยัง ได้ความ จาก คำเบิกความของ พยาน ปาก นี้ ที่ เบิกความ ตอบ ทนายจำเลย ที่ 3 ถาม ค้าน ว่าเมื่อ จำเลย ที่ 1 ขับ รถ ออกจาก เกาะกลางถนน ไป ได้ เพียง เล็กน้อยก็ ถูก รถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ ชน แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถ เลี้ยวตัด หน้า รถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ ใน ระยะ กระชั้นชิด ซึ่ง เจือสม กับ ทางนำสืบ ของ จำเลย ที่ 3 ประกอบ กับ ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฎ ใน บันทึก การตรวจ สถานที่เกิดเหตุ คดี จราจร ใน เอกสาร หมาย จ. 13 นั้น ระบุ ว่าที่เกิดเหตุ ไม่มี รอย ห้ามล้อ ของ รถ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ เลย อันเป็นข้อ บ่งชี้ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่เห็น รถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ เมื่อ จำเลยที่ 2 ขับ รถ มา ถึง ที่เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถ ตัด หน้า รถยนต์ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ ใน ระยะ กระชั้นชิด เพราะ โดย สัญชาติญาณ ของคนขับ รถ แล้ว เมื่อ เห็น รถ คัน อื่น เลี้ยว ตัด หน้า จะ ต้องห้าม ล้อ ทันทีการ ที่ จำเลย ที่ 2 ไม่ ห้ามล้อ แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถ ตัด หน้า รถยนต์ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ โดย กะทันหัน ดังนั้น จำเลย ที่ 2 จึง มิได้ ประมาทเลินเล่อ เหตุ ที่ รถ ชนกัน เกิดจาก ความผิด ของ จำเลย ที่ 1 แต่ ฝ่ายเดียวหาใช่ เป็น ผล โดยตรง ที่ เกิดขึ้น จาก การ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ รถ ด้วยความ เร็ว สูง เกิน อัตรา ที่ กำหนด ใน กฎกระทรวง อันเป็น การ ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 แต่อย่างใด ไม่ ฉะนั้นจำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เมื่อ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 2 ผู้ เอาประกันภัย ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น ผู้รับประกันภัยจึง ไม่ต้อง รับผิด ด้วย คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3ใน ประเด็น อื่น อีก ต่อไป ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 รับผิด ต่อ โจทก์ ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 3 ฟังขึ้น คดี นี้ แม้ จำเลย ที่ 2ซึ่ง เป็น ผู้เอาประกันภัย จะ ไม่ฎีกา ก็ ตาม แต่เมื่อ โจทก์ ฟ้อง ให้จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น ผู้รับประกันภัย ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 2 ใน ผลแห่ง ละเมิด ของ จำเลย ที่ 2 กรณี จึง เป็น เรื่อง เกี่ยวกับ การ ชำระหนี้อัน ไม่อาจ แบ่งแยก ได้ ศาลฎีกา ย่อม มีอำนาจ วินิจฉัย ให้ มีผล ถึงจำเลย ที่ 2 ด้วย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบ มาตรา 247”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำนวน แรก เฉพาะ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ให้ยกฎีกา จำเลย ที่ 3 ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ สำนวน ที่ สอง

Share