แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่2ที่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลตามบันทึกเสนอของจำเลยที่5เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายจำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดจึงต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนรับไปสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามฟ้องจึงตั้งฐานมาจากคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่2แม้โจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยแต่ละคนมีจำนวนเงินที่แน่นอนแต่โจทก์ก็ยังมีคำขอให้จำเลยที่2และที่5ร่วมกันชดใช้เงินรางวัลทั้งหมดแทนจำเลยอื่นทั้งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยที่2และที่5ร่วมกันชดใช้แทนจำเลยอื่นด้วยจำเลยทุกคนจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีอันมีทุนทรัพย์ทั้งหมดตามที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทุกคนอุทธรณ์ของจำเลยที่50ถึงที่57จึงมิใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย อุทธรณ์ที่ว่าอำนาจการสั่งจ่ายเงินรางวัลเป็นอำนาจโดยเฉพาะตัวของอธิบดีเป็นอำนาจทางด้านการบริหารราชการและเป็นอำนาจเด็ดขาดของอธิบดีไม่อาจถูกเพิกถอนได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อกฎหมายซึ่งหาได้ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ ระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลพ.ศ.2517ข้อ4(1),6(5)ออกโดยมาตรา102ตรีแห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากรพ.ศ.2469หาเป็นเงื่อนไขเด็ดขาดที่จะต้องงดการจ่ายเงินรางวัลดังเช่นที่กำหนดไว้ในข้อ11และข้อ12แห่งระเบียบดังกล่าวข้างต้นไม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่ามีการกระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำจัดในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันมีผลทำให้มีการจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ.2517ข้อ4(1)และจำเลยที่2ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาสั่งให้จ่ายเงินรางวัลโดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้พิจารณาเห็นว่าความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วคำสั่งให้จ่ายเงินรางวัลของจำเลยที่2จึงหาเป็นคำสั่งที่ผิดต่อระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ.2517ดังที่โจทก์อ้างในฟ้องไม่จำเลยที่1ถึงที่57จึง ไม่ต้องคืน เงินรางวัลแก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2528 ได้ มีผู้นำ เข้า สินค้า ตาม ใบตราส่ง สินค้า ระบุ จำนวน สินค้า 1,923 หีบ ห่อสินค้า ที่ นำเข้า บางส่วน เป็น ของ ต้อง กำจัด เจ้าหน้าที่ ผู้ทำการ ยึดสินค้า ดังกล่าว จะ ไม่มี สิทธิ ได้รับ เงินรางวัล ตาม หลักเกณฑ์ ที่ กำหนดไว้ ใน ระเบียบ ศุลกากร ว่าด้วย การ จ่ายเงิน สินบน และ รางวัล พ.ศ. 2517ต่อมา วันที่ 18 ตุลาคม 2528 จำเลย ที่ 8 ซึ่ง ขณะ นั้น ดำรง ตำแหน่งสารวัตร ศุลกากร 7 กับพวก รวม 13 คน ได้ จับกุม และ ยึด สินค้าดังกล่าว โดย กล่าวหา ว่า เป็น ของ ต้อง กำจัด วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2529จำเลย ที่ 4 ซึ่ง ขณะ นั้น ดำรง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ กอง ตรวจ สินค้าขาเข้า ได้ อนุมัติ เบิกเงิน รางวัล เพื่อ จ่าย ให้ แก่ ผู้จับกุม นำ เสนอต่อ โจทก์ โดย ผ่าน จำเลย ที่ 5 ซึ่ง ขณะ นั้น ดำรง ตำแหน่ง เป็น ผู้อำนวยการกองคดี ที่ ทราบ ดี อยู่ แล้ว ว่า กรณี เช่นนี้ เป็น เรื่อง ต้อง งด จ่ายเงินรางวัล เพราะ เป็น การ ตรวจ พบ ตาม ปกติ วิสัย กลับ ทำ ความเห็นเสนอ ต่อ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง ขณะ นั้น ดำรง ตำแหน่ง รองอธิบดี ปฏิบัติ ราชการแทน อธิบดี จำเลย ที่ 1 เห็นควร อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน รางวัล ได้ เป็นเหตุให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย จ่ายเงิน รางวัล ไป 5,583,805.20 บาทโดย จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด และ ผู้มีชื่อ อีก 5 คน ได้รับ ไป โจทก์ ได้ แจ้งให้ จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด คืนเงิน ตาม ส่วน ที่ รับ ไป แก่ โจทก์ เป็น เงินจำนวน 5,475,905.60 บาท แต่ จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด เพิกเฉย จำเลย ที่ 2และ ที่ 5 ซึ่ง เป็น ผู้กระทำ ละเมิด จึง ต้อง รับผิด ชดใช้ เงิน จำนวนดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย ระหว่าง ผิดนัด อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับตั้งแต่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่ง เป็น วันที่ โจทก์ จ่ายเงินรางวัล ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ให้ จ่ายเงิน รางวัลของ จำเลย ที่ 2 และ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด คืนเงิน ตาม ส่วนที่ รับ ไป พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้องไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ หาก คืน ไม่ได้ ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 5ร่วมกัน ชดใช้ แทน โดย ให้ ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด ให้การ ว่า การ จับกุม สินค้า ราย พิพาท นี้เป็น การปฏิบัติหน้าที่ โดยชอบ ด้วย ระเบียบ คำสั่ง และ กฎหมาย ศุลกากรและ ไม่ใช่ เป็น การ ตรวจ พบ โดยปกติ วิสัย อัน จะ ทำให้ ต้อง งด จ่ายเงิน รางวัลจำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด เป็น เจ้าพนักงาน ศุลกากร มีอำนาจ ที่ จะ จับกุมและ ยึด สินค้า ผิด กฎหมาย สินค้า ที่ ห้าม นำเข้า หรือ ต้อง กำจัด การ นำเข้าได้ ทันที หา จำต้อง รอ ให้ ผู้นำ เข้า ดำเนินการ เสีย ภาษี ศุลกากรหรือ รอ ให้ สินค้า นั้น ตกเป็น ของ ตก ค้าง ตาม ฟ้องโจทก์ เสีย ก่อน ไม่อำนาจ การ สั่งจ่าย เงินรางวัล เป็น อำนาจ ของ อธิบดี กรมศุลกากรที่ จะ ใช้ ดุลพินิจ สั่งการ ตาม หลัก บริหาร ราชการ เป็น อำนาจ เด็ดขาดไม่ ปรากฎ ว่า เป็น การกระทำ โดยทุจริต หรือ ประมาท เลินเล่อ โจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง เพิกถอน คำสั่ง ที่ อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน รางวัล ได้ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด คืนเงินแก่ โจทก์ ดังนี้ จำเลย ที่ 1 จำนวน 211,752.98 บาท จำเลย ที่ 2 จำนวน200,973.02 บาท จำเลย ที่ 3 จำนวน 200,963.02 บาท จำเลย ที่ 4ถึง ที่ 6 จำนวน คน ละ 190,173.06 บาท จำเลย ที่ 7 จำนวน 168,593.14 บาทจำเลย ที่ 8 และ ที่ 9 จำนวน คน ละ 179,383.10 บาท จำเลย ที่ 10ถึง ที่ 13 จำนวน คน ละ 168,593.14 บาท จำเลย ที่ 14 ถึง ที่ 20 จำนวนคน ละ 157,803.18 บาท จำเลย ที่ 21 จำนวน 86,319.68 บาท จำเลย ที่ 22ถึง ที่ 27 จำนวน คน ละ 75,529.72 บาท จำเลย ที่ 28 ถึง ที่ 43 จำนวน คน ละ64,739.76 บาท จำเลย ที่ 44 ถึง ที่ 49 จำนวน คน ละ 53,949.80 บาทจำเลย ที่ 50 ถึง 56 จำนวน คน ละ 10,789.96 บาท และ จำเลย ที่ 57จำนวน 10,789.96 บาท (ที่ ถูก เป็น 10,790.56 บาท )พร้อม ด้วยดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์ หาก คืน ไม่ได้ ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 5 ร่วมกัน ชดใช้ แทนให้ แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับ ถัดจาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 5ร่วมกัน ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน5,475,905.60 บาท นับแต่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 ถึง วันฟ้องเป็น เงิน 1,338,174.43 บาท ให้ แก่ โจทก์ คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 คืนเงิน แก่ โจทก์จำนวน 200,963.02 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น ยกอุทธรณ์ จำเลย ที่ 50 ถึง ที่ 57
จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดีใน ศาลชั้นต้น รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ใน เบื้องต้น ว่า เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2528 นาย เจอรอยด์ เจมส์ ไอท์เคน ผู้นำ เข้า ได้ นำเข้า สินค้า ราย พิพาท โดย สำแดง ไว้ ใน บัญชี สินค้า สำหรับ เรือ ว่าสินค้า ที่ นำเข้า เป็น ของ ที่ บริจาค เพื่อ การ กุศล คือ รถจักรยานยนต์เสื้อผ้า เก่า จักรเย็บผ้า เก่า ๆ ฯลฯ ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 แผ่น ที่ 2ต่อมา หน่วย ตรวจสอบ เฉพาะ กิจ โดย จำเลย ที่ 6 ซึ่ง เป็น หัวหน้า หน่วยมี บันทึก ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2528 ไป ยัง กองตรวจสินค้าขาเข้าและ กอง ควบคุม ยาน และ สินค้า ขอ อายัด สินค้า ราย พิพาท โดย ระบุ ว่าหาก ผู้นำ เข้า มา ติดต่อ ด้าน พิธี การ หรือ ขอ ตรวจ ปล่อย สินค้า ราย พิพาท นี้ให้ แจ้ง หน่วย ตรวจสอบ เฉพาะ กิจ ทราบ เพื่อ จะ ได้ จัด ส่ง เจ้าหน้าที่มา ร่วม ทำการ ตรวจสอบ สินค้า ต่อไป ต่อมา กองตรวจสินค้าขาเข้า โดยจำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ผู้อำนวยการ กอง ทำ บันทึก ลง วันที่ 18 ตุลาคม 2528ถึง รองอธิบดี ฝ่าย ปฏิบัติการ ว่า ตาม ที่ ได้ แจ้ง อายัด สินค้า ราย พิพาทผู้นำ เข้า สินค้า ราย พิพาท เป็น ราย เดียว กับ ที่ ถูกจับ กรณี ซุกซ่อน ของประเภท ผ้า และ ของ อื่น ปะปน มา กับ ของ ที่ นำเข้า เพื่อ บริจาค แก่ ประชาชนบัดนี้ ระยะเวลา ล่วงเลย มา นาน พอสมควร แล้ว แต่ ผู้นำ เข้า มิได้ ยื่นใบขนสินค้า เพื่อ ขอ ทำการ ตรวจ ปล่อย ของ จึง ขออนุมัติ ตั้ง คณะกรรมการเปิด ตรวจ ของ ราย นี้ โดย กองตรวจสินค้าขาเข้า เป็น เจ้าของ เรื่องจำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น รองอธิบดี ฝ่าย ปฏิบัติการ สั่ง ดำเนินการ ตาม เสนอเมื่อ คณะกรรมการ เปิด ตรวจ ได้ เปิด ตรวจสอบ แล้ว ปรากฎ ว่า สินค้า ที่ ตรวจ พบเป็น ของ ต้อง อากร และ ควบคุม การ นำเข้า เป็น ความผิด ตาม กฎหมาย ศุลกากรจึง จับกุม และ ยึด สินค้า พิพาท ไว้ ต่อมา ผู้นำ เข้า ขอ ทำ ความ ตกลงระงับ คดี ใน ชั้น ศุลกากร โดย ยก ของกลาง ทั้งหมด ให้ ตกเป็น ของ แผ่นดินโจทก์ ตั้ง คณะกรรมการ รับมอบ และ จำหน่าย ของกลาง ได้ เงิน จำนวน18,612,684 บาท ต่อมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2529 จำเลย ที่ 4 ขออนุมัติ เบิกเงิน รางวัล เพื่อ จ่าย ให้ แก่ ผู้จับกุม พวก โดย อ้างว่า เป็น ไปตาม ระเบียบ กรมศุลกากร ว่าด้วย การ จ่ายเงิน สินบน และ รางวัล พ.ศ. 2517จำเลย ที่ 5 ซึ่ง เป็น ผู้อำนวยการ กองคดี ทำ ความเห็น สมควร อนุมัติให้ จ่ายเงิน รางวัล ต่อ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 มี คำสั่ง อนุมัติ ตามเสนอ โดย จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด แต่ละ คน ได้รับ เงินรางวัล ไป ตาม ที่โจทก์ ฟ้อง
สำหรับ จำเลย ที่ 50 ถึง ที่ 57 ฎีกา ข้อ แรก ว่า อุทธรณ์ ของ จำเลยที่ 50 ถึง ที่ 57 มี ทั้ง ปัญหาข้อเท็จจริง และ ข้อกฎหมาย และ มีเหตุลักษณะคดี ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 5 จะ ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 50ถึง ที่ 57 ทั้ง คดี มี คำขอ ท้ายฟ้อง ให้ เพิกถอน คำสั่ง จ่ายเงิน รางวัล ของจำเลย ที่ 2 ด้วย อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 50 ถึง ที่ 57 จึง หา เป็น อุทธรณ์ที่ ต้องห้าม ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ไม่ นั้น เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ฟ้อง ว่า คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 2 ที่ อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน รางวัล ตาม บันทึกเสนอ ของ จำเลย ที่ 5 เป็น คำสั่ง ที่ มิชอบ ด้วย กฎหมาย จำเลย ทั้งห้า สิบ เจ็ด จึง ต้อง คืนเงิน รางวัล แก่ โจทก์ ตาม ส่วน ที่ จำเลย แต่ละ คนรับ ไป สิทธิเรียกร้อง ของ โจทก์ ตาม ฟ้อง จึง ตั้ง ฐาน มาจาก คำสั่ง ที่มิชอบ ด้วย กฎหมาย ของ จำเลย ที่ 2 แม้ โจทก์ จะ เรียกร้อง จาก จำเลย แต่ละ คนมี จำนวนเงิน ที่ แน่นอน แต่ โจทก์ ก็ ยัง มี คำขอ ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 5ร่วมกัน ชดใช้ เงินรางวัล ทั้งหมด แทน จำเลย อื่น ทั้ง ศาลชั้นต้น ได้พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 5 ร่วมกัน ชดใช้ แทน จำเลย อื่น ด้วยจำเลย ทุกคน จึง มีผล ประโยชน์ ร่วมกัน ใน มูล ความ แห่ง คดี อัน มี ทุนทรัพย์ทั้งหมด ตาม ที่ โจทก์ เรียกร้อง จาก จำเลย ทุกคน อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 50ถึง ที่ 57 จึง มิใช่ อุทธรณ์ ที่ ต้องห้าม ตาม กฎหมาย อย่างไร ก็ ตามจำเลย ที่ 50 ถึง ที่ 57 ได้ อุทธรณ์ ด้วย ว่า อำนาจ การ สั่งจ่าย เงินรางวัล เป็น อำนาจ โดยเฉพาะ ตัว ของ อธิบดี เป็น อำนาจ ทาง ด้าน การ บริหารราชการ และ เป็น อำนาจ เด็ดขาด ของ อธิบดี ไม่อาจ ถูก เพิกถอน ได้ โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็น ข้อกฎหมาย ซึ่ง หา ได้ ต้องห้าม อุทธรณ์ แต่อย่างใด ไม่ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ยก อุทธรณ์ จำเลย ที่ 50 ถึง ที่ 57และ ให้ คืน ค่าธรรมเนียมศาล ชั้นอุทธรณ์ ทั้งหมด ของ จำเลย ที่ 50ถึง ที่ 57 จึง ไม่ถูกต้อง กรณี ไม่ต้อง คืน ค่าธรรมเนียมศาล ชั้นอุทธรณ์ทั้งหมด แก่ จำเลย ที่ 50 ถึง ที่ 57
ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 5 ใช้ ดุลพินิจ ในการ ปฏิบัติ ราชการ โจทก์ จะ มี ความเห็น ด้วย หรือไม่ ก็ ได้ จำเลย ที่ 2ใช้ อำนาจ ของ อธิบดี กรมศุลกากร พิจารณา สั่ง ให้ จ่ายเงิน รางวัล เป็นอำนาจ เด็ดขาด ไม่อาจ ถูก เพิกถอน ได้ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง นั้น เห็นว่าคดี นี้ โจทก์ ฟ้อง เรียกเงิน รางวัล คืน จาก จำเลย แต่ละ คน โดย อ้างว่าคำสั่ง ของ จำเลย ที่ 2 ที่ อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน รางวัล ตาม บันทึก เสนอ ของจำเลย ที่ 5 เป็น คำสั่ง ที่ มิชอบ ด้วย กฎหมาย โดย เป็น คำสั่ง ที่ไม่ถูกต้อง ตาม ระเบียบ กรมศุลกากร ว่าด้วย การ จ่ายเงิน สินบน และ เงินรางวัล พ.ศ. 2517 ข้อ 4(1), 6(5) ออก โดย มาตรา 102 ตรีแห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่ง มาตรา ดังกล่าว บัญญัติว่า “ให้ อธิบดี มีอำนาจ สั่งจ่าย เงินสินบน และ รางวัล ตาม ระเบียบ ที่อธิบดี กรม กำหนด ” และ ระเบียบ กรมศุลกากร ว่าด้วย การ จ่ายเงิน สินบนและ รางวัล พ.ศ. 2517 ข้อ 4(1) กำหนด ว่า “กรณี ตาม มาตรา 102 ตรีอนุมาตรา 1 คือ ความผิด ฐาน ลักลอบ หนี ศุลกากร หรือ ของ ต้องห้ามต้อง กำจัด ใน การ นำเข้า มา ใน หรือ ส่งออก ไป นอก ราชอาณาจักร ใน กรณีที่ ผู้แจ้งความ นำ จับ ให้ หัก จ่าย เป็น เงินสินบน ร้อยละ 30 เป็น เงินรางวัล ร้อยละ 25 กรณี ที่ ไม่มี ผู้แจ้งความ นำ จับ ให้ หัก จ่าย เป็นรางวัล ร้อยละ 30 โดย คำนวณ จาก ค่าปรับ ” ส่วน ข้อ 6(5) กำหนด ว่า”เงินรางวัล ตาม ข้อ 4(1) และ (2) ให้ จ่าย แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ตาม หลักเกณฑ์ และ เงื่อนไข ดังนี้ (5) เงินรางวัล จะ ไม่จ่าย ให้ใน กรณี ที่ อธิบดี กรมศุลกากร พิจารณา เห็นว่า ความผิด ที่ เกิดขึ้นเป็น ความผิด ซึ่ง ตาม ปกติ วิสัย ย่อม จะ ตรวจ พบ อยู่ แล้ว เช่น เป็น ความผิดเกี่ยวกับ พิธี การ หรือ เอกสาร เป็นต้น ” บทบัญญัติ ของ กฎหมาย และข้อกำหนด ใน ระเบียบ ดังกล่าว ข้างต้น แสดง ว่า อธิบดี กรมศุลกากรเป็น ผู้มีอำนาจ ใน การ สั่งจ่าย เงินรางวัล แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ได้ ตามจำนวน ใน ข้อ 4(1) ส่วน ข้อยกเว้น ที่ จะ ไม่จ่าย เงินรางวัล คง เป็น ไป ตามข้อ 6(5) คือ ใน กรณี ที่ อธิบดี กรมศุลกากร พิจารณา เห็นว่า ความผิดที่ เกิดขึ้น เป็น ความผิด ซึ่ง ตาม ปกติ วิสัย ย่อม จะ ตรวจ พบ อยู่ แล้วเท่านั้น ซึ่ง เป็น การ ให้ อำนาจ แก่ อธิบดี กรมศุลกากร ที่ จะ ใช้ ดุลพินิจได้ โดย ลำพัง ว่า ความผิด ที่ เกิดขึ้น อันเป็น เหตุ ให้ มี การ จ่ายเงินรางวัล นั้น เป็น ความผิด ซึ่ง ตาม ปกติ วิสัย ย่อม จะ ตรวจ พบ อยู่ แล้วหรือไม่ บทบัญญัติ ดังกล่าว หา เป็น เงื่อนไข เด็ดขาด ที่ จะ ต้อง งด การ จ่ายเงินรางวัล ดัง เช่น ที่ กำหนด ไว้ ใน ข้อ 11 และ ข้อ 12 แห่ง ระเบียบดังกล่าว ข้างต้น ไม่ เมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฎ ว่า มี การกระทำ ความผิดฐาน ลักลอบ หนี ศุลกากร หรือ ของ ต้องห้าม ต้อง กำจัด ใน การ นำเข้า มา ในราชอาณาจักร อัน มีผล ทำให้ มี การ จ่ายเงิน รางวัล ตาม ระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วย การ จ่ายเงิน สินบน และ รางวัล พ.ศ. 2517 ข้อ 4(1)และ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง ใช้ อำนาจ ของ อธิบดี กรมศุลกากร พิจารณา สั่ง ให้ จ่ายเงินรางวัล โดย ไม่ได้ ปรากฎ ว่า จำเลย ที่ 2 ซึ่ง ใช้ อำนาจ ของ อธิบดีกรมศุลกากร หรือ อธิบดี กรมศุลกากร ใน ขณะ นั้น ได้ พิจารณา เห็นว่าความผิด ที่ เกิดขึ้น จาก การ ตรวจ จับ สินค้า ราย พิพาท นี้ เป็น ความผิดซึ่ง ตาม ปกติ วิสัย ย่อม จะ ตรวจ พบ อยู่ แล้ว และ สั่ง มิให้ จ่ายเงิน รางวัลแต่ ประการใด คำสั่ง ให้ จ่ายเงิน รางวัล ของ จำเลย ที่ 2 จึง หา เป็นคำสั่ง ที่ ผิด ต่อ ระเบียบ กรมศุลกากร ว่าด้วย การ จ่ายเงิน สินบน และรางวัล พ.ศ. 2517 ดัง ที่ โจทก์ อ้าง ใน ฟ้อง ไม่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 57จึง ไม่ต้อง คืนเงิน รางวัล แก่ โจทก์ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ส่วน ที่โจทก์ ฟ้อง กล่าวหา ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ กระทำ โดยประมาท เลินเล่อไม่ ตรวจสอบ หลักฐาน และ พิจารณา หลักเกณฑ์ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน ระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วย การ จ่ายเงิน สินบน และ รางวัล พ.ศ. 2517 นั้นเห็นว่า โจทก์ นำสืบ แต่เพียง ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ทราบ ถึง การ จับกุมสินค้า ราย พิพาท คดี นี้ และ ความผิด อัน เกี่ยวกับ การ จับกุม สินค้าราย พิพาท คดี นี้ เป็น ความผิด ซึ่ง ตาม ปกติ วิสัย ย่อม จะ ตรวจ พบ อยู่ แล้วการ ที่ จำเลย ที่ 2 สั่ง อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน รางวัล แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้จับกุม จึง เป็น การ ไม่ชอบ ด้วย ระเบียบ กรมศุลกากรดังกล่าว ข้างต้น แต่ ปรากฎ ข้อเท็จจริง จาก พยานหลักฐาน ของ โจทก์และ จำเลย ที่ 2 ว่า ก่อน ที่ จำเลย ที่ 2 จะ มี คำสั่ง อนุมัติ ให้ จ่ายเงินรางวัล แก่ จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด นั้น จำเลย ที่ 2 ได้ ทราบ ถึง การ จับกุมสินค้า ราย พิพาท คดี นี้ ตาม รายงาน ผล การ ปฏิบัติงาน ลงวันที่24 ตุลาคม 2528 เอกสาร หมาย จ. 22 และ จำเลย ที่ 2 ยัง ได้ สั่งให้ ส่ง กองคดี ดำเนินคดี แก่ ผู้กระทำผิด ต่อไป ซึ่ง แสดง ว่า จำเลย ที่ 2ได้ ทราบ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ การ จับกุม สินค้า ราย พิพาท คดี นี้ มา ตั้งแต่แรก ต่อมา จึง มี การ เสนอ ขออนุมัติ เบิกเงิน รางวัล แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้จับกุม ตาม เอกสาร หมาย จ. 38, จ. 39 ซึ่ง เป็น การ เสนอ ผ่านขั้นตอน มา ตาม ระเบียบ การ ปฏิบัติ ราชการ ของ กรมศุลกากร ตาม ปกติทุกประการ จำเลย ที่ 2 ก็ ได้ ใช้ ดุลพินิจ พิจารณา แล้ว เห็นว่า มีเหตุที่ จะ อนุมัติ จ่ายเงิน รางวัล ได้ ตาม ระเบียบ กรมศุลกากร ว่าด้วย การจ่ายเงิน สินบน และ รางวัล พ.ศ. 2517 และ เห็นว่า มิใช่ เป็น กรณีความผิด ที่ เกิดขึ้น เป็น ความผิด ซึ่ง ตาม ปกติ วิสัย ย่อม จะ ตรวจ พบ อยู่ แล้วจึง ได้ มี คำสั่ง อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน รางวัล แก่ จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด ไปเมื่อ จำเลย ที่ 2 ได้ ใช้ ดุลพินิจ สั่ง อนุมัติ จ่ายเงิน รางวัล โดย ทราบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ การ จับกุม สินค้า ราย พิพาท คดี นี้ และ การ เสนอ ขออนุมัติ เบิกเงิน รางวัล ได้ กระทำ โดย ถูกต้อง ตาม ขั้นตอน ตาม ระเบียบการ ปฏิบัติ ราชการ แล้ว จึง ไม่อาจ ถือได้ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ใช้ ดุลพินิจโดยประมาท เลินเล่อ แต่อย่างใด กรณี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ข้อ อื่นของ จำเลย ทั้ง ห้า สิบ เจ็ด อีก ต่อไป ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์