คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5357/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาจ้างทำของเพียงข้อหาเดียวจำเลยที่2ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเป็นคำให้การชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงเรื่องจ้างทำของทั้งหมดขาดอายุความแล้วคำให้การจำเลยที่2จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์ทำงานเสร็จและส่งมอบงานให้จำเลยที่2เมื่อวันที่22สิงหาคม2530โจทก์ฟ้องคดีวันที่21สิงหาคม2532ยังไม่เกิน2ปีคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165เดิม(มาตรา193/34ที่แก้ไขใหม่) จำเลยที่2เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์ จำเลยที่2จึงมีนิติสัมพันธ์ในฐานะคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์แม้โบสถ์ดังกล่าวจะมิใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลยที่2หากแต่เป็นทรัพย์สินของมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพมหานครก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2เป็นคู่สัญญาจ้างทำของในฐานะผู้ว่าจ้างโจทก์ในการก่อสร้างโบสถ์แห่งนั้นแล้วจำเลยที่2ผิดสัญญาชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วนโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยที่2ได้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเพียงว่าจำเลยค้างชำระค่าวัสดุและค่าแรงงานโจทก์เป็นจำนวน1,500,000บาทศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่2จ้างโจทก์ให้ทำการแก้ไขออกแบบก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมภายในและภายนอกอาคาร โบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์และอื่นๆโดยหมดค่าจ้างเป็นเงิน2,000,000บาทกับค่าวัสดุและค่าแรงอีกเป็นเงิน3,000,000บาทเศษจำเลยที่2ชำระให้โจทก์แล้วบางส่วนคงค้างอยู่รวมต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน2,412,996.10บาทแต่โจทก์ขอเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองเพียง1,500,000บาทขอให้บังคับจำเลยที่2ชำระเงินจำนวนดังกล่าวโดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยที่2ชำระราคาความคิดสร้างสรรค์ด้วยดังนั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาจึงชอบแล้วเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ปรากฎว่าศาลอุทธรณ์ได้ประเมินราคาผลงานของโจทก์โดยรวมเอาค่าความคิดสร้างสรรค์ตามความเห็นของ บ. มารวมเป็นค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่อย่างใดดังนั้นฎีกาจำเลยที่2ที่ว่าโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าความคิดสร้างสรรค์เอาแก่จำเลยที่2การที่ศาลอุทธรณ์ประเมินผลงานของโจทก์โดยรวมเอาค่าความคิดสร้างสรรค์ตามความเห็นของบ.มารวมเป็นค่าจ้างแรงงานของโจทก์ด้วยเป็นการไม่ถูกต้องจำเลยที่2ย่อมไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าความคิดสร้างสรรค์ตามราคาประเมินของ บ. จึงเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ ประมาณ เดือน กรกฎาคม 2529จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ตัวแทน และ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะส่วนตัว ได้ว่า จ้าง ให้ โจทก์ ทำการ แก้ไข ออก แบบ ก่อสร้าง ตกแต่ง ภายในและ ภายนอก อาคาร โบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์ ต่อ จาก บริษัท ภัทรโยธา จำกัด และ ว่าจ้าง ให้ ทำงาน เพิ่มเติม ให้ อีก หลาย รายการ รวม การจ้าง งาน 2 ครั้ง โจทก์ ทำงาน เสร็จ แล้ว จึงส่งมอบ งาน ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง เมื่อ วันที่ 22 สิงหาคม 2530จำเลย ทั้ง สอง รับมอบ งาน โดย ไม่ อิดเอื้อน โจทก์ เรียกร้อง ให้ จำเลยทั้ง สอง ชำระ ค่าจ้าง เพียง 1,500,000 บาท จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉยขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน และ แทน กัน ชำระ เงิน จำนวน 1,500,000บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 22สิงหาคม 2530 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ จำเลย ที่ 2ไม่ได้ จ้าง ให้ โจทก์ ทำการ แก้ไข ออก แบบ ตกแต่ง ก่อสร้าง เพิ่มเติมตกแต่ง ภายใน และ ภายนอก โบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์ จำเลย ที่ 2ไม่มี นิติสัมพันธ์ ใน ฐานะ ผู้จ้าง กับ โจทก์ เพราะ โบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์ ไม่ใช่ ของ จำเลย ที่ 2 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระ เงิน จำนวน1,500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2530 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ยกฟ้อง จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย เรื่อง ผิดสัญญาจ้าง ทำของ เพียง ข้อหา เดียว จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เป็น คำให้การ ชัดแจ้ง ว่า ข้อเท็จจริง เรื่อง จ้างทำของทั้งหมด ขาดอายุความ แล้ว คำให้การ จำเลย ที่ 2 จึง ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ที่ ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย ปัญหา ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่จึง ไม่ชอบ แต่ ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา นี้ ไป ทีเดียว โดยไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ก่อน เมื่อ โจทก์ทำงาน เสร็จ และ ส่งมอบ งาน ให้ จำเลย ที่ 2 เมื่อ วันที่ 22 สิงหาคม 2530โจทก์ ฟ้องคดี วันที่ 21 สิงหาคม 2532 ยัง ไม่เกิน 2 ปี คดี โจทก์ไม่ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/34 ที่ แก้ไข ใหม่ ) จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ว่าจ้าง ให้ โจทก์ทำการ ก่อสร้าง โบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์ จริง ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 2 จึง มี นิติสัมพันธ์ ใน ฐานะ คู่สัญญา จ้างทำของ กับ โจทก์แม้ โบสถ์ ดังกล่าว จะ มิใช่ ทรัพย์สิน ส่วนตัว ของ จำเลย ที่ 2 หาก แต่ เป็นทรัพย์สิน ของ มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพมหานคร ก็ ตาม แต่เมื่อ จำเลย ที่ 2 เป็น คู่สัญญา จ้างทำของ ใน ฐานะ ผู้ว่าจ้าง โจทก์ ให้ ทำการก่อสร้าง โบสถ์ แห่ง นั้น แล้ว จำเลย ที่ 2 ผิดสัญญา ชำระ ค่าจ้าง ให้ แก่โจทก์ ไม่ครบ ถ้วน โจทก์ ก็ ชอบ ที่ จะ ฟ้องบังคับ เอา แก่ จำเลย ที่ 2 ได้
ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ มิได้ ฟ้อง เรียก ค่า ความ คิดสร้างสรรค์ เอา แก่ จำเลย ที่ 2 ดังนั้น การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ประเมินราคา ผลงาน ของ โจทก์ โดย รวม เอา ค่า ความ คิด สร้างสรรค์ ตาม ความเห็นของ นาย บุญส่ง นุชน้อม หัวหน้างาน ประติมากรรม ประเพณี ฝ่าย ประติมากรรม กอง หัตถศิลป์ กรมศิลปากร มา รวมเป็น ค่าจ้าง แรงงานของ โจทก์ ด้วย ย่อม เป็น การ ไม่ถูกต้อง ทั้ง นาย บุญส่ง ก็ มิได้ เป็น ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล และ ไม่ได้ เป็น พยาน คนกลาง เพราะ โจทก์ เป็น ฝ่าย นำนาย บุญส่ง มา เป็น พยาน เอง โดย ที่ จำเลย ที่ 2 มิได้ รู้เห็น ยินยอม ด้วย การ ประเมิน งาน ของ โจทก์ จึง เป็น การ ประเมิน ตาม ข้อมูล ของ โจทก์ ฝ่ายเดียวจำเลย ที่ 2 ย่อม ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่า ความ คิด สร้างสรรค์ ตามราคาประเมิน ของ นาย บุญส่ง แก่ โจทก์ นั้น เห็นว่า คดี นี้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย เพียง ว่า จำเลย ค้างชำระ ค่า วัสดุ และ ค่าแรงงาน โจทก์เป็น จำนวน 1,500,000 บาท ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2 จ้าง โจทก์ ให้ ทำการ แก้ไข ออก แบบ ก่อสร้าง ตกแต่งเพิ่มเติม ภายใน และ ภายนอก อาคาร โบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์ และ อื่น ๆ โดย หมด ค่าจ้าง เป็น เงิน 2,000,000 บาท กับ ค่า วัสดุและ ค่าแรง ตาม ฟ้อง ข้อ 2.1 ถึง 2.30 อีก เป็น เงิน 3,000,000 บาท เศษจำเลย ที่ 2 ชำระ ให้ โจทก์ แล้ว บางส่วน คง ค้าง อยู่ รวม ต้นเงิน และดอกเบี้ย ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 2,412,996.10 บาท แต่ โจทก์ ขอ เรียกร้องจาก จำเลย ทั้ง สอง เพียง 1,500,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 2ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว โดย มิได้ ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 2 ชำระ ราคาความ คิด สร้างสรรค์ ด้วย ดังนั้น ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย มา จึง ชอบแล้วเช่นนี้ ย่อม เป็น ที่ เห็น ได้ว่า ตาม คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ดังกล่าวไม่ ปรากฎ ว่า ศาลอุทธรณ์ ได้ ประเมิน ราคา ผลงาน ของ โจทก์ โดย รวม เอาค่า ความ คิด สร้างสรรค์ ตาม ความเห็น ของ นาย บุญส่ง มา รวมเป็น ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ แต่อย่างใด ฎีกา ของ โจทก์ จึง เป็น ฎีกา ที่ มิได้ โต้แย้งคำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ เป็น ฎีกา ที่ ไม่ ชัดแจ้ง ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายืน

Share