คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งใน3เหตุตามข้อความที่บัญญัติไว้ในมาตรา71(1)แห่งประมวลรัษฎากรเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้หาจำเป็นต้องมีเหตุครบทั้งสามประการไม่เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล(ภ.ง.ด.50)สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2527และ2528ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา68และมาตรา69แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นแบบการยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา71(1)การยื่นรายการของโจทก์ในภายหลังไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะได้เรียกให้จำเลยส่งเอกสารต่างๆไปเพื่อตรวจสอบแต่เมื่อได้ความแน่ชัดแล้วว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีอันเป็นเหตุหนึ่งที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา71(1)ได้แล้วก็หาจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนหาความจริงจากเอกสารที่โจทก์ส่งมอบการส่งมอบเอกสารของโจทก์ไม่ทำให้อำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวหมดสิ้นไป

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน หนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคลที่ 1048/2/05090 และ 1048/2/05091 ฉบับ ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2533และ เพิกถอน คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ชอบ ด้วย กฎหมายไม่มี เหตุ จะ ต้อง ตรวจสอบ บัญชี เอกสาร และ ประเมิน ภาษี ใหม่ จาก กำไร สุทธิของ โจทก์ ดัง ที่ โจทก์ อ้าง ปัญหา ความ พลั้งเผลอ และ ปัญหา แรงงานเป็น เรื่อง ภายใน ของ โจทก์ ที่ ต้อง ไป แก้ไข เอง โจทก์ ไม่อาจ นำ เหตุดังกล่าว มา อ้าง เพื่อ ให้ หลุดพ้น จาก หน้าที่ ตาม กฎหมาย ซึ่ง โจทก์ จะ ต้องปฏิบัติ โดย เคร่งครัด ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลยชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า เหตุ 3 ประการ ตามมาตรา 71(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร ที่ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลไม่ปฏิบัติ อัน ได้ แก่ (1) ไม่ยื่น รายการ ที่ จำเป็น ต้อง ใช้ ใน การคำนวณ ภาษี (2) มิได้ ทำ บัญชี หรือ ทำ ไม่ครบ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน มาตรา 17และ มาตรา 68 ทวิ (3) ไม่นำ บัญชี เอกสาร หรือ หลักฐาน อื่น มา ให้เจ้าพนักงาน ประเมิน ทำการ ไต่สวน ตาม มาตรา 19 หรือ มาตรา 23 นั้นจะ ต้อง พิจารณา ไป ตามลำดับ ขั้นตอน มิใช่ จะ เลือก ดู แต่ ข้อ หนึ่ง ข้อ ใด แล้วจะ ใช้ อำนาจ ประเมิน ตาม มาตรา 71(1) นี้ ได้ นั้น เห็นว่า ตาม ข้อความที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 71(1) นี้ ได้ บัญญัติ เหตุ 3 ประการ ดังกล่าวไว้ ต่างหาก จาก กัน โดยชัดแจ้ง แล้ว โดย มี คำ ว่า “หรือ ” อยู่ ระหว่างเหตุ ที่ (1) กับ (2) และ เหตุ ที่ (2) กับ (3) ย่อม หมายความ ได้ว่าเมื่อ มีเหตุ ใด เหตุ หนึ่ง ใน 3 เหตุ นั้น เจ้าพนักงาน ประเมิน ก็ มีอำนาจประเมิน ภาษี ได้ แล้ว หา จำเป็น ต้อง มีเหตุ ครบ ทั้ง 3 ประการ ไม่หาก กฎหมาย ประสงค์ เช่นนั้น ก็ น่า จะ ใช้ คำ ว่า “และ ” เป็น คำ เชื่อม ระหว่างเหตุ ทั้ง สาม ดังกล่าว แล้ว อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อไป ว่า เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย จะ ต้องทำการ ตรวจสอบ ไต่สวน จาก เอกสาร ต่าง ๆ ที่ เรียก ให้ โจทก์ ส่ง ไป เพื่อตรวจสอบ เสีย ก่อน หาก ไม่สามารถ ทราบ ได้ว่า โจทก์ มี รายได้ หรือ รายจ่ายที่ แท้จริง เพียงใด จึง จะ ทำการ ประเมิน ตาม มาตรา 71(1) นี้ ได้เมื่อ เอกสาร ต่าง ๆ ที่ โจทก์ ส่ง ให้ จำเลย ไป แล้ว นั้น เพียงพอ ต่อ การตรวจสอบ แล้ว การ ประเมิน ของ โจทก์ จึง ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า แม้ เจ้าพนักงานประเมิน ของ จำเลย จะ ได้ เรียก ให้ จำเลย ส่ง เอกสาร ต่าง ๆ ไป เพื่อ ตรวจสอบแต่เมื่อ ได้ความ แน่ชัด แล้ว ว่า โจทก์ ไม่ได้ ยื่น รายการ ที่ จำเป็นต้อง ใช้ ใน การ คำนวณ ภาษี อันเป็น เหตุ หนึ่ง ที่ เจ้าพนักงาน ประเมินของ จำเลย จะ ใช้ อำนาจ ประเมิน ภาษี ตาม มาตรา 71(1) ได้ แล้ว ก็ หา จำเป็นที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย จะ ต้อง ทำการ ตรวจสอบ ไต่สวน หา ความจริงจาก เอกสาร ที่ โจทก์ ส่งมอบ การ ส่งมอบ เอกสาร ของ โจทก์ ไม่ทำ ให้ อำนาจการ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ดังกล่าว หมดสิ้น ไป คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่2231/2534 ซึ่ง วินิจฉัย โดย ที่ ประชุมใหญ่ ที่ โจทก์ อ้าง มา นั้นเป็น เรื่อง การ ใช้ อำนาจ ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ใน การ ประเมิน ภาษีของ บุคคลธรรมดา ตาม มาตรา 49 ซึ่ง มี บทบัญญัติ แตกต่าง ไป จาก มาตรา 71(1)เป็นต้น ว่า ใน มาตรา 49 มี บทบัญญัติ ให้ นำ อำนาจ การ ตรวจสอบ ไต่สวนตาม มาตรา 19 ถึง 26 มา ใช้ ด้วย แต่ ตาม มาตรา 71(1) หา ได้ มี บทบัญญัติดังกล่าว แต่อย่างใด ไม่ จึง มิอาจ นำ มา ใช้ กับ คดี นี้ ได้ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ว่าการ กระทำ ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย เป็น การ ขัดคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.5/2527 ข้อ 1 นั้น ปรากฏว่า คำสั่ง กรมสรรพากรดังกล่าว ห้าม เจ้าพนักงาน ประเมิน ทำการ ประเมิน โดย อาศัย อำนาจ ตามมาตรา 71(1) เมื่อ ได้ ออกหมาย เรียก ให้ นิติบุคคล นำ บัญชี เอกสาร หรือหลักฐาน มา ให้ เจ้าพนักงาน ทำการ ตรวจสอบ และ นิติบุคคล นั้น ได้ ส่งบัญชี เอกสาร หรือ หลักฐาน ประกอบการ ลง บัญชี ที่ จำเป็น ต้อง ใช้ ใน การคำนวณ ภาษี แล้ว ก็ เฉพาะ แต่ เหตุ ที่ นิติบุคคล นั้น ไม่นำ บัญชี เอกสารหรือ หลักฐาน อื่น มา ให้ เจ้าพนักงาน ทำการ ตรวจสอบ ไม่ได้ เท่านั้นแต่ การ ใช้ อำนาจ ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ทำการ ประเมิน โดย อาศัยมาตรา 71(1) ใน คดี นี้ เนื่องจาก เหตุ ที่ โจทก์ ซึ่ง เป็น นิติบุคคลไม่ยื่น รายการ ซึ่ง จำเป็น ต้อง ใช้ ใน การ คำนวณ ภาษี คน ละ เหตุ กับ ข้อห้ามตาม คำสั่ง จึง ไม่อยู่ ใน ข้อห้าม ของ คำสั่ง ดังกล่าว แต่ กลับ เห็น ได้ว่าการกระทำ ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย เป็น การกระทำ โดยชอบ ด้วยคำสั่ง ดังกล่าว ข้อ 3 เสีย ด้วย ซ้ำ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ นี้ ก็ ฟังไม่ขึ้น
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อไป ว่า การ ที่ โจทก์ ยื่น ภ.ง.ด. 50 ของ รอบ ระยะเวลาบัญชี ปี 2527 และ 2528 ใน วันที่ 11 และ 12 มิถุนายน 2530 เป็น เพียงการ ยื่น ล่าช้า เท่านั้น ไม่เป็นเหตุ ที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน จะ ใช้ อำนาจตาม มาตรา 71(1) ได้ นั้น เห็นว่า เหตุ ที่ จะ ใช้ อำนาจ ตาม มาตรา 71(1)เหตุ แรก นั้น กฎหมาย บัญญัติ ว่า “บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ใดไม่ยื่น รายการ ซึ่ง จำเป็น ต้อง ใช้ ใน การ คำนวณ ภาษี ตาม บทบัญญัติใน ส่วน นี้ เจ้าพนักงาน ประเมิน มีอำนาจ ประเมิน ” และ มาตรา 69 ซึ่ง อยู่ใน ส่วน เดียว กัน กับ มาตรา 71(1) บัญญัติ ว่า “ภายใน หนึ่ง ร้อย ห้า สิบ วันนับแต่ วัน สุดท้าย ของ รอบ ระยะเวลา บัญชี ให้ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ยื่น รายการ ซึ่ง จำเป็น ต้อง ใช้ ใน การ คำนวณ ภาษี ต่อ เจ้าพนักงานประเมิน ตาม แบบ ที่ อธิบดี กำหนด ” ดังนั้น โจทก์ จึง มี หน้าที่ ต้อง ยื่นรายการ ซึ่ง จำเป็น ต้อง ใช้ ใน การ คำนวณ ภาษี ภายใน หนึ่ง ร้อย ห้า สิบ วันนับแต่ วัน สุดท้าย ของ รอบ ระยะเวลา บัญชี หาก ไม่ยื่น ภายใน กำหนดเจ้าพนักงาน ประเมิน มีอำนาจ ประเมิน ตาม มาตรา 71(1) ทันที ใน กรณีของ โจทก์ วัน สุดท้าย ที่ โจทก์ จะ ยื่น รายการ สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชีปี 2527 และ 2528 คือ วันที่ 28 ธันวาคม 2528 และ 28 ธันวาคม 2529ตามลำดับ แต่ โจทก์ ยื่น รายการ เมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2530 และ12 มิถุนายน 2530 ซึ่ง เกิน กำหนด เวลา ไป 527 วัน และ 163 วัน ตามลำดับเจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย จึง มีอำนาจ ประเมิน ได้ ตาม มาตรา 71(1)การ ยื่น รายการ ของ โจทก์ ใน ภายหลัง ไม่อาจ ลบล้าง อำนาจ ของ เจ้าพนักงานประเมิน ของ จำเลย ได้ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ นี้ ก็ ฟังไม่ขึ้น
โจทก์ อุทธรณ์ เป็น ข้อ สุดท้าย ว่า ภ.ง.ด. 50 มิใช่ รายการ ซึ่ง จำเป็นต้อง ใช้ ใน การ คำนวณ ภาษี ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 71(1) เห็นว่าภ.ง.ด. 50 หรือ แบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตาม มาตรา 68 และ มาตรา 69 แห่ง ประมวลรัษฎากร ก็ คือ แบบ การยื่น รายการ ที่ จำเป็น ต้อง ใช้ ใน การ คำนวณ ภาษี ที่ อธิบดี กำหนด ขึ้นตาม มาตรา 68 และ 69 ซึ่ง เป็น แบบ การ ยื่น รายการ ที่ กล่าว ไว้ ในมาตรา 71(1) นั้นเอง ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย กับ คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share