แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์กับจำเลยแยกกันอยู่มากว่า3ปีแต่การแยกกันอยู่นั้นมิใช่ด้วยความสมัครใจของจำเลยเป็นเพียงลำพังความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียวจึงหาทำให้โจทก์เกิดสิทธิฟ้องหย่าจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(4/2)ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ จดทะเบียนสมรส กับ จำเลย ระหว่าง สมรสได้ ซื้อ ที่ดิน เป็น สินสมรส 3 แปลง คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 9296 เลขที่12424 และ เลขที่ 43834 รวม ราคา 1,100,000 บาท ตั้งแต่ ปี 2528เป็นต้น มา จำเลย ก่อหนี้ สิน ไว้ กับ บุคคลอื่น เป็น จำนวน มาก และ มี เรื่องทะเลาะ เบาะแว้ง กับ ญาติ พี่น้อง โจทก์ เป็น ประจำ จน กระทั่ง กลาง ปี 2530โจทก์ และ จำเลย ไม่อาจ อยู่ ร่วมกัน ฉัน สามี ภริยา ได้ โดยปกติสุข จึง สมัครใจ แยก กัน อยู่ โดย ไม่ ติดต่อ กัน มา เป็น เวลา กว่า 4 ปี แล้ว ขอให้ พิพากษาให้ จำเลย ไป จดทะเบียน หย่า กับ โจทก์ และ แบ่ง สินสมรส แก่ โจทก์ครึ่ง หนึ่ง เป็น เงิน 550,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย จดทะเบียนสมรส กับ โจทก์ อยู่กิน เป็นสามี ภริยา กัน ตั้งแต่ ปี 2517 โจทก์ รับ ราชการ อยู่ ต่างจังหวัด หลายจังหวัด ส่วน จำเลย เป็น ผู้ เลี้ยงดู บุตร ทั้ง สาม อยู่ ที่ บ้าน โดย โจทก์เป็น ฝ่าย ไป มา หา สู่ เยี่ยมเยียน จำเลย และ บุตร ตลอดมา จน ตั้งแต่ ปี2530 โจทก์ ไม่ได้ มา เยี่ยมเยียน จำเลย และ บุตร ตาม ปกติ โดย ไป มี ความสัมพันธ์ ฉัน ชู้สาว กับ หญิง อื่น โจทก์ เป็น ฝ่าย ทอดทิ้ง จำเลย การ ที่โจทก์ ไม่ไป มา หา สู่ จำเลย เป็น การกระทำ โดย ความสมัครใจ ของ โจทก์จำเลย มิได้ สมัครใจ แยก กัน อยู่ กับ โจทก์ แต่อย่างใด ที่ดิน สินสมรสระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย มี เฉพาะ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 12424 เท่านั้นที่ดิน โฉนด เลขที่ 9296 เป็น ของ บิดา จำเลย ส่วน ที่ดิน โฉนด เลขที่43834 มี ชื่อ นาง จินดา พี่สาว โจทก์ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึง มิใช่ สินสมรส ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า โจทก์ จำเลย จดทะเบียนสมรส กัน เมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2517มี บุตร ด้วยกัน 3 คน คือ นางสาว จรรยารักษ์ สุวพันธ์ อายุ 16 ปี เศษ เด็ก ชาย วุฒิศักดิ์ สุวพันธ์ อายุ 14 ปี เศษ และ เด็ก ชาย สิริวัฒน์ สุวพันธ์ อายุ 13 ปี เศษ โจทก์ มี อาชีพ รับ ราชการ ที่ องค์การ สวน ยาง สมรส แล้ว โจทก์ ต้อง ย้าย ไป รับ ราชการ ต่างจังหวัด ตาม ลำพัง ส่วน จำเลยไม่ได้ ติดตาม ไป อยู่ ด้วย คง พัก อาศัย อยู่ ที่ ตำบล ท่าวัง อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช และ เป็น ผู้ เลี้ยงดูบุตร ทั้ง สาม โดย จำเลย ประกอบ อาชีพ ค้าขาย และ รับจ้าง ตัด เย็บ เสื้อผ้าช่วยเหลือ ครอบครัว ด้วย โจทก์ จะ เป็น ผู้ กลับมา เยี่ยมเยียน ดูแลจำเลย และ บุตร เป็น ประจำ โจทก์ ไม่เคย ย้าย มา ประจำ อยู่ ที่จังหวัด นครศรีธรรมราช เลย ครั้งสุดท้าย ย้าย กลับมา ประจำ ที่ จังหวัดกระบี่ เมื่อ ปี 2525 ต่อมา โจทก์ ไม่ ค่อย กลับ ไป หา จำเลย ตาม ปกติจำเลย กล่าวหา ว่า โจทก์ ไป ติดพัน นาง จารีย์ ซึ่ง รับ ราชการ ครู สังกัด สำนักงาน การศึกษา นอก โรงเรียน จังหวัด กระบี่ ฉัน ชู้สาว และ จำเลยได้ ร้องเรียน เกี่ยวกับ เรื่อง นี้ ต่อ ผู้บังคับบัญชา ทั้ง ของ โจทก์ และ ของนาง จารีย์ ด้วย มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า โจทก์ กับ จำเลย สมัครใจ แยก กัน อยู่ เพราะ เหตุ ไม่อาจ อยู่ ร่วมกันฉัน สามี ภริยา ได้ โดยปกติสุข ตลอดมา เกิน 3 ปี หรือไม่ โจทก์ มี พยาน คือตัว โจทก์ เบิกความ ว่า ชีวิต สมรส ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ไม่อาจ จะ อยู่ร่วมกัน ฉัน สามี ภริยา ได้ โดยปกติสุข เลย ตั้งแต่ ปี 2525 เพราะ จำเลยไม่ยอม ติดตาม ไป อยู่ ด้วยกัน กับ โจทก์ โดย ไม่มี เหตุผล กลับ ก่อหนี้ สินเป็น ภาระ แก่ ครอบครัว มากมาย โจทก์ ตักเตือน ห้ามปราม ก็ ไม่ เชื่อฟังโจทก์ กับ พี่สาว ต้อง รับ ภาระ ผ่อนชำระ หนี้ แทน ต่อมา กลาง ปี 2530 โจทก์จำเลย จึง แยก กัน อยู่ โดย ไม่ได้ จดทะเบียน หย่า ฝ่าย จำเลย อ้างว่าได้ ตกลง กับ โจทก์ ให้ จำเลย อยู่ บ้าน เลี้ยงดู บุตร โดย ไม่ ติดตาม โจทก์ ไปแต่ โจทก์ จะ เป็น ฝ่าย มา เยี่ยมเยียน จำเลย และ บุตร เมื่อ โจทก์ ย้าย กลับมาประจำ อยู่ ที่ จังหวัด กระบี่ จน กระทั่ง ปี 2530 โจทก์ เริ่ม กลับมา หาจำเลย บ้าง ไม่มา บ้าง ค่า อุปการะ เลี้ยงดู ที่ เคย ส่ง ให้ ประจำ ก็ กลาย เป็นส่ง บ้าง ไม่ส่ง บ้าง เพราะ โจทก์ ไป ติดพัน นาง จารีย์ จำเลย กับ โจทก์ ได้ ทะเลาะ กัน ต่อมา ปี 2532 โจทก์ มักจะ มา หา แต่ บุตร ไม่ ค่อย มา หา จำเลย อีกเห็นว่า โจทก์ คง มี แต่ ตัว โจทก์ เป็น พยาน เพียง ปาก เดียว ที่ เบิกความยืนยัน ถึง ข้อ บกพร่อง เสียหาย ของ จำเลย อันเป็น สาเหตุ ให้ เกิดการ ทะเลาะ เบาะแว้ง ถึง ขั้น ที่ ไม่อาจ จะ อยู่กิน ด้วยกัน ได้ ต่อไป และแยก กัน อยู่ ใน ที่สุด ซึ่ง ก็ เป็น คำเบิกความ ลอย ๆ ปราศจาก หลักฐาน อื่น ใดสนับสนุน ส่วน จำเลย นอกจาก จำเลย จะ ปฏิเสธ ข้อกล่าวหา ของ โจทก์ แล้วยัง นำสืบ สาเหตุ ความ บาดหมาง ระหว่าง โจทก์ จำเลย ว่า มาจาก โจทก์เอง ที่ ประพฤติชั่ว ไป ติดพัน นาง จารีย์ ฉัน ชู้สาว จำเลย ขอร้อง ให้ โจทก์ เลิก ติดต่อ กับ นาง จารีย์ โจทก์ ก็ ไม่ยินยอม ซึ่ง ความ ข้อ นี้ จำเลย มี นาย รังสรรค์ เรืองจรัส เพื่อน ร่วม งาน ของ โจทก์ เป็น พยาน เบิกความ สนับสนุน ว่า โจทก์ มี ความ สัมพันธ์ กับ นาง จารีย์ ตั้งแต่ ปี 2530จริง และ มี พันตำรวจเอก บรรพต สุวพันธ์ อา ของ โจทก์ พยาน จำเลย อีก ปาก หนึ่ง เบิกความ ยืนยัน ว่า เมื่อ ปี 2532 จำเลย เคย มา ปรึกษาเพราะ มี ปัญหา ครอบครัว เนื่องจาก โจทก์ ไป ติดพัน นาง จารีย์ ซึ่ง พยาน ก็ เคย เรียก โจทก์ มา พบ และ ชี้แจง ให้ โจทก์ คิด ถึง บุตร บ้างนาย รังสรรค์ เป็น ผู้บังคับบัญชา ของ โจทก์ และ มี ความ สนิท สนม กับ โจทก์ และ ครอบครัว เป็น อย่างดี พันตำรวจเอก บรรพต เป็น ญาติ สนิท และ ญาติ ผู้ใหญ่ ของ โจทก์ ต่าง มี ความหวัง ดี และ ห่วงใย ต่อ ครอบครัวของ โจทก์ และ ไม่มี สาเหตุ โกรธเคือง ใด ๆ ต่อ กัน น่าเชื่อ ว่า พยานทั้ง สอง ปาก ดังกล่าว ต่าง ได้ เบิกความ ไป ตาม ความ เป็น จริง จึง รับฟังสนับสนุน ข้ออ้าง ของ จำเลย ที่ ว่า สาเหตุ ที่ โจทก์ ไม่ กลับ บ้าน ไป หา จำเลยนั้น มาจาก ตัว โจทก์ เป็นเหตุ หาใช่ มาจาก จำเลย ไม่ โจทก์ ฎีกา อ้าง พยานคำเบิกความ ของ จำเลย เมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2534 ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1019/2534 ของ ศาลชั้นต้น ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 ว่า จำเลย ยอมรับว่า ขณะ เบิกความ นั้น จำเลย กับ โจทก์ แยก กัน อยู่ มา ประมาณ 3 ปี แล้วจึง เป็น พยาน สำคัญ ที่ ยืนยัน ว่า จำเลย กับ โจทก์ แยก กัน อยู่ โดย ต่างตกลง กัน ที่ จะ ยุติ ความ สัมพันธ์ ฉัน สามี ภริยา ต่อ กัน อัน เนื่องมาจากความ ไม่ ปกติ สุข ใน ชีวิต สมรส นั้น เห็นว่า ตาม คำเบิกความ ของ จำเลยที่ ปรากฏ ใน เอกสาร หมาย จ. 5 ที่ โจทก์ อ้าง ดังกล่าว มี เพียง ว่า ขณะเบิกความ นั้น จำเลย กับ โจทก์ แยก กัน อยู่ และ แยก กัน อยู่ มา ประมาณ 3 ปี แล้วแต่ ยัง ไม่ได้ จดทะเบียน หย่า เท่านั้น มิได้ มี ข้อความ ใด ที่ ระบุ ยืนยันว่า ที่ จำเลย กับ โจทก์ แยก กัน อยู่ เป็น การ แยก กัน ด้วย ความสมัครใจของ จำเลย ด้วย เลย และ ถ้อยคำ ของ จำเลย ที่ เบิกความ เช่นนั้น ก็ เป็นการ เบิกความ ไป ตาม ความ เป็น จริง ที่ ต้อง แยก กัน อยู่ โดยสภาพ ครอบครัวที่ โจทก์ ต้อง ย้าย ไป รับ ราชการ ตาม จังหวัด ต่าง ๆ ที่ จำเลย มิได้ติดตาม ไป ด้วย ซึ่ง โจทก์ มี หน้าที่ ที่ จะ ต้อง กลับมา เยี่ยมเยียน ดูแล บุตรภริยา เมื่อ โจทก์ ไม่ยอม กลับมา เยี่ยม จำเลย และ บุตร อีก การ แยก กัน อยู่ตาม สภาพ เดิม ก็ เปลี่ยน เป็น แยก กัน อยู่ อย่าง จริงจัง ไป แต่ กรณี ดังกล่าวจะ ถือว่า เป็น การ แยก กัน โดย ความสมัครใจ ของ จำเลย ด้วย หาได้ไม่เพราะ จำเลย ยัง รักใคร่ หึงหวง ใน ตัว โจทก์ อยู่ จึง ได้ ทำ หนังสือร้องเรียน ต่อ ผู้บังคับบัญชา ของ นาง จารีย์ ทั้ง ใน ระดับ ต้น และ ระดับ สูง ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2533 และ วันที่ 16 กรกฎาคม 2533 ตาม เอกสารหมาย ล. 3 และ โจทก์ ก็ ยัง เบิกความ รับ ว่า จำเลย ได้ ร้องเรียน เกี่ยวกับเรื่อง นี้ ต่อ ผู้บังคับบัญชา ของ โจทก์ เอง ด้วย ซึ่ง เห็น อย่าง ชัดแจ้ง ว่าจำเลย มิได้ สมัครใจ ที่ จะ แยก ทาง กับ โจทก์ แต่อย่างใด แต่ กลับ แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ยัง คง คาดหวัง ที่ จะ ให้ โจทก์ กลับมา อยู่กิน ฉัน สามี ภริยาเพื่อ ความ สุข ความ อบอุ่น ใน ครอบครัว ต่อไป ส่วน ผล ของ ข้อ ร้องเรียนของ จำเลย จะ เป็น ไป ใน ลักษณะ ใด โจทก์ จะ ไป ติดพัน นาง จารีย์ ฉัน ชู้สาว จริง หรือไม่ ย่อม จะ ไม่ทำ ให้ ความ รัก ความ หึงหวง ของ จำเลย ที่ มีต่อ โจทก์ เปลี่ยนแปลง ไป ฉะนั้น ข้ออ้าง ของ โจทก์ ดังกล่าว คง ฟังได้ แต่เพียง ว่า โจทก์ กับ จำเลย แยก กัน อยู่ มาก ว่า 3 ปี จริง แต่ การ แยก กัน อยู่นั้น มิใช่ ด้วย ความสมัครใจ ของ จำเลย การ ที่ โจทก์ จำเลย แยก กัน อยู่เช่นนี้ ก็ โดย ลำพัง ความสมัครใจ ของ โจทก์ แต่ ฝ่ายเดียว หา ทำให้ เกิดสิทธิ ฟ้อง หย่า จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2)ไม่ พยานหลักฐาน ของ จำเลย มี น้ำหนัก น่าเชื่อ ยิ่งกว่า พยานหลักฐานของ โจทก์ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน