คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ระหว่างเกิดเหตุ ช. จะโอนกรรมสิทธิ์รถแท็กซี่เพื่อเข้าร่วมกิจการกับสหกรณ์ ส. แล้วแต่ขณะทำสัญญาประกันภัย ช.ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถแท็กซี่คันดังกล่าวอยู่จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิที่จะทำสัญญาประกันภัยเมื่อสัญญาประกันภัยมีผลบังคับได้ตามกฎหมายโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งใช้ค่าสินไหมทดแทนไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้รับ ประกันภัย รถแท็กซี่ หมายเลข ทะเบียน2ท-1902 กรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขับ รถจิ๊ป หมายเลข ทะเบียน9ค-0346 กรุงเทพมหานคร โดย จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง หรือ ตัวแทนซึ่ง ปฏิบัติ ใน ทางการที่จ้าง หรือ ที่ ได้รับ มอบหมาย ของ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2528 เวลา 19.45 นาฬิกา ขณะที่นาย นิกวง แซ่เตียว ขับ รถแท็กซี่ ที่ เอา ประกันภัย ไว้ กับ โจทก์ ไป ตาม ถนน มิตรไมตรี มี จำเลย ที่ 1 ขับ รถจิ๊ป คัน ดังกล่าว สวนทาง มา ด้วย ความประมาท เลินเล่อ เสีย หลัก แฉลบ เข้า ไป ชน รถแท็กซี่ ที่ เอา ประกันภัยไว้ กับ โจทก์ เสียหาย โจทก์ นำ รถแท็กซี่ ไป ซ่อม และ ได้ จ่าย ค่าซ่อม กับค่าจ้าง ลาก จูง ไป แล้ว ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน52,820 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 3 ให้การ ต่อสู้ คดี หลาย ประการ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน 50,300 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่31 กรกฎาคม 2528 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ยก ฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3
โจทก์ และ จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ร่วม กับ จำเลย ที่ 1รับผิด ชำระ เงิน จำนวน 50,300 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 31 กรกฎาคม 2538 ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ข้อ สอง ว่า โจทก์ไม่ได้ เป็น ผู้รับประกันภัย รถแท็กซี่ หมายเลข ทะเบียน 2ท-1902กรุงเทพมหานคร ใน ขณะ เกิดเหตุ เพราะ นาย ชาญชัย วัฒนาเรืองสกุล ผู้เอาประกันภัย ได้ โอน การ เป็น เจ้าของ รถ ให้ แก่ บุคคลอื่น ไป แล้วจึง มิใช่ เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ใน รถแท็กซี่ คัน ดังกล่าว สัญญาประกันภัยใช้ บังคับ ตาม กฎหมาย ไม่ได้ โจทก์ ไม่อาจ เข้า รับช่วงสิทธิ ของ นาย ชาญชัย มา ฟ้อง จำเลย ที่ 3 ได้ นั้น เห็นว่า แม้ โจทก์ ไม่มี ต้นฉบับ กรมธรรม์ประกันภัย มา นำสืบ แต่ โจทก์ มี นาย ชาญชัย ผู้เอาประกันภัย มา เบิกความ ยืนยัน ว่า เป็น เจ้าของ รถแท็กซี่ คัน เกิดเหตุ และ ได้ เอา ประกัน ไว้ กับโจทก์ ทั้ง นาย ชาญชัย ได้ เบิกความ ยืนยัน แล้ว ว่า ต้นฉบับ กรมธรรม์ ประกันภัย ไม่ได้ ใช้ แล้ว จึง ไม่ได้ เก็บ ไว้ ถือได้ว่า โจทก์ นำสืบ แล้ว ว่าต้นฉบับ กรมธรรม์ประกันภัย สูญหาย โจทก์ ไม่สามารถ นำ ต้นฉบับ เอกสารมา ได้ ศาล จึง รับฟัง สำเนา เอกสาร แทน ได้ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 93(2) จำเลย ที่ 3 ก็ นำสืบ เจือสม พยานโจทก์ ว่าหลัง เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ได้ พบ กับ พนักงาน ของ โจทก์ และ ได้ เจรจาค่าเสียหาย กัน จึง มี น้ำหนัก รับฟัง ได้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ได้รับ ประกันภัย รถแท็กซี่ คัน เกิดเหตุ ที่ จำเลย ที่ 3 อ้างว่ารถแท็กซี่ ที่ โจทก์ รับประกัน ภัย ไว้ เป็น รถยนต์ คน ละ คัน กับ รถแท็กซี่คัน เกิดเหตุ เพราะ เลข หมาย เครื่องยนต์ ไม่ ตรง กัน นั้น ปรากฏ ตาม สำเนากรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย จ. 2 ว่า รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัยมี เลข ตัวถัง หรือ เครื่องยนต์ เคอี 70-9153448 4 เค-6380340ซึ่ง ตรง กับ สำเนา ทะเบียนรถยนต์ เอกสาร หมาย จ. 3 และ เอกสาร เกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 3 ขอให้ ศาล หมายเรียก จาก แผนก ทะเบียนรถยนต์ กอง กำกับ การ 3 กองทะเบียน กรมตำรวจ ซึ่ง สำเนา ทะเบียนรถยนต์ดังกล่าว มี ข้อความ ระบุ ว่า เมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม 2528 ได้รับอนุญาต ให้ เปลี่ยน เครื่องยนต์ ใหม่ เป็น 7 เค-0565297 รถแท็กซี่คัน เกิดเหตุ จึง เป็น คัน เดียว กัน กับ รถแท็กซี่ ที่ โจทก์ รับประกัน ภัยไว้ แม้ ระหว่าง เกิดเหตุ นาย ชาญชัย จะ โอน กรรมสิทธิ์ รถแท็กซี่ เพื่อ เข้าร่วม กิจการ กับ สหกรณ์ สหมิตรแท็กซี่ จำกัด แต่ ขณะที่ นาย ชาญชัย ทำ สัญญาประกันภัย ไว้ กับ โจทก์ นั้น นาย ชาญชัย ยัง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถแท็กซี่ คัน ดังกล่าว อยู่ นาย ชาญชัย จึง เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิ ที่ จะ ทำ สัญญาประกันภัย ได้ เมื่อ สัญญาประกันภัย มีผล บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย โจทก์ ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัยซึ่ง ได้ ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ไป ย่อม เข้า รับช่วงสิทธิ ของ ผู้เอาประกันภัยเรียกร้อง ให้ จำเลย ที่ 3 ชดใช้ ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ ชำระ แทน ผู้ เอาประกันภัย ไป ได้ โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้องฎีกา จำเลย ที่ 3 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share