แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนอาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้หากมีพยานหลักฐานประกอบให้ฟังว่าจำเลยรับสารภาพโดยสมัครใจและตามความจริง แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยกระทำความผิดแต่การที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนทั้งนำชี้ที่เกิดเหตุโดยสมัครใจไม่มีข้อต่อสู้ใดๆทั้งสิ้นเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจสามารถติดตามยึดรถยนต์ของกลางได้จากสถานที่ตามที่ทราบจากจำเลยว่าได้นำรถยนต์ของกลางไปขายนั้นมีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกลักรถยนต์ของกลาง จำเลยกับพวกขับรถยนต์มาที่ที่เกิดเหตุเพื่อลักรถยนต์ของผู้เสียหายหลังจากนั้นจำเลยกับพวกได้นำรถยนต์ที่ขับมาหลบหนีไปด้วยจึงเป็นการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์รถยนต์ของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา336ทวิ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,335, 336 ทวิ , 357
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบ ด้วย มาตรา 336 ทวิ ให้ ลงโทษจำคุก 9 ปี คำให้การ ชั้นสอบสวน ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณานับ เป็นเหตุ บรรเทา โทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้ หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก 6 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 335(1)(7)(8) วรรคสาม ให้ ลงโทษจำคุก 6 ปี คำให้การ ชั้นสอบสวน ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณานับ เป็นเหตุ บรรเทา โทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้ หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก 4 ปี
โจทก์ และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า จำเลยร่วมกับพวก ลัก รถยนต์กระบะ ของ ผู้เสียหาย หรือไม่ จำเลย ฎีกา ใน ทำนอง ว่า จำเลยไม่ได้ ให้การรับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน ด้วย ความสมัครใจคำรับสารภาพ ของ จำเลย ไม่มี น้ำหนัก พอ รับฟัง ลงโทษ จำเลย ได้ใน ปัญหา นี้ เห็นว่า คำให้การ รับสารภาพ ของ จำเลย ใน ชั้น จับกุมและ ชั้นสอบสวน อาจ ใช้ ยัน จำเลย ใน ชั้นพิจารณา ได้ หาก มี พยานหลักฐานประกอบ ให้ ฟังได้ ว่า จำเลย ให้การรับสารภาพ โดย สมัครใจ และ ตาม ความจริงซึ่ง ปรากฏว่า บันทึก คำให้การ เอกสาร หมาย จ. 8 อันเป็น คำให้การรับสารภาพ ของ จำเลย ใน ชั้นสอบสวน คดี นี้ มี ความยาว ถึง 3 หน้า กระดาษโดย มี รายละเอียด ใน การ ที่ จำเลย กับพวก ร่วมกัน นำ รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ โตโยต้า สีแดง ซึ่ง เป็น รถยนต์กระบะ ที่ พวก ของ จำเลย ยืม มา ออก ทำ การ ตระเวน เพื่อ ทำการ ลักทรัพย์ รถยนต์ พฤติการณ์ ของ จำเลย กับพวกใน การ ลักทรัพย์ รถยนต์กระบะ ของกลาง และ การ นำ รถยนต์กระบะ ของกลางไป จำหน่าย ทั้ง รับ ว่า เจ้าพนักงาน ตำรวจ ติดตาม ยึด รถยนต์กระบะ ของกลางคืน มา ได้ หลังจาก ที่ จำเลย ได้ นำ ไป จำหน่าย แล้ว โดย จำเลย ได้ นำ พนักงานสอบสวน ไป ชี้ ที่เกิดเหตุ ประกอบ คำรับสารภาพ และ ให้ พนักงานสอบสวนถ่าย ภาพ ไว้ ด้วย ใน ข้อ นี้ นอกจาก จำเลย ไม่ได้ อ้าง ตัวเอง เป็น พยานนำสืบ ปฏิเสธ คำรับสารภาพ ดังกล่าว แล้ว จำเลย ยัง ได้ ให้การ ตอบ โจทก์ถาม ค้าน รับ ว่า พนักงานสอบสวน ได้ แจ้ง ข้อหา จำเลย ว่า ร่วม กับพวกลักทรัพย์ รถยนต์กระบะ ของกลาง จำเลย ให้การรับสารภาพ ต่อ พนักงานสอบสวน ตาม บันทึก คำให้การ เอกสาร หมาย จ. 8 แล้ว ต่อมา จำเลย ได้ นำ พนักงานสอบสวน ไป ชี้ ที่เกิดเหตุ ประกอบ คำให้การ รับสารภาพ และ ได้ มี การ ถ่าย ภาพไว้ อีก ด้วย ดังนี้ จึง เชื่อ ได้ว่า จำเลย ได้ ให้การรับสารภาพ ใน ชั้นสอบสวน โดย สมัครใจ และ ตาม ความสัตย์ จริง แม้ โจทก์ ไม่มี ประจักษ์พยานเห็น จำเลย กระทำ ความผิด แต่ นอกจาก คำให้การ รับสารภาพ ของ จำเลยดังกล่าว แล้ว โจทก์ ยัง มี พัน ตำรวจ ตรี สรศักดิ์ เย็นเปรม ซึ่ง ขณะ เกิดเหตุ ดำรง ตำแหน่ง สารวัตร แผนก 5 กอง กำกับ การ สืบสวน สอบสวนกองบังคับการ ตำรวจ ภูธร 11 จังหวัด นครศรีธรรมราช เบิกความเป็น พยาน ประกอบ ด้วย ว่า เมื่อ ประมาณ เดือน กรกฎาคม 2534 พยาน จับกุมจำเลย กับพวก ได้ ใน ข้อหา ร่วมกัน ลักทรัพย์ รถยนต์กระบะ ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จาก การ สอบสวน เพื่อ ขยาย ผลได้ ความ จาก จำเลย ที่ 1กับพวก ว่า ก่อน คดี ดังกล่าว จำเลย กับพวก ได้ ร่วมกัน ลักทรัพย์ ในทำนอง เดียว กับ คดี ดังกล่าว หลาย ครั้ง ใน หลาย ท้องที่ โดย เคย ลัก รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ นิสสัน สี น้ำตาล ใน คดี นี้ และ นำ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว ไป ขาย ที่ จังหวัด ชุมพร พยาน กับพวก สืบสวน สอบสวน และ ติดตาม ไป ยึดรถยนต์กระบะ ของกลาง ได้ ที่ จังหวัด ชุมพร ตาม บันทึก การ จับกุม เอกสารหมาย ป.จ. 1 ศาลฎีกา เห็นว่า การ ที่ จำเลย ให้การรับสารภาพ ใน ชั้นจับกุม และ ชั้นสอบสวน ทั้ง นำ ชี้ สถานที่ ต่าง ๆ ที่ ระบุ ใน คำให้การโดย สมัครใจ ไม่มี ข้อต่อสู้ ใด ๆ ทั้งสิ้น นั้น เมื่อ นำ มา พิเคราะห์ประกอบการ ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ สามารถ ติดตาม ยึด รถยนต์กระบะ ของกลางได้ จาก จังหวัด ชุมพร ตาม ที่ ได้ ทราบ จาก จำเลย ว่า ได้ นำ รถยนต์กระบะของกลาง ไป ขาย ที่ จังหวัด ดังกล่าว นั้น มี น้ำหนัก พอ ให้ รับฟัง ได้ว่า จำเลยได้ ร่วม กับพวก ลัก รถยนต์กระบะ ของกลาง ใน คดี นี้ ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย กับพวกร่วมกัน ลักทรัพย์ โดย ใช้ ยานพาหนะ เพื่อ สะดวก แก่ การกระทำ ผิด หรือ การพา ทรัพย์ นั้น ไป หรือ เพื่อ ให้ พ้น การ จับกุม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ ได้ความ จาก คำให้การ ชั้นสอบสวนของ จำเลย ว่า จำเลย กับพวก สอง คน ร่วมกัน นำ รถยนต์กระบะ โตโยต้า สีแดง ซึ่ง เป็น รถยนต์กระบะ ที่ พวก ของ จำเลย ยืม มา ออก ทำการ ตระเวนเพื่อ ทำการ ลักทรัพย์ รถยนต์กระบะ ใน ท้องที่ ที่ ผ่าน ไป จำเลย กับพวกขับ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว ผ่าน เข้า มา ใน ตลาด อำเภอ เขาพนม เห็น รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ นิสสัน จอด อยู่ หน้า บ้านพัก จำเลย กับพวก เห็นว่า ปลอด จาก ผู้ คน สัญจร ไป มา ทั้ง เป็น เวลา ดึก มาก แล้ว จึง ตกลง ใจ ลักทรัพย์รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว โดย พวก ของ จำเลย เป็น ผู้ ลง ไป ใช้ กุญแจผีที่ เตรียม มา ไข ประตู รถ แล้ว ให้ จำเลย ซึ่ง รอ อยู่ ใน รถยนต์กระบะ ที่ นำ มาใน ตอนแรก เป็น ผู้ขับ รถยนต์กระบะ ที่ ลัก ได้ นำ หลบหนี ส่วน พวก จำเลยอีก สอง คน นั่ง รถยนต์กระบะ โตโยต้า ที่ นำ มา ขับ ตาม หลัง ไป นอกจาก นี้ แล้ว โจทก์ ยัง มี นาย ไสว สังข์แก้ว ผู้เสียหาย เบิกความ เป็น พยาน ด้วย ว่า ผู้เสียหาย นำ รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ นิสสัน ไป จอด ไว้ ที่ หน้า บ้าน แล้ว เข้า นอน ต่อมา ผู้เสียหาย ได้ยิน เสียง รถ ติด เครื่องยนต์ เข้าใจ ว่าบุตร ของ ผู้เสียหาย ติด เครื่อง รถยนต์ ผู้เสียหาย ออก มา ดู รถ ได้ ถอยหลังและ ขับ ออก ไป ผู้เสียหาย เห็น รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ โตโยต้า สีแดง ขับ ตาม ไป ผู้เสียหาย เข้า มา ใน บ้าน และ ไป ดู กุญแจ รถ ปรากฏว่า กุญแจ รถยัง มี อยู่ ใน บ้าน ผู้เสียหาย คิดว่า คนร้าย ต้อง ลัก รถ ไป ศาลฎีกา ได้พิเคราะห์ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ดังกล่าว แล้ว เห็นว่า คำเบิกความของ ผู้เสียหาย ดังกล่าว สอดคล้อง กับ คำให้การ ชั้นสอบสวน ของ จำเลยมี น้ำหนัก ให้ ฟังได้ ว่า จำเลย กับพวก ขับ รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ โตโยต้า สีแดง มา ที่ ที่เกิดเหตุ เพื่อ ลัก รถยนต์กระบะ ของ ผู้เสียหาย และ หลังจากจำเลย กับพวก ได้ รถยนต์กระบะ ของ ผู้เสียหาย แล้ว จำเลย กับพวก ได้ นำรถยนต์กระบะ ยี่ห้อ โตโยต้า สีแดง ที่ นำ มา หลบหนี ไป ด้วย รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ โตโยต้า สีแดง ที่ จำเลย กับพวก นำ ไป จึง ย่อม เป็น ยานพาหนะ ที่ ให้ ความสะดวก แก่ จำเลย กับพวก ใน การกระทำ ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ รถยนต์กระบะ ของกลาง การกระทำ ของ จำเลย กับพวก จึง เป็น การ ใช้ ยานพาหนะเพื่อ สะดวก แก่ การกระทำ ความผิด อันเป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
“พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบ ด้วย มาตรา 336 ทวินอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3