แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ค.ตาของโจทก์แจ้งการเกิดของโจทก์ต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพด้วยความสมัครใจมิได้ถูกบังคับให้ไปแจ้งการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้คนญวนอพยพไปแจ้งต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพนั้นก็น่าจะเป็นประกาศที่มีลักษณะเป็นการประกาศทั่วๆไปไม่ใช่คำสั่งเฉพาะเจาะจงบังคับให้ ค.หรือโจทก์ต้องกระทำตามประกาศดังกล่าวเหตุที่มีชื่อโจทก์ในทะเบียนบ้านญวนอพยพก็เนื่องจาก ค.ไปแจ้งต่อจำเลยที่3ว่าโจทก์เป็นคนญวนอพยพโดย ค.เข้าใจเอาเองว่าโจทก์เป็นคนญวนอพยพมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสามที่เพิ่มชื่อโจทก์ในทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยพลการทั้งโจทก์หรือผู้ปกครองของโจทก์ก็ไม่เคยโต้แย้งต่อจำเลยทั้งสามว่าโจทก์ไม่ใช่คนญวนอพยพคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า นาง ทิว เหงียน เป็น ผู้ปกครอง ของ โจทก์ ตาม คำสั่งศาล นางสาว แบ๋หรือนางแบ๋เหงียน มารดา โจทก์ เป็น บุตร ของ นาย เอนกหรือคินหรืออูเหงียน กับนางทิว เหงียน บุคคล ทั้ง สอง เป็น คนต่างด้าว ที่ เข้า มา ใน ราชอาณาจักรไทย โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง มารดา โจทก์ เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย มี สัญชาติ ไทยต่อมา ถูก ถอน สัญชาติ ไทย ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 โจทก์เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย จึง เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทย จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันกล่าวอ้าง ว่า โจทก์ เป็น คนต่างด้าว ประเภท ญวน อพยพ และ เพิ่ม ชื่อ ของโจทก์ ลง ใน ทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สาม ดังกล่าวเป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น ผู้ มีสัญชาติ ไทย ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ถอน ชื่อ โจทก์ ออกจาก ทะเบียนบ้านญวน อพยพ
จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ให้การ ว่า ไม่ได้ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์เพราะ จำเลย ทั้ง สาม ไม่มี อำนาจ ให้ สัญชาติ แก่ บุคคล ใด โจทก์ จะ มีสัญชาติ ใด ก็ โดย ผล ของ กฎหมาย โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง โจทก์ มิใช่บุตร ของ นางสาว แบ๋หรือนางแบ๋ เหงียน ทั้ง โจทก์ และ นางสาว แบ๋ หรือ นาง แบ๋เหงียน มิได้ เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย อย่างไร ก็ ตามหาก ฟัง ว่า โจทก์ เป็น บุตร ของ นางสาว แบ๋หรือนางแบ๋ เหงี่ยน และ เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย แต่ นางสาว แบ๋หรือนางแบ๋ เหงียน เป็น คนต่างด้าว ตาม ประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 โจทก์ เกิด หลัง ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับ ดังกล่าว ใช้ บังคับ แล้ว โจทก์ จึง ไม่ได้ สัญชาติ ไทย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทยให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ถอน ชื่อ โจทก์ ออกจาก ทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ข้อ แรก ว่า จำเลย ทั้ง สาม โต้แย้งสิทธิ ของ โจทก์ หรือไม่ โจทก์ มี นาย คิน เหงียน เป็น พยาน เบิกความ ว่า พยาน เป็น ตา ของ โจทก์ เมื่อ โจทก์ อายุ เพียง 3 เดือน พยาน เป็นผู้ ไป แจ้ง การ เกิด ของ โจทก์ ที่ สำนักงาน กิจการ ญวน อพยพ ตาม คำสั่ง ของหัวหน้า สำนักงาน โดย อ้างว่า โจทก์ เป็น คนญวน อพยพ เห็นว่า นาย คิน เบิกความ ลอย ๆ ไม่มี เหตุ ให้ ฟังได้ ว่า นาย คิน จำเป็น ต้อง ทำ ตาม คำสั่ง ของ หัวหน้า สำนักงาน กิจการ ญวน อพยพ เพราะ เหตุใด หรือ หาก ไม่ทำตาม คำสั่ง นั้น จะ มีผล เสียหาย ต่อ นาย คิน หรือ โจทก์ อย่างไร กลับ ฟัง ได้ จาก คำเบิกความ ของ พันตำรวจเอก เติมศักดิ์ ช้างแก้ว พยาน จำเลย ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ มี ประกาศ ให้ คนญวน อพยพ และ บุตร หลาน ไป จัดทำทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ ส่วน เหตุ ที่ ให้ จัดทำ เช่นนั้น ก็ เพื่อ ต้องการทราบ จำนวน ครอบครัว ของ คนญวน อพยพ ว่า มี เท่าใด เมื่อ มี ผู้ มา แจ้ง ว่าเป็น คนญวน อพยพ หาก เชื่อ ว่า เป็น คนญวน อพยพ ก็ จะ จัดทำ ประวัติ และทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ ไว้ น่าเชื่อ ว่า นาย คิน ไป แจ้ง การ เกิด ของ โจทก์ ต่อ สำนักงาน กิจการ ญวน อพยพ ด้วย ความสมัครใจ โดย เข้าใจ ว่า โจทก์ เป็นคนญวน อพยพ มิใช่ ถูก บังคับ ให้ ไป แจ้ง ส่วน ที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศ ให้ คนญวน อพยพ ไป จัดทำ ทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ ก็ น่า จะ เป็นการ ประกาศ ที่ มี ลักษณะ เป็น ประกาศ ทั่ว ๆ ไป มิใช่ คำสั่ง เฉพาะ เจาะจงบังคับ ให้ นาย คิน ซึ่ง เป็น ตา ของ โจทก์ หรือ โจทก์ ต้อง ไป ทำ ตาม ประกาศ ดังกล่าว เหตุ ที่ มี ชื่อ โจทก์ ใน ทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ ก็ เนื่องจากนาย คิน ไป แจ้ง ต่อ จำเลย ที่ 3 ว่า โจทก์ เป็น คนญวน อพยพ โดย นาย คิน เข้าใจ เอา เอง ว่า โจทก์ เป็น คนญวน อพยพ มิใช่ เกิดจาก การกระทำ ของจำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน เพิ่ม ชื่อ โจทก์ ใน ทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ โดย พลการนอกจาก นั้น ข้อเท็จจริง ก็ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ หรือ ผู้ปกครอง ของ โจทก์เคย โต้แย้ง ต่อ จำเลย ทั้ง สาม ว่า โจทก์ ไม่ใช่ คนญวน อพยพ คดี ยัง ฟัง ไม่ได้ว่า จำเลย ทั้ง สาม ได้ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์