คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ได้รับบรรยายฟ้องถึงที่มาของค่าเสียหายว่าเป็นค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ส. โรงพยาบาล ห. และที่บ้านเป็นเงินรวม100,000บาทเป็นการบรรยายในรายละเอียดแล้วส่วนหลักฐานใบเสร็จรับเงินโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์ในส่วนเรียกค่าเสียหายไม่เคลือบคลุม ว. และจำเลยที่1ต่างทำหน้าที่ในสวนสาธารณะของจำเลยที่3การเสียบปลั๊กและปล่อยกระแสไฟฟ้าก็เพื่อป้องกันหนูมิให้กัดทำลายต้นกล้าไม้ในสวนอันเป็นของจำเลยที่3ย่อมเป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่3เป็นงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่3 จำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่าจำเลยที่1มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อและจำเลยที่2กระทำไปโดยพลการจำเลยที่3ฎีกาในข้อนี้จึงเป็นฎีกานอกคำให้การศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส. บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทนเด็กชาย ส. มิได้เป็นโจทก์ในฐานะส่วนตัวจำเลยที่3จะอ้างเอาการกระทำของ ส.มาเป็นข้ออ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา442ประกอบด้วยมาตรา223หาได้ไม่ เด็กชาย ส. ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายถึงสมองฝ่อเป็นอัมพาตตลอดชีวิตพูดไม่ได้ย่อมจะต้องได้รับการดูแลรักษาในสภาพที่ป่วยเจ็บจนกว่าจะถึงแก่ความตายค่าดูแลรักษาที่จะต้องใช้จ่ายต่อไปจึงมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดให้เสียหายแก่ร่างกายในอนาคตนั่นเองและเด็กชาย ส.ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา444วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บิดา ผู้แทนโดยชอบธรรม ของเด็ก ชาย สันติ เพชรสงค์ อายุ 10 ปี จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 3 ทำ หน้าที่ เป็น คนงาน ทำ กิจการ ต่าง ๆ ภายใต้ การ ควบคุมดูแล และ ตาม คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น พนักงาน ของ จำเลย ที่ 3ซึ่ง เป็น นิติบุคคล ตาม พระราชบัญญัติ เทศบาล พุทธศักราช 2496จำเลย ที่ 3 มอบหมาย ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ดูแล สวนเสรี ซึ่ง เป็น สวนสาธารณะ ของ จำเลย ที่ 3 รวมทั้ง รักษา และ ระวัง ความปลอดภัย ใน ชีวิตและ ทรัพย์สิน ของ ประชาชน ที่ เข้า ไป ใช้ บริการ เมื่อ วันที่ 8 เมษายน2533 โจทก์ กับ เด็ก ชาย สันติ เข้า ไป พักผ่อน ใน สวน ดังกล่าว เด็ก ชาย สันติ วิ่ง เล่น ใน บริเวณ สนาม พบ เส้นลวด ทองแดง บริเวณ กระถาง ต้น ไม้ ไม่ทราบ ว่า เป็น ลวด สาย ไฟ มี กระแส ไฟฟ้า แรง สูงได้ จับ ลวด เหวี่ยง ทิ้ง จึง ถูก กระแส ไฟฟ้า ดูด ล้ม ลง หมด สติ โจทก์ นำเด็ก ชาย สันติ ส่ง โรงพยาบาล รักษา ตัว อยู่ ระยะ หนึ่ง จึง กลับ ไป รักษา ตัว ต่อ ที่ บ้าน เด็ก ชาย สันติ สมอง ฝ่อ เป็น อัมพาต พิการ ตลอด ชีวิต พูด ไม่ได้ เหตุ เกิด เนื่องจาก จำเลย ที่ 2 สั่งการ หรือ ยินยอมให้ คนงาน เสียบ ปลั๊ก ต่อ สาย ไฟ ให้ กระแส ไฟฟ้า วิ่ง ไป ตาม สาย ไฟซึ่ง วาง ทอด ไป ตาม กระถาง เพราะ ชำต้น ไม้ เพื่อ ดัก หนู ซึ่ง ตาม ปกติจะ เสียบ ปลั๊ก ระหว่าง 21 นาฬิกา ถึง 4 นาฬิกา ของ วัน ถัด ไปแต่ วันเกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ปล่อย กระแส ไฟฟ้า ตั้งแต่ ก่อน18 นาฬิกา โดย ไม่แจ้ง ให้ ประชาชน ทราบ ล่วงหน้า โดยประมาท ปราศจากความระมัดระวัง ขอ เรียก ค่ารักษาพยาบาล ที่ โรงพยาบาล สงขลา และ โรงพยาบาล หาดใหญ่ เป็น เงิน 21,235 บาท และ 64,618 บาท ตามลำดับ ค่าจ้าง พยาบาล ดูแล ที่ บ้าน และ ค่า ไป รักษา ที่ โรงพยาบาลทุกครั้ง ที่ มี อาการ รุนแรง รวมทั้ง ค่าใช้จ่าย อื่น ๆ ที่ เกี่ยวกับ การรักษา พยาบาล ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 14,147 บาท รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น100,000 บาท ค่าใช้จ่าย เพื่อ รักษา พยาบาล และ อุปการะ เลี้ยงดูเด็ก ชาย สันติ นับแต่ วันฟ้อง จน ตลอด ชีวิต อย่าง ต่ำ เดือน ละ 4,000 บาท เป็น เวลา 10 ปี เป็น เงิน 480,000 บาท และ ค่าสินไหมทดแทนเพราะ เด็ก ชาย สันติ ต้อง ขาด ความ สามารถ ประกอบ กิจการ ใด ๆ ทั้งสิ้น ต้อง ทน ทุกข์ ทรมาน เป็น เงิน 300,000 บาท รวม ค่าเสียหาย ทั้งหมด880,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ดังกล่าว
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 มิได้ ทำละเมิด ต่อเด็ก ชาย สันติ เหตุ เกิด เพราะ ความประมาท ของ โจทก์ ค่าเสียหาย ที่ เรียกร้อง สูง เกินควร
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ใช่ ลูกจ้างหรือ ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 3 การ ปล่อย กระแส ไฟฟ้า ใน สวนสาธารณะไม่ใช่ ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 เหตุ เกิด เพราะ ความประมาท ของ โจทก์จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ต้อง รับผิด โจทก์ ไม่มี ใบเสร็จรับเงิน หรือ หลักฐานค่ารักษาพยาบาล มา แสดง ฟ้องโจทก์ ใน ส่วน เรียก ค่าเสียหาย จึง เคลือบคลุมค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 5,000 บาท ค่า อุปการะ เลี้ยงดู สูง เกิน ไปเพราะ เด็ก ชาย สันติ ยัง ไม่มี รายได้ และ อาจ รักษา ให้ หาย ได้
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 กระทำ ละเมิดต่อ โจทก์ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน 584,548 บาท พร้อมดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า เหตุ เกิด เพราะ ความประมาท ของจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2
วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ใน ประเด็น ว่า ฟ้องโจทก์ ใน ส่วน เรียกค่าเสียหาย เคลือบคลุม หรือไม่ นั้น เห็นว่า ค่าเสียหาย 100,000 บาทที่ โจทก์ กล่าว ใน ฟ้อง โจทก์ ได้ บรรยาย ถึง ที่มา ของ ค่าเสียหาย นั้น ว่าเป็น ค่ารักษา ที่ โรงพยาบาล สงขลา เป็น เงิน 21,235 บาท ที่ โรงพยาบาล หาดใหญ่ เป็น เงิน 64,618 บาท และ ที่ บ้าน เป็น เงิน 14,147 บาท รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 100,000 บาท เป็น การ บรรยาย ในรายละเอียด แล้ว ส่วน หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน เป็น เรื่อง ของ พยานหลักฐานที่ โจทก์ สามารถ นำสืบ ให้ ปรากฎ ใน ชั้นพิจารณา เพื่อ สนับสนุน ข้อเรียกร้องได้ ฟ้องโจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุม
ประเด็น ที่ ว่า นาย วุฒิชัย ต่อ สาย ไฟ ดัก หนู ตาม คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 2 ไม่ใช่ ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 1ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ปกติ โดย ไม่รู้ หรือไม่ อาจ คาดหมาย ได้ว่า จำเลย ที่ 2กับ นาย วุฒิชัย ได้ ต่อ ไฟฟ้า สาย ตรง และ ปลั๊ก ไฟ ไว้ จำเลย ที่ 1 มิได้ ประมาท เลินเล่อ และ การ ต่อ สาย ไฟ ดัก หนู เป็น เรื่อง จำเลย ที่ 2กระทำ ไป โดย พลการ จำเลย ที่ 3 ไม่มี ส่วน รู้เห็น หรือ สั่งการให้ กระทำ จำเลย ที่ 3 ไม่ต้อง ร่วมรับผิด เหตุ เกิด เพราะ โจทก์ประมาท เลินเล่อ ปล่อยปละละเลย เด็ก ชาย สันติ ให้ ไป เล่น ใน ที่หวงห้าม และ มี การ ป้องกัน ไม่ให้ บุคคลภายนอก เข้า ไป โดย ทำ แนว รั้ว ทาง มะพร้าวและ มี ป้าย เตือน ไว้ แล้ว เห็นว่า ใน ข้อ ที่ ว่า เป็น ไป ใน ทางการที่จ้างหรือไม่ นั้น นาย วุฒิชัย และ จำเลย ที่ 1 ต่าง ทำ หน้าที่ ใน สวนสาธารณะ ของ จำเลย ที่ 3 การ เสียบ ปลั๊ก และ ปล่อย กระแส ไฟฟ้า ก็ เพื่อ ป้องกัน หนูไม่ให้ มา กัด ทำลาย ต้น กล้า ไม้ ใน สวน อันเป็น ของ จำเลย ที่ 3 ย่อม เป็น การทำงาน เพื่อ ประโยชน์ ของ จำเลย ที่ 3 จึง เป็น งาน ใน ทางการที่จ้าง ของจำเลย ที่ 3 ข้อ ที่ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ กระทำ โดยประมาท เลินเล่อ และจำเลย ที่ 2 กระทำ ไป โดย พลการ นั้น จำเลย ที่ 3 มิได้ ให้การ ต่อสู้เป็น ประเด็น ไว้ จึง เป็น ฎีกา นอก คำให้การ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัยข้อ ที่ ว่า เหตุ เกิด เพราะ ความประมาท เลินเล่อ ของ โจทก์ นั้น ปรากฏว่าโจทก์ คดี นี้ คือ เด็ก ชาย สันติ ส่วน นาย สุพรรณหรือสุบรรณ เป็น ผู้แทน โดยชอบ ธรรม ดำเนินคดี นี้ แทน เด็ก ชาย สันติ มิได้ เป็น โจทก์ ใน ฐานะ ส่วนตัว จำเลย ที่ 3 จะ อ้าง เอาการ กระทำ ของ นาย สุพรรณ ซึ่ง มิใช่ เป็น ผู้ต้อง เสียหาย มา เป็น ข้ออ้าง เพื่อ ให้ พ้น ความรับผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบ ด้วย มาตรา 223หาได้ไม่
ประเด็น ที่ ว่า ค่า ดูแล รักษา เด็ก ชาย สันติ เป็น เงิน 350,000 บาท และ ค่า เสีย ความ สามารถ ประกอบการ งาน โดย สิ้นเชิง เป็น เงิน150,000 บาท เป็น จำนวน ที่ สูง เกิน ไป ค่า ดูแล รักษา เด็ก ชาย สันติ เป็น ค่าใช้จ่าย ที่ ต้อง เสีย ใน อนาคต ควร กำหนด ให้ เฉพาะ ค่ารักษา จริง ๆไม่รวม ถึง ค่า อุปการะ เลี้ยงดู ซึ่ง โจทก์ จะ ต้อง เสีย เป็น ปกติ สำหรับค่า เสีย ความ สามารถ ประกอบการ งาน โดย สิ้นเชิง เด็ก ชาย สันติ ยัง เป็น เด็ก ไม่สามารถ ประกอบการ งาน มี รายได้ จึง ไม่มี ค่าเสียหายใน ส่วน นี้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 เห็นว่าเด็ก ชาย สันติ ได้รับ ความเสียหาย แก่ ร่างกาย ถึง สมอง ฝ่อ เป็น อัมพาต ตลอด ชีวิต พูด ไม่ได้ ย่อม จะ ต้อง ได้รับ การ ดูแล รักษา ใน สภาพ ที่ ป่วย เจ็บจนกว่า จะ ถึงแก่ความตาย ตาม สภาพ เช่นนี้ ค่า ดูแล รักษา ดังกล่าว ที่ จะ ต้องใช้ จ่าย ต่อไป จึง มี ลักษณะ เป็น ค่าใช้จ่าย อัน ต้อง เสีย ไป อัน เนื่องมาจากการกระทำ ละเมิด ให้ เสียหาย แก่ ร่างกาย ใน อนาคต นั่นเอง และเด็ก ชาย สันติ ย่อม เสีย ความ สามารถ ประกอบการ งาน สิ้นเชิง ทั้ง ใน เวลา ปัจจุบัน และ ใน อนาคต โจทก์ ชอบ ที่ จะ เรียกร้อง ค่าเสียหายดังกล่าว จาก จำเลย ทั้ง สาม ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444 วรรคหนึ่ง และ ค่าเสียหาย ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง กำหนดให้ จำเลย ทั้ง สาม ชดใช้ นั้น ไม่ สูง เกิน ไป
พิพากษายืน

Share