คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3590/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา112เดิมจึงไม่เป็นนิติกรรมที่โจทก์ที่2ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีต่อศาลแทนโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา1574เสียก่อน เมื่อโจทก์แพ้คดีตามคำท้าจำเลยที่1ย่อมบังคับตามฟ้องแย้งได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าและไม่ถือว่าอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538แต่เมื่อจำเลยที่1เป็นผู้ฟ้องแย้งและจำเลยที่2เป็นเพียงผู้อาศัยการพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลยที่2เป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำขอตามฟ้องแย้งจึงไม่ชอบและปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น บุตรโดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ โจทก์ ที่ 2 เมื่อ ปี 2515 จำเลย ที่ 1 ได้ ทำสัญญาเช่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4568 ของ โจทก์ ที่ 2 เพื่อ ปลูกสร้างตึกแถว มี กำหนด ระยะเวลา 15 ปี เพื่อ ให้ คนอื่น เช่า และ มี ข้อตกลงกับ โจทก์ ที่ 2 ว่า เมื่อ ครบ กำหนด การ เช่า แล้ว ให้ ตึกแถว ที่ สร้างตกเป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ที่ 2 จำเลย ที่ 1 ได้ สร้าง ตึกแถว ลง ในที่ดิน ดังกล่าว ใน ปี 2519 โจทก์ ที่ 2 ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ที่ 1 และ ต่อมา จำเลย ที่ 2 เช่า ตึกแถว ห้อง พิพาท จาก จำเลย ที่ 1วันที่ 23 พฤษภาคม 2530 ซึ่ง เป็น วัน ครบ กำหนด อายุ สัญญาเช่าระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ตึกแถว ห้อง พิพาท ได้ ตกเป็น กรรมสิทธิ์ของ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม ผล แห่ง สัญญาเช่า และ โดย ผล แห่งกฎหมาย แต่ จำเลยทั้ง สอง ก็ ยัง คง อาศัย อยู่ ใน ตึกแถว โจทก์ ได้ บอกเลิก การ เช่า แล้วแต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ออกจาก ตึกแถว ห้อง พิพาท ทำให้ โจทก์ ทั้ง สองได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร ออกจากตึกแถว ห้อง พิพาท และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4568 ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ค่าเสียหาย เดือน ละ 3,000 บาท แก่ โจทก์ ทั้ง สอง นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร จะ ออก ไป จาก ที่ดิน และตึกแถว ห้อง พิพาท
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ จำเลย ที่ 1 ฟ้องแย้ง ขอให้ ยกฟ้องและ บังคับ ให้ โจทก์ ที่ 1 หรือ ที่ 2 หรือ โจทก์ ทั้ง สอง ร่วมกัน จัดการจดทะเบียน การ เช่า ตึกแถว ห้อง พิพาท ถึง วันที่ 1 พฤษภาคม 2551หาก โจทก์ ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนาของ โจทก์ ทั้ง สอง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ชดใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 500 บาทนับ จาก วันฟ้อง แย้ง เป็นต้น ไป จนกว่า โจทก์ ทั้ง สอง จะ ปฏิบัติ ตามคำพิพากษา
โจทก์ ทั้ง สอง ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ที่ 1
ก่อน สืบพยานโจทก์ คู่ความ ท้า กัน ว่า ถ้า ผล การ ตรวจ พิสูจน์ ลายมือชื่อ เจ้าของ ที่ดิน ใน หนังสือ แสดง ความ ยินยอม และ อนุญาต ของเจ้าของ ที่ดิน ใน คดี หมายเลขดำ ที่ 2166/2533 ของ ศาลชั้นต้น เป็นลายมือชื่อ ของ โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ยอม แพ้ หาก ผล การ ตรวจ พิสูจน์ไม่ใช่ ลายมือชื่อ ของ โจทก์ ที่ 2 จำเลย ทั้ง สอง ยอม แพ้ ต่อมา ปรากฏว่าใน คดี หมายเลขดำ ที่ 2166/2533 ของ ศาลชั้นต้น ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ได้ รายงาน ผล การ ตรวจ พิสูจน์ ว่าลายมือชื่อ ใน หนังสือ ยินยอม ดังกล่าว เป็น ลายมือชื่อ ของ โจทก์ ที่ 2 จริง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง ให้ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 ไป ดำเนินการจดทะเบียน การ เช่า ตึกแถว เลขที่ 81/24 เป็น ระยะเวลา ถึง วันที่ 1พฤษภาคม 2531 ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 เพราะ จำเลย ที่ 1 ให้ จำเลย ที่ 2เช่า ช่วง หาก โจทก์ ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดงเจตนา ของ โจทก์ คำขอ อื่น ตาม ฟ้องแย้ง ให้ยก
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์ เฉพาะ โจทก์ ที่ 1
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องแย้ง นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ที่ 1 ฎีกา สรุป เป็น ใจความ ได้ว่าการ ที่ โจทก์ ที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรม ของ โจทก์ ที่ 1 ผู้เยาว์ดำเนิน กระบวนพิจารณา แทน โจทก์ ที่ 1 เกี่ยวกับ การ ท้า เป็น การกระทำนิติกรรม การ ที่ โจทก์ ที่ 2 ทำการ ท้า ไป โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก ศาลจึง เป็น การ ขัด ต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 นั้นพิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า การ ท้า เป็น เรื่อง เกี่ยวกับ การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา คดี ใน ศาล ที่ คู่ความ ตกลง กัน ให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาด ใน ประเด็นที่ คู่ความ ท้า กัน เป็น ข้อ แพ้ ชนะ มิได้ มุ่ง โดยตรง ต่อ การ ผูกนิติสัมพันธ์ ขึ้น ระหว่าง บุคคล เพื่อ จะ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือ ระงับ ซึ่ง สิทธิ ตาม ความหมาย ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 112 (ตรง กับ ฉบับที่ ได้ ตรวจ ชำระ ใหม่ มาตรา 149) จึง ไม่เป็นนิติกรรม ที่อยู่ ใน บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574ที่ ต้อง ได้รับ อนุญาต จาก ศาล เสีย ก่อน ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง สรุป เป็น ใจความ ได้ว่า เอกสาร สัญญาขยายเวลา การ เช่า ตึกแถว พิพาท ออก ไป ถึง ปี 2551 โดย จำเลย ที่ 1 ได้จ่ายเงิน ตอบแทน แก่ โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 300,000 บาท เป็น สัญญาต่างตอบแทน จำเลย ทั้ง สอง จึง มีอำนาจ ฟ้องแย้ง ให้ โจทก์ ทั้ง สองไป จดทะเบียน การ เช่า ได้ และ เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง แพ้ คดี จำเลย ทั้ง สองตาม คำท้า โจทก์ ทั้ง สอง จึง ต้อง ไป จดทะเบียน การ เช่า ให้ แก่ จำเลยตาม ฟ้องแย้ง พิเคราะห์ แล้ว ที่ จำเลย ที่ 1 ฟ้องแย้ง ว่า ฝ่าย โจทก์ต้อง ไป จดทะเบียน การ เช่า ตึกแถว พิพาท จน ถึง วันที่ 1 พฤษภาคม 2551โดย จำเลย ที่ 1 อ้างว่า เป็น สัญญาต่างตอบแทน นั้น เห็นว่า เมื่อคู่ความ ท้า กัน เป็น ข้อ แพ้ ชนะ โดย ให้ ดู ผล การ ตรวจ พิสูจน์ ลายมือชื่อของ โจทก์ ที่ 2 ใน เอกสาร หนังสือ ยินยอม ให้ เช่า ใน คดี หมายเลขดำที่ 2166/2533 ของ ศาลชั้นต้น และ ปรากฏว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย แพ้ คดีตาม คำท้า จำเลย ที่ 1 ย่อม จะ บังคับ ตาม ฟ้องแย้ง แก่ โจทก์ ได้ โดยไม่ต้อง พิจารณา อีก ว่า ข้อเท็จจริง ตาม ฟ้องแย้ง เป็น สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่า สัญญาเช่า หรือไม่ เพราะ เป็น เรื่อง นอกเหนือ คำท้า โจทก์ทั้ง สอง จึง ต้อง ไป จดทะเบียน การ เช่า ตาม ฟ้องแย้ง และ กรณี ไม่ ถือว่าอยู่ ใน บังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 ดัง ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ไม่ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังขึ้น แต่ คดี นี้ จำเลยที่ 1 เท่านั้น เป็น ผู้ฟ้องแย้ง และ จำเลย ที่ 2 เป็น เพียง ผู้อาศัยที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ไป จดทะเบียน การ เช่า ให้ แก่จำเลย ที่ 2 เป็น เรื่อง นอกเหนือ ไป จาก คำขอ ตาม ฟ้องแย้ง จึง ไม่ชอบและ ปัญหา นี้ เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไข ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ไป ดำเนินการ จดทะเบียนการ เช่า ตึกแถว เลขที่ 81/24 เป็น ระยะเวลา ถึง วันที่ 1 พฤษภาคม 2551แก่ จำเลย ที่ 1 หาก โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์

Share