คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามป.วิ.พ.มาตรา296วรรคสองมีความหมายกว้างกว่าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา280เพราะมาตรา296วรรคสองมิได้เจาะจงตัวบุคคลไว้โดยเฉพาะเช่นมาตรา280 ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในครั้งแรกโดยให้ราคาสูงสุดแต่ผู้ร้องไม่ชำระราคาเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้ประกาศขายทอดตลาดเป็นครั้งที่สองมีผู้ให้ราคาสูงสุดซึ่งต่ำกว่าการขายทอดตลาดครั้งแรกผู้ร้องจึงต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา516และตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีพ.ศ.2522ข้อ88ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามมาตรา296วรรคสองมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลอดที่ดำเนินการไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง จาก ผู้ประกัน ตัว จำเลย ผิดสัญญา ประกัน ศาล สั่ง ปรับผู้ประกัน ตาม สัญญา เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด หลักทรัพย์ ที่ วาง ประกันออก ขายทอดตลาด เพื่อ นำ เงิน มา ชำระ ค่าปรับ ตาม คำสั่งศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี ประกาศ ขายทอดตลาด ครั้งแรก วันที่ 24 มิถุนายน 2536ผู้ร้อง เป็น ผู้ประมูล ได้ ใน ราคา 375,000 บาท แต่ ไม่ชำระ ราคาเจ้าพนักงาน บังคับคดี ประกาศ ขายทอดตลาด ใหม่ ใน วันที่ 2 กันยายน2536 ว. เป็น ผู้ประมูล ได้ ใน ราคา 330,000 บาท
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า การ ขายทอดตลาด ทรัพย์ ใน วันที่ 2 กันยายน2536 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ไม่ได้ แจ้งกำหนด วัน เวลา ขายทอดตลาด ให้ ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ทราบและ หลังจาก วันที่ 2 กันยายน 2536 แล้ว ผู้ร้อง จึง ทราบ ว่า มี การขายทอดตลาด ทรัพย์ ดังกล่าว ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ยกเลิก หรือ เพิกถอนการ ขายทอดตลาด เมื่อ วันที่ 2 กันยายน 2536 และ ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการ ขายทอดตลาด ทรัพย์ ดังกล่าว ใหม่
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “แม้ ผู้ร้อง ฎีกา รับ ว่า ไม่เป็น บุคคลตาม มาตรา 280 กล่าว คือ ไม่ใช่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือ ลูกหนี้ตาม คำพิพากษา ใน คดี นี้ โดยตรง ทั้ง ไม่ใช่ ผู้ที่ ชอบ จะ ใช้ สิทธิ อัน ได้จดทะเบียน ไว้ โดยชอบ หรือ ได้ ยื่น คำร้องขอ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา288, 289 และ 290 อัน เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน ราย พิพาท ก็ ตาม แต่ คำ ว่าผู้มีส่วนได้เสีย ใน การ บังคับคดี ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน มาตรา 296 วรรคสองมี ความหมาย กว้าง กว่า บุคคล ผู้มีส่วนได้เสีย ใน วิธี บังคับคดี ตามมาตรา 280 เพราะ มาตรา 296 วรรคสอง มิได้ เจาะจง ตัวบุคคล ไว้ โดยเฉพาะเช่น มาตรา 280 ดังนั้น เมื่อ ได้ความ ว่า ผู้ร้อง เป็น ผู้ เข้า ประมูลซื้อ ทรัพย์ ราย พิพาท จาก การ ขายทอดตลาด ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ในครั้งแรก โดย ผู้ร้อง ให้ ราคา สูงสุด 375,000 บาท แต่ ผู้ร้อง ไม่ชำระราคา เจ้าพนักงาน บังคับคดี จึง ได้ ประกาศ ขายทอดตลาด เป็น ครั้งที่ สองใน วันที่ 2 กันยายน 2536 มี ผู้ ให้ ราคา สูงสุด เพียง 330,000 บาทซึ่ง ต่ำกว่า การ ขายทอดตลาด ครั้งแรก เป็น เงิน 45,000 บาท ผู้ร้องจึง ต้อง รับผิด ใน ส่วน ที่ ขาด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา516 นอกจาก นี้ ตาม ระเบียบ กระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การ บังคับคดี ของเจ้าพนักงาน บังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 88 ได้ กำหนด ว่า ใน กรณี เช่นนี้เจ้าพนักงาน บังคับคดี ต้อง แจ้ง วันนัด ขายทอดตลาด ให้ ผู้ร้อง ทราบและ กำหนด ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี จัดการ เรียกร้อง ให้ ผู้ซื้อทรัพย์เดิม ชำระ เงิน ส่วน ที่ ยัง ขาด นั้น ด้วย หาก ปรากฏว่า การ ขายทอดตลาดซ้ำ อีก นั้น ได้ เงิน หลังจาก หัก ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม แล้ว ยัง ไม่ คุ้มราคา ค่าขาย ทอดตลาด ครั้งก่อน ผู้ร้อง จึง เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ใน การบังคับคดี ตาม มาตรา 296 วรรคสอง มีสิทธิ ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอนการ ขายทอดตลาด ที่ ดำเนินการ ไป โดย ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย ได้ คำวินิจฉัยของ ศาลล่าง ทั้ง สอง ที่ ให้ยก คำร้องขอ งผู้ร้อง โดย วินิจฉัย ว่า ผู้ร้องไม่มี ส่วนได้เสีย ใน วิธีการ บังคับคดี จึง ไม่มี สิทธิ ร้องขอ ให้ เพิกถอนการ ขายทอดตลาด นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย และ การ ที่ ผู้ร้อง ยื่นคำร้อง ว่า เจ้าพนักงาน บังคับคดี ไม่แจ้ง วันนัด ขายทอดตลาด ครั้งที่ สองให้ ผู้ร้อง ทราบ ก่อน วัน ขายทอดตลาด นั้น เมื่อ ยัง ไม่ได้ ความ แน่ชัดว่า เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ แจ้ง วันนัด ขายทอดตลาด ครั้งที่ สองให้ ผู้ร้อง ทราบ แล้ว หรือไม่ ทั้ง ไม่ปรากฏ ว่า ผู้ร้อง ได้ ยื่น คำร้องภายใน กำหนด ระยะเวลา 8 วัน นับแต่ วัน ทราบ การ ฝ่าฝืน นั้น หรือไม่ก็ ชอบ ที่ ศาล จะ ทำการ ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ต่อไป เพราะ ขณะ นั้น การบังคับคดี ก็ ยัง มิได้ เสร็จ ลง การ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้องโดย ไม่ไต่สวน ให้ ได้ความ ชัด เสีย ก่อน และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืนตาม มา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังขึ้น ”
พิพากษายก คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น และ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2ให้ ศาลชั้นต้น ไต่สวน คำร้องขอ งผู้ร้อง แล้ว มี คำสั่ง ใหม่ ตาม รูปคดี

Share