คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงนั้นมิใช่เป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องอัตราและวิธีเก็บเงินสมทบการวางเงินทดแทน ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายนพ.ศ.2516ในข้อ8เนื่องจากไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใดและการอุทธรณ์ตามข้อ8ไม่ต้องขอให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์มิได้ยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยโจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า สำนักงาน กองทุนเงินทดแทน กำหนด รหัสประเภท กิจการของ โจทก์ เพื่อ จ่ายเงิน สมทบ กองทุนเงินทดแทน ไว้ ที่ รหัส 1004ประเภท กิจการ ประกอบ รถยนต์ ซึ่ง ต้อง ชำระ เงิน สมทบ ใน อัตรา ร้อยละ 0.6อันเป็น การ กำหนด รหัสประเภท กิจการ ไม่ ตรง กับ ข้อเท็จจริง เนื่องจากกิจการ ที่ โจทก์ ดำเนิน อยู่ มิใช่ การ ประกอบ รถยนต์ หาก แต่ เป็น กิจการให้ บริการ ด้าน แรงงาน ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง คำวินิจฉัย ของสำนักงาน กองทุนเงินทดแทน ของ จำเลย ที่ 1 และ คำสั่ง คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ที่ มี จำเลย ที่ 2 เป็น ประธาน คณะกรรมการและ มี คำสั่ง ว่า โจทก์ อยู่ ใน ประเภท รหัสกิจการ 1601 หรือ 1625ประเภท กิจการ บริการ งาน อาชีพ หรือ บริการ ที่ ไม่ได้ จัด ประเภท ไว้ ในที่อื่น ซึ่ง มี อัตรา เงิน สมทบ ร้อยละ 0.2
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ เคย อุทธรณ์ เรื่อง ดังกล่าว ต่อคณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ซึ่ง คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทนได้ พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่าการ กำหนด รหัสประเภท กิจการ และ อัตราเงิน สมทบ ชอบแล้ว โจทก์ ได้รับ แจ้ง เป็น หนังสือ แต่ โจทก์ มิได้ ยื่นฟ้องต่อ ศาล ภายใน 30 วัน โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ดำเนินคดี มา สู่ ศาลขอให้ ยกฟ้อง
วันนัด พิจารณา คู่ความ แถลงรับ ข้อเท็จจริง ร่วมกัน ว่า โจทก์ เคยยื่น อุทธรณ์ เกี่ยวกับ การ กำหนด รหัสประเภท กิจการ ของ โจทก์ ต่อคณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทนได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ แล้ว มี มติ ว่า โจทก์ อยู่ ใน รหัสประเภท กิจการ 1004″การ ประกอบ รถยนต์ ” อัตรา เงิน สมทบ ร้อยละ 0.6 โดย โจทก์ ได้รับ แจ้งคำวินิจฉัย แล้ว แต่ โจทก์ มิได้ ยื่นฟ้อง ต่อ ศาล ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ทราบ คำวินิจฉัย ดังกล่าว ต่อมา โจทก์ ได้ มี หนังสือ ถึง สำนักงานกองทุนเงินทดแทน ว่า การ กำหนด รหัสประเภท กิจการ ดังกล่าวไม่ถูกต้อง โจทก์ อยู่ ใน รหัสประเภท กิจการ 1601 หรือ 1625 สำนักงานประกัน สังคม มี หนังสือ แจ้ง โจทก์ ว่า คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทนมี มติ เกี่ยวกับ เรื่อง ดังกล่าว มา แล้ว โจทก์ ได้ อุทธรณ์ เกี่ยวกับเรื่อง นี้ ต่อ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน อีก
ศาลแรงงานกลาง เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ จึง ให้ งดสืบพยานและ พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “อุทธรณ์ ของ โจทก์ต่อ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ตาม สำเนา อุทธรณ์ เอกสาร ท้ายคำให้การ หมายเลข 1 มี เนื้อความ ว่าการ กำหนด รหัสประเภท กิจการของ สำนักงาน กองทุนเงินทดแทน ไม่ถูกต้อง ตาม ข้อเท็จจริง เป็น การ อุทธรณ์ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตรา และ วิธี เรียกเก็บเงิน สมทบการ วางเงิน ทดแทน ของ สำนักงาน กองทุนเงินทดแทน และ การ อุทธรณ์ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 8 มิใช่ ข้อ 7 เพราะ เป็น กรณีที่ สำนักงาน กองทุนเงินทดแทน กำหนด รหัสประเภท กิจการ ของ โจทก์ไม่ถูกต้อง ตรง กับ ข้อเท็จจริง อุทธรณ์ ดังกล่าว จึง ไม่เป็น ไป ตามกฎหมาย เพราะ โจทก์ ยัง ไม่มี สิทธิ อุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทนการ พิจารณา อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทนจึง ไม่ชอบ และ ไม่มี ผล เป็น การ พิจารณา อุทธรณ์ ดังนั้น กำหนด 30 วันที่ ให้ ยื่นฟ้อง ต่อ ศาลยัง ไม่ เริ่ม นับ โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้อง นั้น เห็นว่าตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตรา และ วิธี เรียกเก็บเงิน สมทบการ จ่ายเงิน ทดแทน ของ สำนักงาน กองทุนเงินทดแทน และ การ อุทธรณ์ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 6 ว่า “ให้ สำนักงาน กองทุนเงินทดแทนกำหนด รหัสประเภท กิจการ ของ นายจ้าง ตาม ตาราง ที่ 1 ท้าย ประกาศ นี้โดย พิจารณา จาก ประเภท กิจการ ที่นายจ้าง ดำเนินการ ” และ ข้อ 23 ว่า”นายจ้าง ซึ่ง ไม่พอ ใจ คำสั่ง คำวินิจฉัย หรือ การ ประเมิน เงิน สมทบของ สำนักงาน กองทุนเงินทดแทน ตาม ข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9ข้อ 18 วรรคสอง และ ข้อ 21 ให้ อุทธรณ์ คำสั่ง คำวินิจฉัย หรือ การประเมิน เงิน สมทบ ต่อ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ภายใน สามสิบ วันนับแต่ วันที่ ทราบ คำสั่ง หรือ คำวินิจฉัย หรือ การ ประเมิน เงิน สมทบ นั้น “ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับ ดังกล่าว สำนักงาน กองทุนเงินทดแทนเป็น ผู้กำหนด รหัสประเภท กิจการ ของ โจทก์ เมื่อ โจทก์ ไม่พอ ใจ จึง มีสิทธิอุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ได้ความ ว่า โจทก์ ยื่น อุทธรณ์เกี่ยวกับ การ กำหนด รหัสประเภท กิจการ ของ โจทก์ ต่อ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เมื่อ วันที่ 29 เมษายน 2536 ตาม สำเนา แบบ อุทธรณ์เอกสาร ท้าย คำให้การ เอกสาร หมายเลข 1 คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทนได้ วินิจฉัย แล้ว มี มติ ว่า โจทก์ อยู่ ใน รหัสประเภท กิจการ 1004″การ ประกอบ รถยนต์ ” อัตรา เงิน สมทบ ร้อยละ 0.6 และ รหัสประเภทกิจการ อื่น ๆ เพิ่มเติม ตาม ประเภท กิจการ ของ ผู้ว่าจ้าง โจทก์ โดย โจทก์ได้รับ แจ้ง คำวินิจฉัย ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2536ตาม สำเนา หนังสือ แจ้ง ผล การ พิจารณา อุทธรณ์ และ สำเนา ใบ ตอบรับเอกสาร ท้าย คำให้การ เอกสาร หมายเลข 3 และ 4 การ ที่ โจทก์ไม่พอ ใจ ใน คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ดังกล่าว โจทก์ ต้อง ยื่นฟ้อง ต่อ ศาล ภายในสามสิบ วัน นับแต่ วันที่ ทราบ คำวินิจฉัย ตาม ข้อ 25 ของ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับ ดังกล่าว ข้างต้น แต่ โจทก์ มิได้ ฟ้องคดี ภายใน กำหนดโดย ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 23 กันยายน 2537 โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้องส่วน ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า อุทธรณ์ ของ โจทก์ ตาม สำเนา แบบ อุทธรณ์ท้าย คำให้การ เอกสาร หมายเลข 1 เป็น อุทธรณ์ ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตรา และ วิธี เรียกเก็บเงิน สมทบ การ จ่ายเงินทดแทน และ การ อุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 8 นั้น เห็นว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับ ดังกล่าว ข้อ 8 เป็น กรณี ที่ ถ้า ปรากฏว่ารหัสประเภท กิจการ ที่ กำหนด ไว้ ไม่ ตรง กับ ข้อเท็จจริง ให้ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน วินิจฉัย และ เปลี่ยนแปลง รหัสประเภท กิจการ และ อัตราเงิน สมทบ ของ นายจ้าง ให้ ตรง กับ ข้อเท็จจริง เมื่อ ไม่ปรากฏ ว่าสำนักงาน กองทุนเงินทดแทน ได้ มี คำวินิจฉัย เปลี่ยนแปลง รหัสประเภทกิจการ และ อัตรา เงิน สมทบ ของ โจทก์ แต่อย่างใด ทั้ง การ อุทธรณ์ตาม ข้อ 8 ก็ ไม่ต้อง ขอให้ จำเลย ที่ 1 วินิจฉัย ก่อน จึง ไม่เป็น การอุทธรณ์ ตาม ข้อ 8 อุทธรณ์ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เมื่อ วินิจฉัย ดังนี้แล้ว กรณี จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ อื่น ต่อไปที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ”
พิพากษายืน

Share