แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายฐานละเมิดแม้บิดาโจทก์จะเบิกจากทางราชการและทางราชการได้จ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้แทนโจทก์ไปแล้วก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของบิดาโจทก์ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่2โจทก์จึงยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยที่2ผู้ต้องรับผิดฐานละเมิดได้และกรณีเป็นคนละเรื่องกับการที่โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในกรณีถูกทำละเมิดจนได้รับอันตรายแก่กายหรือถึงแก่ชีวิต เมื่อโจทก์ออกจากโรงพยาบาลแล้วโจทก์ยังต้องได้รับการรักษาโดยทางกายภาพบำบัดต้องมีผู้มาทำกายภาพบำบัดให้ที่บ้านของโจทก์อีกเป็นเวลา3เดือนเชื่อว่าโจทก์ต้องเสียค่าจ้างคนมาทำกายภาพบำบัดให้แม้โจทก์ไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดงโจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้ ค่าจ้างบุคคลอื่นดูแลโจทก์ในระหว่างการรักษาพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลนั้นแม้โจทก์จะไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดงและไม่มีรายละเอียดว่าได้จ่ายค่าจ้างไปเท่าใดก็ตามแต่การที่โจทก์ได้รับบาดเจ็บขาหักหลายแห่งต้องผ่าตัดหลายครั้งและต้องทำการกายภาพบำบัดทั้งขณะอยู่ที่โรงพยาบาลและออกจากโรงพยาบาลแล้วใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลนานถึง129วันจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดเพราะโจทก์ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้ ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นนักเรียนกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่6โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสต้องพักรักษาตัวหลายเดือนต้องขาดเรียนและเรียนซ้ำชั้นโจทก์ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานทางกายและจิตใจมากโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในส่วนนี้ได้และไม่ใช่ค่าเสียหายที่ไกลเกินเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา446
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2534 โจทก์ นั่งรถยนต์โดยสาร ประจำทาง ของ จำเลย ที่ 2 มี จำเลย ที่ 1 ลูกจ้าง ของจำเลย ที่ 2 เป็น คนขับ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ใน ทางการ ที่จ้าง ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ปราศจาก ความระมัดระวัง ด้วย ความ เร็ว สูงเป็นเหตุ ให้ เบียด ชน กับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 9 ง-4000 กรุงเทพมหานครรถยนต์โดยสาร ประจำทาง ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ เสีย หลัก ตกลง ข้างทาง ทับ โจทก์ได้รับ อันตรายสาหัส โจทก์ ต้อง พัก รักษา ตัว อยู่ ที่ โรงพยาบาล ภูมิพลอดุลยเดช นาน 129 วัน เสีย ค่ารักษาพยาบาล เป็น เงิน 124,696บาท ค่าจ้าง ผู้ช่วยเหลือ พิเศษ ค่า อาหาร และ ค่า ของ ใช้ เบ็ดเตล็ด60,000 บาท หลังจาก ออกจาก โรงพยาบาล แล้ว ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การฝึก กาย ภาพ บำบัด อีก 50,000 บาท และ ขณะ เกิดเหตุ โจทก์ กำลัง ศึกษาอยู่ ชั้น มัธยม ปี ที่ 6 โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย จังหวัด นนทบุรี ทำให้ โจทก์ ต้อง เสีย เวลา เรียน ซ้ำ ชั้น อีก 1 ปี และ ขาด ความ ก้าวหน้าทั้ง ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย ไม่ น้อยกว่า 80,000 บาท การ ที่ โจทก์ ได้รับอันตรายสาหัส ดังกล่าว แล้ว ทำให้ โจทก์ ทน ทุกข์ ทรมาน ทั้ง ร่างกายและ จิตใจ จึง ขอ เรียก ค่าสินไหมทดแทน ใน ส่วน นี้ 250,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหาย ทั้งหมด 564,696 บาท โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ แล้ว จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 564,696 บาท แก่ โจทก์ พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ขาด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2และ ไม่ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ใน ทางการที่จ้าง เหตุ ที่ โจทก์ ได้รับ อันตรายแก่ กาย โจทก์ มี ส่วน ประมาท อยู่ ด้วย ส่วน ค่าสินไหมทดแทน ต่อ จิตใจและ ความ ก้าวหน้า ใน ชีวิต กับ ค่าใช้จ่าย ใน การ เรียน ซ้ำ ชั้น ไม่ใช่ผล โดยตรง จาก การ ทำละเมิด ทั้ง เป็น ค่าเสียหาย ที่ ไกล เกิน เหตุ ซึ่งไม่สามารถ คาดหมาย ได้ โจทก์ เสีย ค่ารักษาพยาบาล จริง ๆ ไม่เกิน100,000 บาท และ บิดา ของ โจทก์ สามารถ เบิก จาก ทางราชการ ได้ อยู่ แล้วโจทก์ ไม่ต้อง ชำระ เอง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน414,696 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับ จาก วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า บิดา โจทก์ มีสวัสดิการ ของ ทางราชการ ช่วยเหลือ หรือ บุคคล ใด บุคคล หนึ่ง ชำระค่ารักษาพยาบาล แทน โจทก์ ค่าเสียหาย ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ ค่ารักษาพยาบาลที่ โจทก์ จะ เรียกร้อง ได้ ต้อง เป็น ค่ารักษาพยาบาล ที่ โจทก์ ได้เสีย ไป ตามความ เป็น จริง เท่านั้น ไม่ว่า ประการใด ก็ ตาม เนื่องจาก โจทก์ สามารถคิด ค่าเสียหาย ใน ส่วน ค่าสินไหมทดแทน อัน มิใช่ ตัว เงิน ใน กรณี ถูก ทำละเมิดจน ได้รับ อันตรายแก่กาย หรือ ถึง แก่ ชีวิต ได้ อยู่ แล้ว จึง เรียกค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ อีก ไม่ได้ นั้น เห็นว่า ค่ารักษาพยาบาล เป็นค่าเสียหาย ฐาน ละเมิด แม้ บิดา โจทก์ จะ เบิก จาก ทางราชการ และ ทางราชการได้ จ่าย ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ แทน โจทก์ ไป แล้ว ก็ ตาม ก็ เป็น สิทธิ เฉพาะตัวของ บิดา โจทก์ ไม่เกี่ยวกับ ความรับผิด ของ จำเลย ที่ 2 โจทก์ จึง ยังมีสิทธิ เรียกร้อง เอา ค่ารักษาพยาบาล จาก จำเลย ที่ 2 ผู้ต้องรับผิดฐาน ละเมิด ได้ และ กรณี เป็น คน ละ เรื่อง กับ การ ที่ โจทก์ มีสิทธิ ที่ จะเรียก เอา ค่าเสียหาย อัน มิใช่ ตัว เงิน ใน กรณี ถูก ทำละเมิด จน ได้รับอันตรายแก่กาย หรือ ถึง แก่ ชีวิต ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้นที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่ารักษา ทาง กาย ภาพ บำบัดและ ค่าจ้าง คน ดูแล นั้น เห็นว่า โจทก์ มี นาวาอากาศเอก ปรีดา จินดา แพทย์ ผู้ รักษา โจทก์ เป็น พยาน เบิกความ ยืนยัน ว่า ขา ของ โจทก์ ถูก รถยนต์บดขยี้ จนกระทั่ง เนื้อ บางส่วน ตาย ต้อง ตัด ออก หลังจาก ผ่าตัด เอา เนื้อที่ ตาย ออก ไป แล้ว จะ ต้อง ผ่าตัด เอา ผิวหนัง ส่วน อื่น มา ปะ ไว้ ต่อ จาก นั้นจะ ต้อง ทำ กาย ภาพ บำบัด เพราะ บาดแผล ถูก ดึง รั้ง ไว้ ทำให้ เหยียดขา หรือนั่ง ไม่ได้ เมื่อ อก จาก โรงพยาบาล แล้ว ก็ ต้อง ทำ กาย ภาพ บำบัด อีก เพื่อจะ ได้ เหยียดขา หรือ นั่ง ได้ ตาม ปกติ พยาน ปาก นี้ เป็น ผู้ตรวจ รักษา โจทก์ทำการ ตรวจ รักษา โจทก์ ด้วย หลักวิชา การ คำเบิกความ ของ พยาน นี้ มีเหตุ ผลน่าเชื่อ ถือ จำเลย ที่ 2 เอง ก็ มิได้ นำสืบ ให้ เห็น เป็น อย่างอื่นกรณี ฟังได้ ว่า เมื่อ โจทก์ ออกจาก โรงพยาบาล แล้ว โจทก์ ยัง ต้อง ได้รับการ รักษา โดย ทาง กาย ภาพ บำบัด โดย มี ผู้ มา ทำ กาย ภาพ บำบัด ให้ ที่ บ้านของ โจทก์ อีก เป็น เวลา 3 เดือน ใน การ นี้ เชื่อ ได้ว่า โจทก์ ต้อง เสียค่าจ้าง คน มา ทำ กาย ภาพ บำบัด ให้ แม้ โจทก์ ไม่มี ใบเสร็จรับเงิน มา แสดงโจทก์ ก็ มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนดค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ ให้ เป็น เงิน 40,000 บาท นั้น เหมาะสม แล้วส่วน ค่าจ้าง บุคคลอื่น มา ดูแล โจทก์ ใน ระหว่าง การ รักษา พยาบาล อยู่ ที่โรงพยาบาล นั้น เห็นว่า แม้ โจทก์ จะ ไม่มี ใบเสร็จรับเงิน มา แสดง และไม่มี รายละเอียด ว่า ได้ จ่าย ค่าจ้าง ไป เท่าใด ก็ ตาม แต่ การ ที่ โจทก์ได้รับ บาดเจ็บ ขา หัก หลาย แห่ง ต้อง ทำการ รักษา ด้วย การ ผ่าตัด หลาย ครั้งต้อง ตัด เอา เนื้อที่ ตาย บางส่วน ออก แล้ว ผ่าตัด เอา ผิวหนัง ส่วน อื่น มา ปะไว้ และ ต้อง ทำการ กาย ภาพ บำบัด ทั้ง ขณะ อยู่ ที่ โรงพยาบาล และ ออกจากโรงพยาบาล แล้ว ใช้ เวลา ใน การ รักษา ใน โรงพยาบาล นาน ถึง 129 วันโจทก์ ได้รับ อันตรายสาหัส มาก จำเป็น ต้อง มี ผู้ดูแล ช่วยเหลือ อย่างใกล้ชิด เพราะ โจทก์ ช่วยเหลือ ตัวเอง ไม่ได้ เชื่อ ได้ว่า โจทก์ ได้ จ้างบุคคลอื่น มา ช่วยเหลือ ดูแล ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้เป็น เงิน 50,000 บาท เป็น การ เหมาะสม แล้ว ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่าโจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย อัน มิใช่ ตัว เงิน เพราะ เป็น ความเสียหายที่ ไกล เกิน เหตุ นั้น เห็นว่า ขณะ เกิดเหตุ โจทก์ เป็น นักเรียน กำลังเรียน อยู่ ชั้น มัธยม ปี ที่ 6 จำเลย ที่ 1 ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2ทำละเมิด ต่อ โจทก์ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ขา หัก หลาย แห่ง ต้อง รักษา โดย การผ่าตัด หลาย ครั้ง และ รักษา ตัว อยู่ ที่ โรงพยาบาล นาน ถึง 129 วัน ออกจากโรงพยาบาล แล้ว ก็ ต้อง มา รักษา ตัว ที่ บ้าน อีก หลาย เดือน โจทก์ ได้รับอันตรายแก่กาย ถึง สาหัส ต้อง ทน ทุกข์ ทรมาน เพราะ บาดแผล ที่ ได้รับเป็น เวลา นาน ต้อง ขาด เรียน และ เรียน ซ้ำ ชั้น เห็น ได้ว่า โจทก์ ได้รับความ ทุกข์ ทรมาน ทาง กาย และ จิตใจ มาก โจทก์ ย่อม มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหายอัน มิใช่ ตัว เงิน ใน ส่วน นี้ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 ไม่ใช่ เป็น ค่าเสียหาย ที่ ไกล เกิน เหตุ ตาม ข้ออ้าง ของจำเลย ที่ 2 ตาม พฤติการณ์ และ ความ ร้ายแรง แห่ง ละเมิด กับ ความ ทุกข์ ทรมานทาง กาย และ ใจ ที่ โจทก์ ได้รับ แล้ว การ ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าเสียหายใน ส่วน นี้ ให้ โจทก์ เป็น เงิน 200,000 บาท นั้น เป็น การ เหมาะสม แล้วฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 2 ก็ ฟังไม่ขึ้น ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา ชอบแล้วฎีกา ทุก ข้อ ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน