คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

กองทัพบกเป็นนิติบุคคลมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้แทนและเป็นผู้แสดงเจตนาอันเป็นความประสงค์ของนิติบุคคลแม้จะมีการรายงานถึงเหตุการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้ทำการแทนทราบว่าจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลใด แม้โจทก์จะซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับยกเว้นค่าภาษีอากรทำให้มีราคาต่ำกว่าท้องตลาดแต่ราคารถยนต์ที่จำเลยทั้งสามจะต้องชดใช้ต้องถือเอาราคาปกติในท้องตลาดอันเป็นมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินเมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีเพียงใดศาลใช้ดุลพินิจกำหนดให้เองได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ ใน ทางการที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ชน รถ ของ โจทก์ ทำให้ รถ ของ โจทก์พัง ยับเยินไม่สามารถ ซ่อม ได้ คิด ค่าเสียหาย เป็น เงิน 660,000 บาทจำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น นายจ้าง และ เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครองรถยนต์ ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ ไป ทำละเมิด ดังกล่าว ต้อง ร่วมกัน รับผิดชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 660,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ เพิ่ง ทราบเหตุ ละเมิด และ ทราบ ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เมื่อ วันที่28 ธันวาคม 2531 ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหายให้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน 660,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ละเมิดเพราะ มูลคดี นี้ เกิดขึ้น เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2531 แต่ โจทก์ ฟ้อง จำเลยเมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม 2532 ซึ่ง พ้น กำหนด ระยะเวลา 1 ปี แล้ว จำเลยที่ 1 นำ รถ ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ออก ไป ขับ โดย พลการ มิได้ กระทำไป ใน ทางการที่จ้าง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จึง ไม่ต้อง ร่วมรับผิดรถ ของ โจทก์ มี สภาพ เก่า ใช้ งาน มา นาน แล้ว มี ราคา ไม่เกิน 50,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระค่าเสียหาย เป็น เงิน 125,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
โจทก์ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ว่า ฟ้อง ขาดอายุความ หรือไม่ เกี่ยวกับ ปัญหา นี้ ปรากฏว่า โจทก์เป็น นิติบุคคล โดย มี ผู้บัญชาการ ทหารบก เป็น ผู้แทน มีอำนาจ บังคับบัญชา และ รับผิดชอบ ดังนี้ ผู้บัญชาการ ทหารบก จึง มี ฐานะ เป็น ผู้แทนนิติบุคคล และ เป็น ผู้ แสดง เจตนา อันเป็น ความ ประสงค์ ของ นิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 หรือ ที่ แก้ไข ใหม่มาตรา 70 การ รับทราบ เหตุ และ ตัว ผู้ต้องรับผิด จะ ต้อง ให้ ผู้บัญชาการทหารบก เป็น ผู้รับ ทราบ และ สั่งการ เรื่อง นี้ ตาม สำเนา เอกสาร หมาย จ. 6แผ่น ที่ 15 ปรากฏว่า กองบัญชาการ ควบคุม กองพล ทหาร ราบที่ 4 อันเป็นส่วนราชการ ของ โจทก์ ได้ มี คำสั่ง แต่งตั้ง คณะกรรมการ สอบสวน เพื่อ ทราบข้อเท็จจริง แล้ว รายงาน ตามลำดับ ชั้น จน ถึง พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ ใน ฐานะ ผู้ช่วย ผู้บัญชาการ ทหารบก ทำการ แทน ผู้บัญชาการ ทหารบก ซึ่งได้ ลงนาม อนุมัติ ตาม ที่ เสนอ ให้ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลยทั้ง สาม ตาม บันทึก คำสั่ง อนุมัติ เอกสาร หมาย จ. 8 โดย ลงนาม อนุมัติเมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม 2531 กรณี จึง ต้อง ถือว่า โจทก์ เพิ่ง ทราบ เหตุและ ตัว ผู้ต้องรับผิด ใน วันที่ 28 ธันวาคม 2531 โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2532 ยัง ไม่ พ้น กำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ฟ้อง จึง ยัง ไม่ขาดอายุความที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่า ได้ มี การ รายงาน เหตุการณ์ เสียชีวิตของ นายทหาร ชั้นสัญญาบัตร ให้ โจทก์ ทราบ ภายใน 24 ชั่วโมง จึง ต้องถือว่า โจทก์ ทราบ เหตุ ตั้งแต่ วันเกิดเหตุ และ ต่อมา เมื่อ วันที่ 16พฤษภาคม 2531 ได้ มี การ ทำ บันทึก เรื่อง ค่าเสียหาย ตาม สำเนา บันทึกเอกสาร หมาย จ. 19 แผ่น ที่ 3 แสดง ว่า โจทก์ ทราบ ตัว ผู้ต้องรับผิดตั้งแต่ วัน ทำ บันทึก แล้ว นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า มิได้ เป็น การ รับทราบ เหตุโดย ผู้แทน ผู้มีอำนาจ ทำการ แทน ของ โจทก์ ดัง ที่ ได้ วินิจฉัย ไว้ ข้างต้นไม่อาจ ถือได้ว่า โจทก์ ทราบ เหตุ และ ตัว ผู้ต้องรับผิด ตาม ข้อ ฎีกา ของ จำเลยคำพิพากษา ของ ศาลล่าง ทั้ง สอง ใน ข้อ นี้ ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ต่อไป เกี่ยวกับ เรื่อง ค่าเสียหาย ได้ความ ว่า โจทก์ ซื้อรถยนต์ คัน เกิดเหตุ มา ใช้ ใน ราชการ โดย ไม่ต้อง เสีย ภาษีอากร ใน ราคา138,800 บาท โจทก์ อ้างว่า รถยนต์ คัน ดังกล่าว เสียหาย จน ใช้ การ ไม่ได้ทั้ง คัน เดิม โจทก์ ฟ้อง เรียก ให้ จำเลย ชดใช้ ราคา รถ เท่าที่ ซื้อ มา เป็นเงิน 138,800 บาท ต่อมา โจทก์ ขอแก้ไข คำฟ้อง และ นำสืบ ว่า ราคา รถรุ่น ใหม่ รวม ค่าภาษีอากร เป็น เงิน 660,000 บาท จึง ขอให้ จำเลยชดใช้ ใน ราคา ใหม่ เป็น เงิน 660,000 บาท ศาลล่าง ทั้ง สอง เห็นพ้อง กัน ว่าโจทก์ จะ คิด ค่าภาษีอากร รวม เข้า กับ ราคา รถ ไม่ได้ เพราะ โจทก์ ซื้อ รถ มาโดย ไม่ได้ เสีย ค่าภาษีอากร คง คิด ได้ ตาม ราคา ที่ ซื้อ มา จริง คือ138,800 บาท และ ใช้ ดุลพินิจ จำเลย ลดราคา ลง ให้ โจทก์ ได้ 125,000 บาทโจทก์ ฎีกา ขอให้ กำหนดราคา รถ เป็น เงิน 660,000 บาท ศาลฎีกา เห็นว่าการ ที่ โจทก์ ซื้อ รถ มา โดย ได้รับ ยกเว้น ภาษีอากร นั้น เห็น ได้ เป็น ที่ชัดแจ้ง ว่า ราคา ที่ โจทก์ ซื้อ มิใช่ ราคา ที่ แท้จริง ใน ท้องตลาด เพราะ ราคาใน ท้องตลาด นั้น จะ ต้อง เป็น ราคา ที่ รวม ค่าภาษีอากร เข้า ด้วย แล้ว ดังนี้ราคา รถ ที่ จะ ให้ ชดใช้ ต้อง ถือ ตาม ราคา ปกติ ใน ท้องตลาด อันเป็นมูลค่า ที่ แท้จริง ของ ทรัพย์สิน การ ถือเอา จำนวนเงิน ที่ โจทก์ ชำระ ไป ในการ ได้ รถ มา เพื่อ คำนวณ ราคา รถ จะ ทำให้ มูลค่า ของ ทรัพย์สิน ผิด ไปดัง เช่น ใน กรณี นี้ โจทก์ ย่อม ไม่มี สิทธิ เรียก เอา ราคา รถ ใน ส่วน ที่ เป็นค่าภาษีอากร หรือ ใน กรณี ที่ โจทก์ ได้ รถ มา โดย ไม่ต้อง ชำระ ค่าตอบแทนก็ จะ กลาย เป็น รถ ที่ ไม่มี ราคา และ ไม่สามารถ เรียก เอา ราคา รถ ได้ซึ่ง เป็น ไป ไม่ได้ ฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ ฟังขึ้น แต่ ที่ โจทก์ เรียก ให้ใช้ ราคา เป็น เงิน 660,000 บาท นั้น ได้ความ ว่า โจทก์ สอบถาม ไป ยังบริษัท ผู้แทน จำหน่าย และ ได้รับ ตอบ ตาม หนังสือ เอกสาร หมาย จ. 13ว่า รถ รุ่น เดียว กับ คัน ที่เกิดเหตุ ได้ เลิก ผลิต แล้ว โดย ได้ ผลิต รุ่น ใหม่มี สม รรถ นะดีกว่า เดิม และ ราคา เพิ่มขึ้น ถ้า ยกเว้น ค่าภาษีอากร ราคา ใหม่คัน ละ ประมาณ 220,000 บาท ถ้า รวม ภาษีอากร ราคา ใหม่ คัน ละประมาณ 660,000 บาท โจทก์ จึง เรียก ให้ จำเลย ชดใช้ 660,000 บาท โดยถือเอา ราคา ตาม หนังสือ ฉบับนี้ ดังนี้ ราคา ตาม หนังสือ ดังกล่าว เป็นราคา ของ รถ รุ่น ใหม่ ซึ่ง ราคา ได้ เปลี่ยนแปลง ไป จาก เดิม ที่ มี ราคา138,000 บาท ขึ้น ไป เป็น 220,000 บาท จึง ไม่อาจ นำ มา ใช้ เป็น กำหนดกฎเกณฑ์ ใน คดี นี้ เพราะ เป็น รถ รุ่น เก่า ราคา เก่า พันโท ชาญชัย ส่องพราย พยานโจทก์ เบิกความ ว่า รถ คัน เกิดเหตุ โจทก์ ซื้อ มา ราคา 138,000 บาท โดย ได้รับ ยกเว้น ภาษีอากร หาก ต้อง เสีย ภาษีอากรจะ เป็น เงิน 520,000 บาท ราคา รวม ค่าภาษีอากร เป็น เงิน 520,000 บาทนี้ ไม่ปรากฏ ว่า พันโท ชาญชัย ทราบ มา ได้ อย่างไร น่า จะ เป็น เพียง แค่ประมาณ การ เดาเท่านั้น จึง ยัง รับฟัง ตาม นั้น ไม่ได้ ประกอบ กับ เป็น รถที่ ใช้ มา แล้ว ประมาณ 3 ปี ย่อม เสื่อมสภาพ ไป ตาม ปกติ ของ การ ใช้ซึ่ง ราคา จะ ต้อง ลดลง ทั้ง ตาม ภาพถ่าย ท้าย เอกสาร หมาย จ. 3 แผ่น ที่ 31ถึง 33 ก็ เห็น ได้ว่า ยัง มี ซาก รถ เหลือ อยู่ ที่ โจทก์ พอ ที่ จะ ใช้ ดุลพินิจคิด หัก ราคา ให้ เป็น คุณ แก่ จำเลย ได้ บ้าง ศาลฎีกา เห็นควร กำหนด ให้จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชดใช้ ราคา รถ แก่ โจทก์ เป็น เงิน 250,000 บาท ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน250,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย

Share