คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8394/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สัญญาว่าจ้างถมดินระหว่างผู้รับจ้างไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดแห่งการทำงานของผู้รับจ้างไว้เมื่อผู้รับจ้างมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ผู้ว่าจ้างไม่ประสงค์จะให้ผู้รับจ้างถมดินต่อไปแม้ผู้ว่าจ้างอาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่ผู้รับจ้างได้ก็ตามแต่ผู้ว่าจ้างต้องเสียสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายใดๆอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นแก่ผู้รับจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา605 ค่าสินไหมทดแทนที่ให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา605นั้นมิได้จำกัดเฉพาะค่าแรงงานและทุนที่ลงไปเท่านั้นแต่รวมไปถึงค่าขาดผลประโยชน์หรือผลกำไรที่ผู้รับจ้างควรจะได้รับจากกิจการงานนั้นด้วย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2532 จำเลย ทั้ง สองตกลง ว่าจ้าง โจทก์ ถม ดิน ใน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 รวม เนื้อที่ 15 ไร่1 งาน 60 ตารางวา ให้ แล้ว เสร็จ นับ ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา ว่าจ้างเป็นต้น ไป โดย มิได้ มี ข้อตกลง กำหนด ระยะเวลา สิ้นสุด ไว้ จำเลยทั้ง สอง ตกลง ให้ สินจ้าง แก่ โจทก์ รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 2,860,000 บาทกำหนด จ่าย สินจ้าง กัน เป็น คราว ๆ เมื่อ ถม ดิน ได้ เนื้อที่ 1 ไร่ใน ราคา ไร่ ละ 200,000 บาท จนกว่า จะ ครบ ตาม หนังสือ สัญญา ว่าจ้างเอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 หลังจาก วัน ทำ สัญญา ว่าจ้าง แล้ว โจทก์ได้ จัดการ ถม ดิน ตาม สัญญา เรื่อย มา ต่อมา จำเลย ทั้ง สอง ได้ มี หนังสือลงวันที่ 9 มีนาคม 2532 บอกเลิก สัญญา ต่อ โจทก์ อ้าง เหตุ ว่าโจทก์ ผิดสัญญา ไม่ทำ การ ถม ดิน ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน วันที่ 28 กุมภาพันธ์2532 โจทก์ รับทราบ เมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2532 สัญญา เลิกกันเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2532 จำเลย ทั้ง สอง บอกเลิก สัญญา ใน ขณะที่โจทก์ ยัง ทำการ ถม ดิน ไม่ แล้ว เสร็จ เต็ม ตาม พื้นที่ ที่ ตกลง กัน ไว้โจทก์ มิได้ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา เพราะ สัญญา ว่าจ้าง ดังกล่าว มิได้มี ข้อกำหนด ระยะเวลา แห่ง การ ทำงาน ของ โจทก์ ไว้ จำเลย ทั้ง สองจึง ตกเป็น ฝ่าย ผิดสัญญา เพียง ฝ่ายเดียว การ ผิดสัญญา ของ จำเลย ทั้ง สองทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย นับ ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา จน ถึง วันที่ 15มีนาคม 2532 อันเป็น วันที่ สัญญา มีผล เป็น อัน เลิกกัน โจทก์ ถม ดิน ให้แก่ จำเลย ทั้ง สอง ตาม สัญญา ไป แล้ว จำนวน 5 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวาคิด เป็น เงินสินจ้าง จำนวน 1,266,160 บาท จำเลย ทั้ง สอง ชำระ สินจ้างให้ แก่ โจทก์ แล้ว จำนวน 441,400 บาท คงเหลือ เงินสินจ้าง ที่ค้างชำระ อีก จำนวน 824,760 บาท และ จำเลย ทั้ง สอง ต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อ ความเสียหาย ที่ เลิกสัญญา แก่ โจทก์ เป็น เงิน199,840 บาท เท่ากับ ผลประโยชน์ หรือ ผล กำไร ที่ โจทก์ จะ ได้รับหาก ได้ ทำการ ถม ดิน เสร็จ เต็ม พื้นที่ ตาม สัญญา ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ สินจ้าง จำนวน 824,760 บาท และ ค่าเสียหายจำนวน 199,840 บาท รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 1,024,600 บาท แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ค่า สินจ้างที่ ค้างชำระ จำนวน 824,760 บาท นับ ตั้งแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ จำเลย ที่ 1 ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ที่ 2ใน ฐานะ ส่วนตัว ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพราะ เป็น การกระทำ แทน จำเลยที่ 1 จำเลย ที่ 1 ตกลง ว่าจ้าง โจทก์ ให้ ถม ดิน ใน ที่ดิน ของ จำเลยที่ 1 เป็น เงิน 2,860,000 บาท โดย โจทก์ จะ ต้อง ถม ดิน ให้ สูง กว่าระดับ ถนน 20 เซนติเมตร ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532ถ้า โจทก์ ไม่สามารถ ถม ดิน ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าวโจทก์ ยอม ให้ จำเลย ที่ 1 ปรับ รายวัน เป็น เงิน วัน ละ 2,000 บาทจนกว่า จะ ทำการ ถม ดิน เสร็จ ตาม หนังสือ สัญญา ว่าจ้าง ท้าย คำให้การและ ฟ้องแย้ง หมายเลข 1 คำฟ้อง ของ โจทก์ ที่ บรรยาย ว่าการ ว่าจ้างระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ โจทก์ ไม่มี ข้อตกลง กำหนด ระยะเวลา สิ้นสุดกัน ไว้ นั้น ไม่ ตรง กับ ความจริง และ สำเนา หนังสือ สัญญา ว่าจ้างเอกสาร ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ หมายเลข 2 ก็ เป็น เอกสารปลอม โดย โจทก์ทำการ ขูด ลบ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อความ ใน เอกสาร ดังกล่าว จาก เดิมที่ กำหนด ให้ โจทก์ ทำงาน ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532มา เป็น ไม่มี กำหนด ระยะเวลา สิ้นสุด และ หลังจาก ทำ สัญญา กัน แล้วโจทก์ ถม ดิน ให้ จำเลย ที่ 1 นับแต่ วัน ทำ สัญญา เป็นต้น มา เมื่อ จำเลยที่ 1 ไป ตรวจสอบ พบ ว่า โจทก์ ทำการ ถม ดิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ได้ เพียง2 ไร่ เศษ เท่านั้น ใน ส่วน ที่ ถม ก็ ไม่ได้ สูง กว่า ระดับ ถนน ตาม ที่ กำหนดไว้ ใน สัญญา ทั้ง ดิน ที่ ถม บางส่วน โจทก์ ก็ ไม่ได้ ซื้อ มาจาก ที่อื่นหาก แต่ ลักลอบ ขุด เอา จาก ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 ทาง ด้านหลัง แล้ว นำ มาถม ใน ที่ดิน ด้านหน้า และ ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ ทำการ ถม ดิน อยู่ นั้นโจทก์ ขอ เบิกเงิน สินจ้าง ล่วงหน้า จาก จำเลย ที่ 1 ไป จำนวน 441,400บาท โดย อ้างว่า นำ ไป ซื้อ ดิน มา ถม ต่อมา โจทก์ ไม่ยอม นำ ดิน มา ถมให้ แก่ จำเลย ที่ 1 อีก จน กระทั่ง ใน วันที่ 9 มีนาคม 2532 จำเลย ที่ 1เห็นว่า หาก ปล่อย ให้ โจทก์ ทำการ ถม ดิน ต่อไป อีก ก็ มี แต่ จะ เกิด ความเสียหาย แก่ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 จึง มี หนังสือ บอกเลิก สัญญาและ ให้ โจทก์ นำ เงิน ค่าปรับ มา ชำระ แก่ จำเลย ที่ 1 เมื่อ คำนวณ สินจ้างตาม เนื้อที่ ที่ โจทก์ ถม ดิน แล้ว ได้ เนื้อที่ ประมาณ 2 ไร่ โจทก์ควร ได้รับ เงินสินจ้าง อย่างมาก ไม่เกิน 400,000 บาท เมื่อ หัก จากเงินสินจ้าง ที่ โจทก์ เบิก ล่วงหน้า จาก จำเลย ที่ 1 ไป ล่วงหน้า จำนวน441,400 บาท แล้ว โจทก์ จะ ต้อง จ่ายเงิน จำนวน 41,400 บาท คืน ให้แก่ จำเลย ที่ 1 ดังนั้น ที่ โจทก์ เรียกร้อง เงิน เป็น ค่า สินจ้างและ ค่าเสียหาย จึง ไม่เป็น ความจริง และ เงิน ที่ เรียกร้อง สูง เกินกว่าความ เป็น จริง การ ที่ โจทก์ ผิดสัญญา ทำให้ จำเลย ที่ 1 ต้อง ไป ว่าจ้างบุคคลภายนอก ถม ดิน ต่อ จาก โจทก์ จน แล้ว เสร็จ เสีย ค่า สินจ้าง ไปเป็น เงิน ทั้งสิ้น 2,876,136.50 บาท ซึ่ง เมื่อ นำ มา คิด หัก จาก เงินที่ จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ชำระ ให้ แก่ โจทก์ อีก 2,418,600 บาท แล้วจำเลย ที่ 1 ได้รับ ความเสียหาย เป็น เงิน 457,536.50 บาท นอกจาก นี้โจทก์ ต้อง รับผิด ชำระ ค่าปรับ ตาม สัญญา วัน ละ 2,000 บาท นับแต่ วันที่1 มีนาคม 2532 จน ถึง วันที่ 20 มีนาคม 2532 รวม เวลา 20 วันเป็น เงิน ค่าปรับ ทั้งสิ้น 40,000 บาท และ โจทก์ ต้อง คืนเงิน ส่วน ที่เบิก เกิน ไป จาก จำเลย ที่ 1 จำนวน 41,400 บาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ด้วยรวมเป็น เงิน ค่าเสียหาย ที่ จำเลย ที่ 1 ได้รับ ทั้งสิ้น จำนวน538,936.50 บาท ขอให้ ยกฟ้อง และ บังคับ โจทก์ ชำระ เงิน จำนวน538,936.50 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง แย้ง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ จำเลย ที่ 1
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า โจทก์ ตกลง รับจ้าง ถม ดิน โดย มิได้มี ข้อตกลง ว่า จะ ต้อง ถม ให้ สูง กว่า ระดับ ถนน 20 เซนติเมตร และ มิได้มี ข้อตกลง กัน ว่า จะ ต้อง ถม ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน วันที่ 28 กุมภาพันธ์2532 ข้อตกลง ที่ ถูกต้อง มี อยู่ ตาม สำเนา หนังสือ สัญญา ว่าจ้างเอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 ส่วน ข้อความ ใน หนังสือ สัญญา ว่าจ้าง เอกสารท้าย คำให้การ และ ฟ้องแย้ง หมายเลข 1 ที่ ว่า โจทก์ ตกลง จะ ถม ดิน ให้ แก่จำเลย ทั้ง สอง สูง กว่า ระดับ ถนน 20 เซนติเมตร และ จะ ถม ดิน ให้ แล้ว เสร็จภายใน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 นั้น เป็น ข้อความ ที่ มี ผู้ เขียนใน ภายหลัง โดย โจทก์ มิได้ รู้เห็น หรือ ยินยอม ให้ แก้ไข เพิ่มเติมเอกสาร ท้าย คำให้การ และ ฟ้องแย้ง หมายเลข 1 ของ จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่ชอบด้วย กฎหมาย และ ไม่ผูกพัน โจทก์ โจทก์ มิได้ ประพฤติ ผิดสัญญาโจทก์ ไม่เคย ลักลอบ ขุดดิน ของ จำเลย ที่ 1 มา ถม ตาม ฟ้องแย้ง ดิน ที่โจทก์ นำเข้า ไป ถม เป็น ดิน ที่ โจทก์ ซื้อ จาก บุคคลอื่น จำเลย ที่ 1บอกเลิก สัญญา มิใช่ เพราะ เหตุ โจทก์ ผิดสัญญา แต่ เป็น เพราะ จำเลย ที่ 1ไม่มี เงิน ชำระ แก่ โจทก์ นับ ตั้งแต่ โจทก์ ถม ดิน จน ถึง วัน เลิกสัญญาเป็น เวลา เพียง 1 เดือน เศษ เมื่อ เทียบ กับ งาน ที่ โจทก์ รับจ้าง ถม ดินแก่ จำเลย ที่ 1 แล้ว หา เป็น เวลา อันควร ที่ จำเลย ที่ 1 จะ อ้าง เพื่อเลิกสัญญา เสีย ไม่ เมื่อ โจทก์ ยัง ถม ดิน ไม่ แล้ว เสร็จ จำเลย ที่ 1บอกเลิก สัญญา โจทก์ จึง มิได้ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์ จึง ไม่ต้อง รับผิดต่อ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 1 ก็ มิได้ รับ ความเสียหาย การ บอกเลิก สัญญาของ จำเลย ที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ จำเลย ที่ 1 ไม่เคย บอกกล่าวให้ โจทก์ แก้ไข สิ่ง บกพร่อง หรือ ทำให้ เป็น ไป ตาม สัญญา และ ไม่ได้ กำหนดเวลา ให้ กระทำการ ดังกล่าว ก่อน บอกเลิก สัญญา โจทก์ จึง ไม่ต้อง รับผิดใน บรรดา สินจ้าง หรือ เงิน อื่น ใด ที่ จำเลย ที่ 1 ต้อง เสีย ไป มาก กว่าที่ จ้าง โจทก์ จำเลย ที่ 1 ไม่มี สิทธิ เรียกเงิน ค่าปรับ โจทก์ ไม่ต้องคืนเงิน จำนวน 41,400 บาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 เพราะ เงิน จำนวน ดังกล่าวเป็น ส่วน หนึ่ง ของ สินจ้าง ที่ โจทก์ ทำงาน ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ไป และจำเลย ที่ 1 ก็ ยัง ชำระ เงินสินจ้าง แก่ โจทก์ ไม่ครบ ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน929,600 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงินจำนวน 816,260 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 และ ยกฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ที่ 1คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน672,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีของ ต้นเงิน 558,600 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจากที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1มี ว่า จำเลย ที่ 1 ใช้ สิทธิ เลิกสัญญา โดยชอบ หรือไม่ เห็นว่าเมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ตาม ข้อ วินิจฉัย ว่า สัญญา ว่าจ้าง ถม ดิน ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ กำหนด เงื่อนไข เวลา สิ้นสุด แห่ง การ ทำงานของ โจทก์ ไว้ โจทก์ จึง มิได้ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา เมื่อ โจทก์ มิได้ เป็นฝ่าย ผิดสัญญา จำเลย ที่ 1 เอง ก็ ตกเป็น ฝ่าย ผิดสัญญา เพียง ฝ่ายเดียวดังนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 1 อ้าง เหตุผล บอกเลิก สัญญา ว่า โจทก์ เป็นฝ่าย ผิดสัญญา จึง เป็น การ ไม่ชอบ แต่ อย่างไร ก็ ตาม กรณี ตามสัญญาจ้าง ทำของ นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 บัญญัติ ว่าถ้า การ ที่ จ้าง ยัง ทำ ไม่ แล้ว เสร็จ อยู่ ตราบใด ผู้ว่าจ้าง อาจ บอกเลิกสัญญา ได้ เมื่อ เสีย ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ ผู้รับจ้าง เพื่อ ความเสียหายอย่างใด ๆ อัน เกิด แต่ การ เลิกสัญญา นั้น ดังนั้น เมื่อ จำเลย ที่ 1ไม่ประสงค์ จะ ให้ โจทก์ ถม ดิน ต่อไป จำเลย ที่ 1 ย่อม ใช้ สิทธิ บอกเลิกสัญญา แก่ โจทก์ ได้ แต่ จำเลย ที่ 1 ต้อง เสีย สินไหมทดแทน เพื่อความเสียหาย ใด ๆ แก่ โจทก์ ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว
ส่วน ปัญหา เรื่อง ค่าเสียหาย ของ โจทก์ ว่า มี เพียงใด จำเลย ที่ 1ฎีกา โต้เถียง ว่า โจทก์ ถม ดิน ใน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 ได้ เพียง 2 ไร่และ โจทก์ ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหาย จาก การ ขาด ประโยชน์ หรือผล กำไร ที่ ควร จะ ได้ จำนวน 113,400 บาท เพราะ ผลประโยชน์ หรือ ผล กำไรดังกล่าว รวม อยู่ ใน ค่าจ้าง ถม ดิน ไร่ ละ 200,000 บาท อยู่ แล้ว นั้นเห็นว่า สัญญา ว่าจ้าง ถม ดิน ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 เป็น เรื่องสัญญาจ้าง ทำของ เมื่อ จำเลย ที่ 1 บอกเลิก สัญญา โดย โจทก์ มิได้ เป็นฝ่าย ผิดสัญญา จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ โจทก์เพื่อ ความเสียหาย อัน เกิด แต่ การ เลิกสัญญา ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 605 ค่าเสียหาย ดังกล่าว มิได้ จำกัด เฉพาะค่าแรงงาน และ ทุน ที่ ลง ไป เท่านั้น แต่ รวม ไป ถึง ค่า ขาด ผลประโยชน์หรือ ผล กำไร ที่ โจทก์ ควร จะ ได้รับ จาก กิจการ งาน นั้น ด้วย แล้ว วินิจฉัยข้อเท็จจริง เชื่อ ว่า โจทก์ ถม ดิน ใน ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1 เสร็จ ไป แล้วจำนวน 5 ไร่ จึง เป็น ยอดเงิน ค่าเสียหาย ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ชำระให้ แก่ โจทก์ ทั้งสิ้น 672,000 บาท ดัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ

Share