คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ซื้อที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งมีที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองได้ ครอบครองแทน เจ้าของรวมอยู่ด้วยจากผู้ที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดของศาลย่อมได้สิทธิในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1330จำเลยทั้งสองจึงไม่มี สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิ ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า นาง สมคิด นะวะสิทธิ์ ได้ ซื้อ ที่ดิน ซึ่ง มี หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 347 แปลง พิพาท กับ แปลง อื่นอีก รวม 6 แปลง เนื้อที่ ประมาณ 100 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา จากการ ขายทอดตลาด ของ ศาลจังหวัด น่าน ใน สำนวน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่81/2522 ระหว่าง ธนาคาร เพื่อ การเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร จังหวัด น่านโจทก์ นาง ศรีคำ มหานิล กับพวก จำเลย โจทก์ ได้ ซื้อ ที่ดิน จำนวน 6 แปลง ดังกล่าว จาก นาง สมคิด นะวะสิทธิ์ โดย จดทะเบียน ซื้อ ขาย ตาม กฎหมาย ใน ระหว่าง การ บังคับคดี นั้น จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำหนังสือ ขออนุญาต ต่อ ธนาคาร เพื่อ การเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร สาขา น่านเพื่อ เข้า ทำกิน ใน ที่ดินพิพาท ทาง ธนาคาร ได้ อนุญาต ให้ จำเลย ทำกินใน ที่ดินพิพาท ตาม ขอ ต่อมา โจทก์ และ ธนาคาร เพื่อ การเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร สาขา น่าน ได้ บอกกล่าว ให้ จำเลย ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดินพิพาทแต่ จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ขอให้ บังคับ ห้าม จำเลย ทั้ง สอง และ บริวารเข้า เกี่ยวข้อง ใน ที่ดินพิพาท อีก ต่อไป ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 3,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่าจำเลย ทั้ง สอง จะ ออกจาก ที่ดินพิพาท
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ไม่เคย ทำ หนังสือขออนุญาต ธนาคาร เพื่อ การเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร สาขา น่านเพื่อ เข้า ทำกิน ใน ที่ดินพิพาท ทาง ธนาคาร ได้ ทำ เอกสาร ดังกล่าวขึ้น ด้วย กลฉ้อฉล โดย ทาง ธนาคาร แจ้ง แก่ จำเลย ทั้ง สอง ว่า ปัจจุบันที่ดิน ของ จำเลย กับ ของ โจทก์ เป็น แปลง เดียว กัน หาก จำเลย มี ความ ประสงค์จะ ครอบครอง และ ทำกิน ตลอด ไป โดย ไม่ต้อง ย้าย ก็ ขอให้ จำเลย ทั้ง สองลงลายมือชื่อ ไว้ จำเลย หลงเชื่อ จึง ลง ลายมือ ให้ ไป จำเลย ทั้ง สองไม่เคย บุกรุก รบกวน การ ครอบครอง ที่ดิน โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง ครอบครองที่ดินพิพาท มา นาน จน ถึง ปัจจุบัน จึง มีสิทธิ ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาทและ โจทก์ เรียก ค่าเสียหาย สูง เกินควร ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ โดย ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นได้รับ รอง ว่า มีเหตุ อันควร อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่าที่ดินพิพาท ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ครอบครอง เป็น ที่ดิน ส่วน หนึ่งของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เอกสาร หมาย จ. 6ที่นา ง สมคิด ได้ ซื้อ จาก การ ขายทอดตลาด ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น สำนวน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 81/2522 ได้ จดทะเบียน โอน วันที่ 25กันยายน 2533 แล้ว ต่อมา โจทก์ ได้ ซื้อ ที่ดิน ดังกล่าว ข้างต้น จากนาง สมคิด โดย จดทะเบียน โอน วันที่ 6 พฤศจิกายน 2533 เมื่อ โจทก์ ซื้อ มา แล้ว จะ เข้า ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอมอ้างว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ จำเลย ทั้ง สอง ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา โจทก์ มี ว่า โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดินพิพาท ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เอกสาร หมาย จ. 6ได้ หรือไม่ และ โจทก์ เสียหาย เพียงใด นั้น เกี่ยวกับ ปัญหา ข้อ แรกจำเลย ทั้ง สอง นำสืบ อ้างว่า ได้ เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ ปี 2500 แล้ว ใน ปี 2517 จำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น ขอ ออกใบจอง ที่ดินพิพาท ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 และ ล. 4 ใน ปี 2518 จำเลย ที่ 1ได้ ยื่น ขอ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 5, ล. 6ส่วน จำเลย ที่ 2 นาง บัวเรียง ตนะทิพย์ ภริยา ได้ ยื่น ขอ ออก หนังสือ อนุญาต เข้า ทำประโยชน์ ที่ดินพิพาท ซึ่ง อยู่ ใน เขต ปฏิรูป ที่ดินใน ปี 2530 ดัง ปรากฏ ตาม หนังสือ อนุญาต เข้า ทำประโยชน์ ใน เขต ปฏิรูปที่ดิน เอกสาร หมาย ล. 1 แม้ จำเลย ทั้ง สอง อ้างว่า มี หลักฐาน ดังกล่าวมา แสดง ก็ ตาม แต่ จาก การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ยอมรับ ว่า ที่ดินพิพาทเป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)และ เดิม เป็น ของ นาย ล้วน มหานิล ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ซึ่ง เมื่อ พิจารณา รูป ที่ดิน ใน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ และ หนังสือ อนุญาตให้ เข้า ทำประโยชน์ ใน เขต ปฏิรูป ที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย ล. 6 และ ล. 1ที่ จำเลย ทั้ง สอง อ้าง ปรากฏว่า ไม่ ตรง กับ รูป ที่ดิน ใน หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 โดยเฉพาะ รูป ที่ดิน ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 6 ของ จำเลย ที่ 1ทาง ด้าน ทิศตะวันออก ระบุ ว่า จด น้ำ พร้า วไม่ได้ จด ลำห้วย ดัง เช่นรูป ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 6 ของ โจทก์ทั้ง จำเลย ทั้ง สอง ไม่นำ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ผู้เกี่ยวข้อง กับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และ หนังสือ อนุญาต ให้ เข้า ทำประโยชน์ใน เขต ปฏิรูป ที่ดิน มา เบิกความ ยืนยัน ว่า หนังสือ ทั้ง สอง ฉบับ เป็นหนังสือ แสดง สิทธิ ของ ที่ดินพิพาท แต่อย่างใด ใน การ นำยึด และ การประกาศ ขายทอดตลาด ที่ดินพิพาท ของ ศาลชั้นต้น นั้น ก็ ได้ความ จากพยานโจทก์ คือ นาย จีระศักดิ์ สุขหรุ่น ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน บังคับคดี ของ ศาลชั้นต้น มา เป็น พยาน เบิกความ ว่า มี การ นำ ประกาศ การ ขายทอดตลาดทรัพย์ ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เอกสาร หมาย จ. 6ไป ปิด ไว้ ที่ บ้าน จำเลย ทั้ง สอง ที่ว่าการ อำเภอ และ ที่ หน้า ศาลชั้นต้นแล้ว นาย เกียรติ ถาวงศ์ ผู้ใหญ่บ้าน พยาน จำเลย ตอบ คำถามค้าน ทนายโจทก์ ว่า ก่อน จะ มี การ ขายทอดตลาด ที่ดินพิพาท ของ ศาลชั้นต้นพยาน ก็ ทราบ นั้น จึง เป็น การ ยืนยัน ให้ เห็นว่า จำเลย ทั้ง สอง ก็ น่า จะทราบ ดี เช่นกัน ซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง ก็ ควร ที่ จะ ไป ร้องขัดทรัพย์ต่อ ศาลชั้นต้น และ แสดง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย ล. 6กับ หนังสือ อนุญาต ให้ เข้า ทำประโยชน์ ใน เขต ปฏิรูป ที่ดิน เอกสาร หมาย ล. 1ของ จำเลย ทั้ง สอง เพื่อ พิสูจน์ ให้ เห็นว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ จำเลยทั้ง สอง ภายใน เวลา ที่ กฎหมาย กำหนด แต่ จำเลย ทั้ง สอง ก็ เพิกเฉยอันเป็น การ ทำให้ จำเลย ทั้ง สอง หมด สิทธิ ที่ จะ แสดง การ เป็น เจ้าของ อีกนอกจาก นี้ จำเลย ทั้ง สอง รับ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ลงลายมือชื่อ ในหนังสือ ขออนุญาต เข้า ทำกิน ใน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสาร หมาย จ. 6 ต่อ ธนาคาร เพื่อ การเกษตร และ สหกรณ์การเกษตรตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 โดย จำเลย ที่ 1 อ้างว่า เพราะอ่าน หนังสือ ไม่ออก ซึ่ง แสดง ว่า เป็น หนังสือ ที่ พิมพ์ ข้อความ มา แล้วแต่เมื่อ ตอบ คำถามค้าน ทนายโจทก์ กลับ ว่า เป็น กระดาษ เปล่า จึง ขัด กันเองทั้ง เป็น การ นำสืบ ลอย ๆ ต่าง กับ โจทก์ ซึ่ง มี ทั้ง นาย เลอศักดิ์ ชูประภาพร ผู้ทำหนังสือ และ นาย อุปถัมภ์ ไชยมงคล ผู้เป็น พยาน ใน หนังสือ ดังกล่าว โดย บุคคล ทั้ง สอง ไม่มี ส่วนได้เสีย และไม่เคย มีเหตุ โกรธเคือง กับ จำเลย ทั้ง สอง มา ก่อน มา เป็น พยาน เบิกความสนับสนุน ประกอบ เอกสาร แล้ว และ ถ้า ยิ่ง ได้ พิจารณา ข้อความ ที่ พิมพ์ลง ใน หนังสือ ดังกล่าว ที่นาย เลอศักดิ์ เบิกความ ยืนยัน ว่า ก่อน ให้ จำเลย ทั้ง สอง ลงชื่อ พยาน ได้ อ่าน ข้อความ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ฟัง แล้วก็ จะ เห็น ได้ว่า ข้อความ ที่ พิมพ์ ตั้งแต่ หัว กระดาษ ตัวอักษร ที่ พิมพ์การ เว้น ช่องว่าง ระหว่าง บรรทัด เป็น ระเบียบ เรียบร้อย จน ถึง บรรทัดสุดท้าย ก่อน ให้ จำเลย ทั้ง สอง ลงลายมือชื่อ พิมพ์ ได้ พอดี ไม่มี พิรุธซึ่ง ถ้า เป็น การ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ลงลายมือชื่อ ใน กระดาษ เปล่าย่อม เป็น การ ยาก ที่ จะ พิมพ์ ขึ้น ที หลัง ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สอง อ้าง และถ้า จำเลย ที่ 1 มี หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 6ซึ่ง ออก เมื่อ ปี 2518 อันเป็น หนังสือ แสดง สิทธิ ใน ที่ดินพิพาทดัง จำเลย ที่ 1 อ้าง จำเลย ที่ 1 ก็ ต้อง โต้แย้ง แสดง หลักฐาน ดังกล่าวให้ ทาง ธนาคาร ทราบ แล้ว แต่ จำเลย ที่ 1 ก็ ไม่เคย กระทำการ ดังกล่าวให้ ทาง ธนาคาร ทราบ เลย ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า จำเลย ทั้ง สองเพียง เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท แทน ผู้เป็น เจ้าของ ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 6 เมื่อ โจทก์ ได้ ซื้อที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย จ. 6 ซึ่ง มี ที่ดินพิพาท รวม อยู่ ด้วย จาก นาง สมคิด ซึ่ง ซื้อ มาจาก การ ขายทอดตลาด ของ ศาลชั้นต้น ที่ เจ้าของ ที่ดิน ดังกล่าว คือ นาย ล้วน เป็น ลูกหนี้ และ ถูก บังคับคดี มา โดยสุจริต โจทก์ ย่อม ได้ สิทธิ ใน ที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่มี สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาท โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง ออกจากที่ดินพิพาท ได้ สำหรับ ปัญหา ฎีกา โจทก์ ที่ ว่า โจทก์ ขอให้ จำเลย ทั้ง สองชดใช้ ค่าเสียหาย โจทก์ เดือน ละ 3,000 บาท นั้น เห็นว่า จำเลย ทั้ง สองขออนุญาต เข้า ทำกิน ใน ที่ดินพิพาท แล้ว ไม่ยอม ออก ทำให้ โจทก์เข้า ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ไม่ได้ นั้น ย่อม ทำให้ โจทก์ เสียหาย จริงจึง เห็นสมควร กำหนด ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ เดือน ละ 1,000 บาทที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ห้าม จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้องใน ที่ดินพิพาท ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 347ตั้ง อยู่ หมู่ ที่ 1 ตำบล ยม อำเภอท่าวังผา จังหวัด น่าน อีก ต่อไป ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 1,000 บาทนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ออก ไป

Share